ไม่เเปลกใจว่า ทำไม หลังการเก็บเกี่ยวส่วนมาก จะจุดเผาฟาง เพราะมันมีฟางมากจุดติดไป ไฟลามติดได้ง่าย / ฟางปริมาณมากจะหมักฟาง ก็เกรงจะย่อยไม่ทันการผลิตรอบต่อไป กลัวว่าหว่านข้าวไปแล้วจะเกิดอาการเมาตอซัง อีก ...
ปัญหามันเป็นห่วงโซ่ ถ้าจะแก้ต้องแก้ที่จุดเริ่มต้นของการเพาะปลูกข้าว แก้ที่ใจคนทำนา แก้ที่ความเข้าใจผิดๆของเจ้าของนา ...
เมื่อ เจ้าของรถเกี่ยวนวดข้าว/คนขับรถเกี่ยวนวดข้าว กับเจ้าของนา เป็นคนละคนกัน เรื่อง "ข้าวร่วงหล่น จึงเป็นปัญหาของเจ้าของนา ไม่ใช่เจ้าของรถ" .... เพราะรถต้องรีบทำงาน เอาจำนวนไร่เข้าว่า ให้คุ้มค่าการลงทุน เพื่อไปรับงานเเปลงอื่นๆต่อ ตามที่นายหน้า วิ่งรับงานไว้แล้ว ช้าไม่ได้จะเสียคิว และรถเกี่ยวนวดข้าวส่วนใหญ่จะไม่ใช่คนในหมู่บ้านเดียวกัน ... รอบนี้ไม่ดี(เกี่ยวมีข้าวร่วงหล่นมาก รอบหน้าก็หาคันใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่าดีหรือป่าว วัดดวง กันต่อไป) ...
เมื่อไล่เลียง ทั้งสี่ส่วน เข้าด้วยกันแล้ว ก็จะพบว่า
ถ้ามีปัจจัย ที่ทำให้ข้าวร่วงหล่น ผสมโรงกันตั้งแต่ส่วนที่สอง ถึงสี่ เจ้าของนา คงเหลือแต่ฟางข้าว ข้าวร่วงหล่น ไข่เป็ด และหนี้สิน จากการเพาะปลูกข้าวที่ไม่มีกำไร ครับ
ท่านผู้อ่านลองช่วยกันคิดต่อนะครับ ว่าจะ ป้องกัน หรือแก้ไข กันอย่างไรดี ครับ
ถ้านั้นก็ทำเหมือนภาคอีสาน ทำนาดำ เก็บเกี่ยวกับคน ผมมาเรียนที่นี่เห็นวิถีชีวิตของเค้า มันน่ารักดี
ชวนน้องศักดา ไปชมการทำนาของเครือข่ายชาวนามืออาชีพ ที่บ้านช้างมิ่ง สกลนคร ครับ
คงต้องกลับไปเริ่มที่การปลูก และการจัดการดูแลต้นข้าวให้ "ต้นแข็งแรง"
ต้นข้าวที่แข็งแรง
- ไม่ล้มง่าย
- ระบบรากแข็งแรง สัมพันธุ์กับต้นที่แข็งแรง
- ถ้าข้าวส่วนใหญ่ไม่ล้ม รถเกี่ยวนวดก็จะทำงานได้ง่าย มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้าวร่วงหล่นก็ลดลง
และที่มาของ "ต้นข้าวที่แข็งแรง" คืออะไร
- อาหาร แสงแดด อากาศ เพียงพอ ไม่ต้องแย่งกัน (ข้าว,หญ้า)
- ข้าวที่ปลูกโดยมีระยะห่างเหมาะสม (ข้าวที่ปลูกถี่ จะแย่งกันสูง ต้นไม่แข็งแรง)
- สามารถกระตุ้นให้รากออกมาก ยาก ลึก ยึดเกาะดินได้ดี ด้วยเทคนิคเปียกสลับแห้งแกลังข้าว
- ฯลฯ
ขอบคุณ ครับ Mr.P
เริ่มต้นจากความเข้าใจต้นข้าว ก็ไม่เสียเวลาทำนา ที่ต้องตามไปแก้ปัญหา ไม่จบ ไม่สิ้นครับ