เปรียบเทียบจำนวนการตีพิมพ์ของประเทศอาเซียน


 

ผมได้รับ อี-เมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้

 

          เรียน กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่นับถือทุกท่าน
 

          ด้วยผมได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผลงานวิจัยของสถาบันต่างๆที่อยู่ในประเทศสมาชิกของอาเซียน (ASEAN) ทั้ง 10 ประเทศ ในช่วงปี ค.ศ. 2001-2010 จากฐานข้อมูลสากล ISI ทั้ง 3 ฐาน คือ Science Citation Index Expanded (SCI-EXPANDED), Social Sciences Citation Index (SSCI) และ Arts & Humanities Citation Index (A&HCI) พบจำนวนผลงานวิจัยและสาขาวิชาที่มีการวิจัยที่น่าสนใจหลายประการ
 

          เป็นที่น่าสังเกตว่า หากพิจารณาจำนวนผลงานวิจัยของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน สำหรับช่วง 10 ปี ดังกล่าว สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
 

          1 สิงคโปร์  2 ไทย  3 มาเลเซีย  4 อินโดนีเซีย  5 เวียดนาม  6 ฟิลิปปินส์  7 กัมพูชา  8 ลาว  9 บรูไน  10 เมียนมาร์
 

          แต่ถ้าหากดูเฉพาะปี ค.ศ. 2010 ปีเดียว จำนวนผลงานวิจัยของมาเลเซีย มากกว่าของไทย และของเวียดนามมากกว่าของอินโดนีเซีย
 

          อนึ่ง ในแง่ของสาขาวิชา (Subject Areas) ที่มีจำนวนผลงานมากสุดของประเทศต่างๆทั้ง 10 ประเทศ มีความหลากหลายมาก เฉพาะอันดับ 1 ของแต่ละประเทศเป็นดังนี้ เวียดนาม - Physics บรูไน - Mathematics  ฟิลิปปินส์ - Agriculture อินโดนีเซีย - Environmental Sciences Ecology กัมพูชา – Public Environmental Occupational Health ลาวและเมียนมาร์ - Tropical Medicine ในขณะที่อันดับ 1 ของสิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย คือ Engineering เหมือนกัน
 

          ผมเข้าใจว่าท่านทั้งหลายอยู่ในสถานะที่จะมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันต่างๆในอาเซียนต่อไป และรวมถึงการกระตุ้นให้มีระบบฐานข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่ลงลึกไปถึงระดับสถาบัน สาขาวิชา และกลุ่มวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากข้อมูลเชิงประจักษ์ (แทนวิธีการใช้แบบสอบถาม) จึงขอส่งข้อมูลดังกล่าวในรูปของตารางสรุปมาให้ในไฟล์ pdf พร้อมนี้
 

 

          ขอแสดงความนับถือรศ. ดร. มงคล รายะนาคร
          อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

          Dr. Mongkon Rayanakorn
          Adjunct Associate Professor
          c/o Department of Chemistry
          Faculty of Science
          Chiang Mai University
          Chiang Mai 50200, Thailand

          E-mail: m.rayanakorn(at)gmail.com

 

 

          อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ ก.ย. ๕๔
               
        

หมายเลขบันทึก: 464600เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2011 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมขอนุญาตมีข้อสังเกตสักเล็กน้อยครับว่ากลุ่มประเทศอาเซียน มีหลายอย่างที่น่าจะแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของโลก โดยเฉพาะความแตกต่างหลากหลายในหลายมิติ คือ ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศในเขตร้อนชื้นที่สำคัญของโลก, ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม, รวมทั้งความเป็นสังคมที่ยังคงมีความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมจิตใจ, ความเป็นสังคมเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐานบนระบบนิเวศน์พลังน้ำ
  • บนความแตกต่างหลากหลายดังกล่าว ภูมิภาคอาเซียนน่าจะเป็นภูมิภาคหนึ่งของโลก ที่มีเหตุให้ต้องทะเลาะเบาะแว้งและใช้ความรุนแรงต่อกันมากที่สุด แต่ก็ไม่เป็นอย่างนั้น กลุ่มประเทศอาเซียน มีประเทศที่นับถือศาสนาที่สำคัญๆของโลก ที่มีบทบาทมากที่สุดในโลกอยู่ด้วยกัน แทบทุกศาสนา นอกจากไม่นำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงเหมือนภูมิภาคอื่นๆแล้ว ก็กลับเป็นการแสดงให้เห็นถึงสังคมแห่งความกลมกลืนที่เชื่อมประสานกันด้วยวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ
  • การตีพิมพ์จึงมีภาพสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นอาเซียนอยู่บ้าง คือ ความเป็นผู้นำในการตีพิมพ์ทางด้านเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ เวชศาสตร์เขตร้อน แต่ถ้าหากมองว่า ความรู้ที่สร้างขึ้นและใช้ขับเคลื่อนพลังการผลิตของสังคมและสร้างความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมการเป็นอยู่ ควรจะเชื่อมโยงกับความเป็นจริงของสังคมด้วยแล้วนั้น ก็เป็นโอกาส ที่จะมีการส่งเสริมผลงานการตีพิมพ์ในกลุ่มประเทศภูมิภาคอาเซียน ให้โดดเด่นไปในด้านอื่นๆที่กลุ่มประเทศอาเซียนจะเหมือนกับเป็นคลังภูมิปัญญาของโลก ที่เห็นจาก Social Sciences Citation Index (SSCI) และ Arts & Humanities Citation Index (A&HCI) ให้มากยิ่งๆขึ้น
  • วิธีเผยแพร่ทาง Social Sciences และ Arts & Humanities จึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีวิธีที่ต่างออกไปจากวิธีของสาขาที่เป็น Hard Sciences เพิ่มมากยิ่งๆขึ้น วิธีที่ทำให้เป็นแบบและมาตรฐานเดียวกันก็สำคัญและควรมี แต่ก็ควรมีวิธีอื่นที่สื่อความหมายและมีความสำคัญกว่า ส่งเสริมความเข้มแข็งของภูมิปัญญาและความรู้ทางด้านที่ทั่วโลกควรจะหาได้จากภูมิภาคอาเซียน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท