ครูพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ Mr.Natthawut Suriya

การให้ออกซิเจน


การให้ออกซิเจน

ความหมาย การให้ออกซิเจน หมายถึงการให้ออกซิเจนกับผู้ที่ร่างกายมีความต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หรืออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในจำนวนและวิธีที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยทุเลาภาวะ Hypoxia หรือภาวะ Hypoxemia ซึ่งเกิดจาก

1. ภาวะหายใจไม่พอ (Hypoventilation) เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืด (Asthma) ถุงลมโป่งพอง (emphysema)

ผู้ปฏิบัติ

พยาบาลวิชาชีพ / พยาบาลเทคนิค

เครื่องมือ / อุปกรณ์

1. ตัวควบคุมจำนวนลิตรของออกซิเจนลักษณะเป็นหลอดแก้วใส ภายในมีหุ่นลอย

2. ขวดทำความชื้อ (humidifier) ปลอดเชื้อโรค

3. สายยางหรือสายพลาสติก Nasal cannular, mask with reservoir bag, T – piece ยางชนิดลูกฟูก (Corrugated tube) , Box

4. น้ำกลั่น (Sterile water)

5. น้ำแข็ง

6. พลาสเตอร์

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

การให้ออกซิเจนทางสายยางคู่เข้าจมูก ( Nasal cannula)

  1. เตรียมเครื่องใช้ให้พร้อม
  2. อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ และวิธีทำพร้อมกับให้ผู้ป่วยได้เห็นสายยางที่จะให้
  3. ใส่สาย Nasal cannula เข้าทางจมูก ให้ปลายโค้งชี้ไปส่วนหลังของจมูก
  4. เปิด Flow meter ให้ได้ออกซิเจนตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ซึ่งมักจะให้ 4 – 6 ลิตรต่อนาที ยกเว้นในรายที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งแพทย์จะสั่งให้ออกซิเจนจำนวน 2 – 3 ลิตร
  5. รัดสาย Cannula ให้พอดี ใช้สายรัดไว้รอบศีรษะ ซึ่งผ่านใบหูทั้งสองข้างไปด้านหลังให้เรียบร้อย หรือคล้องหูแล้วมารัดไว้ใต้คาง ระวังอย่าให้สายรัดแน่นเกินไป
    1. เมื่อเลิกใช้ นำอุปกรณ์ไปทำความสะอาดตามมาตรฐาน IC

ข้อควรระวัง / ข้อเสนอแนะ

  1. การให้ออกซิเจนมากเกินกว่าที่กำหนด ผู้ป่วยอาจกลืนอากาศเข้าไปทำให้ท้องอืด หรือเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อจมูก และลำคอได้
  2. ถ้าใส่สาย Cannula ผิดทาง หรือ ปลายชี้ขึ้นไปทางรูเปิดของ Frontal air sinus เมื่อได้รับออกซิเจน อัตราไหลมาก ๆ จะเกิดการระคายเคืองต่อโพรงอากาศนี้
  3. เปลี่ยนสายยางที่ใช้ทุก 24 ชั่วโมง ส่วนน้ำกลั่นในขวดทำความชื้น ควรเปลี่ยนทุก 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การให้ออกซิเจน Mask ที่มี Reservoir bag

ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

  1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
  2. ต่อ Mask face เข้ากับสายต่อออกซิเจน จากขวดทำความชื้น
  3. เปิด Flow meter ให้อยู่ในระดับ 10 – 15 ลิตรก่อน เพื่อเติมออกซิเจนในถุงให้เต็ม พร้อมทั้งเป็นการทดสอบว่าถุงไม่รั่ว
  4. ลดระดับ Flow meter ให้อยู่ในระดับ 6 – 10 ลิตรต่อนาที จะได้ความเข็มข้นของออกซิเจน 35 – 60 %
  5. ครอบ Mask คลุมปากและจมูกให้แนบสนิท อย่าให้ออกซิเจนรั่ว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับออกซิเจนตามต้องการ
    1. รัดสายรอบศีรษะให้แน่นพอดี และอย่าให้สายบิดงอ
    2. ดูให้ Reservoir Bag โป่งอยู่เสมอ
    3. เมื่อให้เสร็จขั้นตอนแล้ว ควรอยู่กับผู้ป่วยสักระยะ เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล พร้อมทั้งสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
      1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ควรเอา Mask ออกบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อเช็ดและทำความสะอาด

10. ดูแล Mask ให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีเสมหะหรือน้ำขังใน Reservoir bag ต้องเปลี่ยนใหม่

11. ควรดูการทำงานของอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน พร้อมทิ้งเติมน้ำในขวดทำความชื้นให้อยู่ในระดับที่ต้องการและดูแลเปลี่ยนน้ำกลั่นในขวดนี้ทุก 8 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง / ข้อเสนอแนะ

  1. ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณใกล้เคียง และต้องติดป้าย “ห้ามสูบบุหรี่" พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ป่วยและญาติ และผู้มาเยี่ยมทราบ
    1. อย่าเปิดหรือจุดเปลวไฟใกล้ตัวผู้ป่วยที่กำลังให้ออกซิเจน
    2. กรณีใช้ออกซิเจนจากระบบ Pipeline ที่มีรูสำหรับเสียบ Flow meter เมื่อไม่ได้ใช้ควรปิดรูไว้เสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้า ถ้ามีฝุ่นให้เช็ดออกด้วยผ้า
    3. เวลาเสียบ Flow meter จะต้องให้เหลี่ยมตรงกับกับรูเสียบ จึงจะดันเข้าได้ง่าย ห้ามปิดไปมาโดยเด็ดขาด
      1. ห้ามนำสิ่งต่าง ๆ ไปแขวนที่ Flow meter จะทำให้น้ำหนักถ่วงทำให้บริเวณ Out line รั่ว
      2. ถ้าต่อ Flow meter แล้วออกซิเจนบริเวณ Out line รั่ว ให้แจ้งเปลี่ยน ห้ามใช้ดินน้ำมันอุด

การให้ O2 Box

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  1. เตรียมเครื่องใช้ให้พร้อม และยกไปที่เตียงผู้ป่วย
  2. ใส่น้ำแข็งลงในช่องน้ำแข็ง และต่อสายน้ำทิ้งลงในภาชนะรองน้ำ
  3. ใส่น้ำกลั่นในขวดทำความชื้น ให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ที่ขวด ต่อขวดกับมาตรควบคุมจำนวนลิตรของออกซิเจน
  4. ต่อสายยางหรือท่อต่อ O 2 ชนิดลูกฟูกเข้ากับกล่องพลาสติก กดตัวปรับที่ขวด Humidifier เป็นชนิดละออกฝอย แล้วนำกล่องไปครอบที่ศีรษะเด็ก
    1. เป็นออกซิเจนให้อยู่ในระดับ 5 – 8 ลิตร/นาที ถ้าในทารกแรกเกิด 3 – 5 ลิตร/ นาที

ข้อควรระวัง / ข้อเสนอแนะ

  1. ต้องมีออกซิเจนผ่านตลอดเวลา
  2. ขนาดของกลิ่งต้องเหมาะสมกับศีรษะเด็ก
  3. อย่าให้ออกซิเจนพ่นไปบริเวณตาของเด็กโดยตรง
  4. ควรตรวจสอบระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเติมน้ำแข็งในช่องใส่น้ำแข็งให้มีอยู่เสมอ
  5. ต้องให้ศีรษะเด็กอยู่ในกล่องตลอดเวลาที่ให้ออกซิเจน
  6. หมั่นดูแลอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
  7. ดูแลให้เครื่องมือให้ O 2 ทำงานตลอดเวลา
  8. 1. ผู้ป่วยได้ออกซิเจนตามแผนการรักษาของแพทย์

การให้ออกซิเจนโดยใช้ T – PIECE ทางหลอดลม

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  1. เตรียมเครื่องใช้ให้พร้อมไปยังเตียงผู้ป่วย
  2. ต่อสาย T – Piece เข้ากับขวดทำความชื้น กดปุ่มปรับเครื่องทำเป็นละอองฝอย
  3. ก่อนให้ออกซิเจน ต้องดูดเสมหะในท่อหลอดลมให้ผู้ป่วยก่อน ตาม Sterile Technique โดยปฏิบัติตามวิธีดูดเสมหะ
  4. เปิด Flow meter ให้ออกซิเจนออกตามจำนวนที่แพทย์สั่ง
  5. ต่อ T – Piece เข้ากับท่อหลอดลมของผู้ป่วยให้แน่น อย่าให้ ออกซิเจนรั่วออกได้
  6. จัดสายต่อให้อยู่ในท่าไม่ดึงรั้ง ซึ่งจะทำให้ระคายเคืองและไม่สุขสบาย

ข้อควรระวัง / ข้อเสนอแนะ

  1. ดูแลเปลี่ยนน้ำกลั่นในขวดทำความชื้อทุก 8 ชั่วโมง และดูแลอย่าให้น้ำแห้ง
  2. เปลี่ยนสาย T – Piece วันละครั้ง

หมายเลขบันทึก: 464029เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2011 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2015 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาให้กำลังใจครับ
ถ้ามีโอกาสรวบรมเย็บเป็นเล่มเล็กๆ แจกจ่ายบุคลากรในสายงานของตัวเองได้อ่านก็น่าจะดีนะครับ

...

สู้ๆ...

สายให้ออกซิเจนราคาประหยัดคะ http://www.med-dev.biz/manage/...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท