ร้อยเรียงความคิด "สุขภาวะคนไทย"


ขอบคุณสถาบันอาเซียนฯ และทีมงาน Dr. Roy Batterham ที่บรรยายความคืบหน้างานวิจัยการพัฒนาเครื่องมือ Health Literacy ในคนไทย ซึ่งมีเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจบันทึกเพิ่มเติมจาก http://www.gotoknow.org/blog/otpop/376531

ต่อยอดจากบันทึก คนไทยสื่อสารอย่างไรเพื่อจัดการสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งดร.ป๊อป ได้พบปะกับ Dr. Roy ครั้งแรก ซึ่งอาจารย์เป็นนักกายภาพบำบัดและวิจัยเรื่องสุขภาวะ ณ Deakin University, Australia

บทสรุปที่ผมได้เรียนรู้เพิ่มเติมคือ

  • Health Literacy มีคำจำกัดความเชิงกว้างมากมายที่เน้นการจัดการเฉพาะบุคคล ซึ่ง WHO เน้นความสามารถในการรับรู้ข้อมูลเพื่อการส่งเสริมและคงไว้สุขภาวะด้วยการพัฒนาทักษะความคิดความเข้าใจและทักษะทางสังคมของแต่ละบุคคล แต่ Kickbusch (2001) และ Dr. Roy ได้ขยายคำจำกัดความที่มากกว่าบุคคล คือ ครอบครัวและชุมชน และเพื่อให้ภาษามีความเป็นสากลและง่ายในคนทุกระดับ ก็ใช้คำว่า "Compentency" แทนได้ ทั้งนี้นักวิจัยควรทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบถึงเรื่อง Health Literacy Measurement Tool, HTMT
  • การพัฒนาเครื่องมือครั้งนี้ต้องการให้เป็น "แบบสอบถามมีสเกลหลายมิติแต่มีหัวข้อเปรียบเทียบใช้ในแต่ละกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจมีการเลือกหัวข้อที่จำเป็นตามคุณสมบัติของเครื่องมือในภายหลัง" และมีการเปรียบเทียบคุณสมบัติของเครื่องมือกับแบบสอบถามคุณภาพชีวิตสากล ตัวอย่างเครื่องมือ เช่น Eghei@
  • การพัฒนาเครื่องมือที่สำคัญคือ การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของกลุ่มคนที่แท้จริง แม้ว่าการศึกษานี้จะรวบรวมบุคคลที่หลากหลาย เช่น กลุ่มบุคลากรสุขภาพ/อาสาสมัครสุขภาพ กลุ่มผู้พิการทางร่างกาย กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ แต่ท้าทายการเก็บข้อมูลทั่วประเทศและเริ่มจากกลุ่มที่บกพร่องทางการมองเห็น กับ ทางการได้ยิน เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกลุ่มหัวข้อที่ตรงกับความต้องการในระดับการเขียน และ/หรือ การพูด ในลักษณะพิเศษคือ มีการแก้ไขความคิดเห็นให้ตรงกับหัวข้อของผู้วิจัยและจัดกลุ่มตั้งชื่อโดยสถิติ Cluster Analysis ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่คาดว่าจะเน้นการวิจัยในกลุ่มที่มีความจำเพาะมากขึ้น เพราะต้องการสร้างเครื่องมือในระดับชุมชน-ประชากรไทยและสร้างโปรแกรมใหม่เพื่อการจัดการความเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยตนเอง (Self-Managment Support Intervention, SMS) ต่อไป
  • คำถามเพื่อการศึกษาความต้องการข้างต้น เช่น คุณคิดว่าอะไรทำให้คุณสามารถได้รับข้อมูลที่ดีต่อการมีสุขภาพดี เป็นต้น จากนั้นให้ศึกษากรณีศึกษา 7-8 เรื่องเพื่อสร้างแรงจูงใจในการตอบคำถามข้างต้น แยกความคิด 1 เรื่องต่อ 1 ตัวเลขหัวข้อ แล้วมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนสรุปหัวข้อที่ตรงกับความต้องการของสมาชิกในกลุ่มการศึกษามากที่สุด เมื่อแต่ละหัวข้อมีความคิดเห็นของสมาชิกที่สอดคล้องกันก็จะกลายเป็นชื่อกลุ่มหัวข้อที่ถูกเลือกมากที่สุดในระดับกลุ่มและบริบทเดียวกัน และจะวิเคราะห์เพิ่มเติมในชื่อกลุ่มและหัวข้อที่ครอบคลุมได้ทุกระดับของประชากรไทย
  • เป้าหมายหลักของการพัฒนาเครื่องมือนี้ คือ ต้องการพัฒนาคุณภาพของการสื่อสารข้อมูลทางสุขภาพในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มที่แรงจูงใจและความฉลาดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะต่ำ
  • วันนี้ คุณกล้าที่จะถามข้อมูลจากหมอหรือบุคลากรสุขภาพหรือไม่ อย่างไร คุณมีบุคคลอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่จะแนะนำข้อมูลทางสุขภาวะหรือ ไม่ อย่างไร คุณมีความสามารถในการได้รับข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศหรือไม่ อย่างไร คุณมีแรงจูงใจพอที่จะรับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน หรือไม่ อย่างไร ประสบการณ์บุคลากรทางสุขภาพช่วยแนะนำให้คุณจัดการสุขภาวะได้ดีหรือไม่ อย่างไร ความสามารถของแต่ละบุคคลจะต้องการเครื่องมือเหมือนที่ใช้ในคลินิกหรือไม่ อย่างไร

ประเด็นที่นักวิจัยและพัฒนาเครื่องมือข้างต้นควรให้ความสนใจและระวังข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมตามบริบทไทย ได้แก่

  • ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยในแต่ละบุคคล เช่น นอนพัก อย่าออกกำลังกายเมื่อเป็นไข้
  • ความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้และการรับบริการทางสุขภาพ
  • ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการจัดการสุขภาพด้วยตนเอง ในบุคลากรทางสุขภาพและผู้รับบริการแต่ละระดับ

นอกจากนี้คงต้องพิจารณาช่วงระดับความพิการ ความเจ็บป่วย ความพร้อมในการรับรู้ข้อมูล และประสบการณ์การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศระบบสุขภาวะในปัจจุบัน ด้วย

จะเห็นว่า หัวข้อที่จะเลือกมาสร้างแบบสอบถามนั้นมีกระบวนการการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณที่ควรพิจารณาอย่างลึกซึ่งตามบริบทที่เหมาะสมกับกลุ่มการศึกษาเป้าหมาย

การประยุกต์ใช้เครื่องมือข้างต้นในอนาคต คือ การเพิ่มความละเอียดของเครื่องมือที่ศึกษานำร่องจากความแตกต่างของคนในชุมชน ต่อยอดไปในระดับบุคคลและระดับประเทศ พร้อมแยกแยะหัวข้อที่จำเพาะต่อกลุ่มนั้นๆ พร้อมเสริมการใช้เครื่องมืออื่นๆ ได้อีกด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 462700เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณมากครับท่านอาจารย์ ดร. วิรัตน์ ผู้เป็นต้นแบบในการเรียนรู้สุขภาวะในชุมชน ผมอยากเห็นโอกาสดีๆ ที่อาจารย์ ดร. วิรัตน์ และทีมของ ดร. Roy แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะของคนไทยได้อย่างจริงจังครับ

แนวการเขียนบันทึกนี้สะท้อนความเป็นทายาทของน้อง ผศ.ดร.วิรัตน์ เลยค่ะ..

ขอบพระคุณมากครับท่านพี่ใหญ่ พี่นงนาท ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

กราบนมัสการพระมหาแล อาสโย ขำสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท