องค์กรนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภาคเหนือ...สู่การสร้า้งเครือข่ายที่มีพลัง


เพื่อที่อยู่ ....ที่ยืน ของคนชุมชนท้องถิ่น

มีงานวิจัยเกือบ ๕๐๐ ชิ้น จากการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงาน  ในระยะ ๖ ปีที่ผ่านมา

 

ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ  การสังเคราะห์ ยกระดับองค์ความรู้งานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ ในวันที่ ๒๔ - ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๙ และมีการแจ้งเรื่อง การจัดตั้ง "องค์กรนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น"  

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น แต่ละชิ้นงาน กระจายเข้าสู่ชุมชน และนำกระบวนการศึกษาวิจัย เข้าไปให้ชุมชน "ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ" สร้า้งการมีส่วนร่วม โดยการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน ให้สามารถใช้กระบวนการศึกษา วิจัย และการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นในชุมชนได้  ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในสภาวะปัจจุบันอย่างรู้เท่าทัน

เป็นการติดอาวุธ ทางปัญญา ให้กับคนในชุมชน

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ ได้นำเสนอการสร้า้งองค์กรของนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น ซึ่งประเด็นนี้ผมเห็นว่า เป็นการสร้า้งเครือข่ายนักวิจัยที่มีพลังและมีประโยชน์อย่างมากและอยากจะให้มีการ รวมตัวของบรรดานักวิจัยท้องถิ่น มานานแล้ว ถึงแม้ว่า โครงการหลายๆโครงการสิ้นสุดตามระยะเวลาไปแล้ว

 ผมมองว่า ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการจัดตั้งองค์กรนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ

  • เป็นการสร้าง ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP)ชุมชนเรียนรู้ที่มีศักยภาพสูง เพราะนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีพื้นฐานการดำเนินงานที่หลากหลายและมี Tacit K. มากที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  • เป็นการพัฒนาศักยภาพการทำงานและการบริหารงานวิจัย คนทำงาน  วิจัยเพื่อท้องถิ่น
  • เป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนร่วมกันผลักดันงานใหญ่ๆระดับนโยบาย ที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างมีพลัง

               เพื่อที่อยู่ ....ที่ยืน ของคนชุมชนท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 46234เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดียามเช้า....ตามประสาคนคุ้นเคย...

ที่อัธยาศัย...คล้ายคลึงกัน...

....

เป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่งนะคะ...

กับการก้าวเดิน....อย่างมีความสุข...

แม้อาจเหนื่อยไปบ้าง...แต่ภาพที่สะท้อนออกมาจากบันทึกก็ทำให้รับรู้ได้ว่า...ผู้บันทึกมีความสุข

....

กะปุ๋ม

ตามมา....อรุณสวัสดิ์  อีกคน
.
น่าชื่นชมคนแม่ฮ่องสอน   ที่มีชุมชนที่เข้มแข็ง   มีการวิจัยเพื่อท้องถิ่น    น่าเก็บไปเป็นกรณีศึกษาว่า...กว่าจะถึงวันนี้    มีที่มาที่ไปอย่างไร
องค์กรกำลังเริ่มสร้าง โครงสร้างแม้ยังไม่ชัด แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นจริงเป็นจังขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้มิใช่แค่เชื่อมต่อนักวิจัยในเชิงองค์ความรู้ การบริหารจัดการเท่านั้นนะครับ การมาร่วมด้วยใจเป็นสิ่งที่ดีครับ เราจะเห็นภาคีด้านความรู้ สังคมวัฒนธรรม และขยับสู่การเมืองภาคประชาชนในอีกรูปแบบหนึ่ง หากแต่นักวิจัยส่วนใหญ่ก็มีฐานะปานกลางถึงยากจน เป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะยกฐานะองค์กรเครือข่ายนักวิจัยท้องถิ่นให้มีมิติด้านเศรษฐกิจด้วย เช่น ให้มีการจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีเรื่องสวัสดิการ การประกันอุบัติภัย หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆเพิ่มขึ้น ผมไม่รู้ว่ามีการคุยกันบ้างหรือเปล่า ไม่รู้ทางคุณจตุพรเห็นว่าอย่างไร ยังไงหากมีโอกาส ก็ฝากหารือด้วยนะครับ

Hi My dear friend...Khun Aek...how r u doing krab?

Wish you are having a nice weekend...

always, POP:) from Perth krab...

ช่วงนี้ผมชีพจรลงเท้ามากเลยครับ ต้องไปโผล่ที่ต่างๆ ในวันต่างๆ ต่างเวที ต่างผู้คน

เหนื่อยแต่ผมความสุขดีครับ

การทำงานทำให้เรามีคุณค่าขึ้น โดยเฉพาะงานที่ผมชอบและได้มีโอกาสได้ ช่วยสังคมทางใดทางหนึ่ง 

Dr.Ka-Poom

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจที่มีให้เสมอครับ เหนื่อยหน่อยแต่มีความสุขดีครับ

พี่ Nidnoi

ขอบคุณกำลังใจ และ ข้อคิดเห็นครับ

พี่ยอดดอย

ตอนนี้อยู่ในระหว่างการคุยกัน เรื่องขององค์กรนี้ ครับ ผมเองก็ไม่ค่อยทราบรายละเอียดมาก แต่ได้คำอธิบายจาก น้องๆผู้ประสานงาน ก็เลยมานั่งทบทวนแนวคิดดูครับ

ขอบคุณครับ สำหรับข้อคิดเห็นที่น่าสนใจครับ

อาจารย์ Pop

ช่วงนี้ผมชีพจรลงเท้า อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นครับ ...คงต้องนับถอยหลังกลับเมืองไทยแล้วนะครับอาจารย์ หากมาคงได้เจอกันที่เชียงใหม่ หรือไม่ก็แม่ฮ่องสอนนะครับ ..เพื่อจะได้คุยกันแบบ F2F ครับ 

ขอบคุณกำลังใจ และมิตรภาพที่มีให้เพื่อนอย่างสม่ำเสมอครับ 

เป็นกำลังใจให้สำหรับหนุ่มผู้สร้างสรรค์สังคมนะครับ
  • อ่านแล้วอยากเข้าร่วมองค์กรนี้บ้างจังเลยครับ แต่ตอนนี้ไม่ได้อยู่อุตรดิตถ์แล้วครับ มาอยู่อุบลฯ ไม่รู้ว่าเขาจะรับหรือเปล่าครับ
  • วันนี้ขออนุญาตแลกเปลี่ยนกับอาจารย์จตุพรสักหน่อยครับ พอดีอ่านเจอข้อความนึงแล้วรู้สึกขัด ๆ ความรู้สึกนิด ๆ ครับ คือประเด็นในเรื่องของ
  • เป็นการติดอาวุธ ทางปัญญา ให้กับคนในชุมชน
  • คือผมเป็นคนที่เชื่อมาตลอดความ ชุมชนมีปัญญา มีปัญญามาก ๆ เลยครับ ทุกวันนี้เราเข้าไปทำงานกับชุมชนเพื่อเรียนรู้ร่วมกันและช่วยนำความรู้ที่เรียนรู้ร่วมกันนั้น นำความรู้ของชุมชนนั้นมาติดอาวุธทางปัญญาให้เราครับ
  • มีช่วงหนึ่งครับในช่วงที่สอนหนังสืออยู่ที่อุตรดิตถ์และเริ่มทำงานกับชุมชนมาก ๆ ก็เริ่มมองเห็นครับว่า ที่เราทำงานอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะชุมชน ชุมชนน่ารักตลอดเลยครับ ถ้าไม่มีชุมชนก็ไม่มีผมในวันนี้ครับ เพราะชุมชนติดอาวุธทางปัญญาให้ผมโดยตลอดครับ
  • ตอนหลังนี้ผมลงชุมชนเพียงแค่มีกระบวนการพกติดมือไปเท่านั้นเองครับ ส่วนความรู้เทคนิคทฤษฎี จะลืมแล้วกองไว้ในมหาวิทยาลัยครับ
  • จากนั้นก็ไปทำงานร่วมกัน กระบวนการที่ลงไปทำทุกครั้งชุมชนจะเติมเต็มต่อยอดกลับมาเหมือนติดอาวุธทางปัญญาให้ผมและทีมงานกลับมาทุกครั้งเลยครับ
  • เพราะผมลงไปจุดประสงค์หลักคือไปจัดกระบวนการ ไม่ได้ลงไปทำวิจัยหรือเก็บข้อมูลเลยครับ
  • ข้อมูลทั้งหมดทำให้ชุมชน สิทธิในข้อมูลเป็นของชุมชน ผม นักศึกษา และทีมงาน ขอมาร่วมเรียนรู้ด้วยแค่นั้นครับ
  • จนทำให้ผมสามารถทำงานวิจัยที่มีคนนับร้อยกับชุมชนได้แม้จะไม่มีเงินในโครงการเลยแม้แต่เพียงบาทเดียวครับ
  • เพราะต่างคนต่างร่วมรับผลประโยชน์ร่วมกันครับ
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนความรู้ครับอาจารย์จตุพร อาจจะเห็นแตกต่างกับอาจารย์บ้างก็ขออภัยมาล่วงหน้าครับ
เรียน อาจารย์ปภังกร ที่เคารพ 
  • สามารถเข้าร่วมองค์กรนี้ได้ครับ ผมสอบถามน้องๆจาก สกว. ว่าคนนอกที่สนใจ สามารถเข้าร่วมสมัครได้ ที่สำคัญกิจกรรมที่จะเดิกขึ้น เป็นกิจกรรมที่สรา้งสรรค์ปัญญาทั้งนั้นเลยครับ ผมส่งใบสมัครไปให้ที่อุบลนะครับ
  • ประเด็น การติดอาวุธทางปัญญา ผมก็เชื่ออย่าง โรแมนติค ว่า ชุมชนมีปัญญา ครับ แต่กระบวนการ KM เป็นกระบวนการที่จะนำปัญญา ความรู้เป็นอาวุธได้อย่างไรครับ ไม่ใช่ว่าชุมชนไม่มีปัญญาครับ (ผมก็ไม่ได้เขียนแบบนั้น) แต่บางครั้งก็ต้องช่วยกันค้นหาศักยภาพให้กับชุมชน ให้"รู้ตนเอง" เกิด "การเรียนรู้ร่วมกัน" ครับ 

นักวิชาการมีความรู้ชุดหนึ่ง ชุมชนมีความรู้อีกชุดหนึ่ง เมื่อมีเป้าหมายร่วมกันที่จะพัฒนาสุขภาวะชุมชน คงต้องใช้ศาสตร์ที่ตนมีทั้งสองฝ่ายมาบูรณาการกัน ครับ 

  •  เรื่อง ที่อาจารย์ลงไปในชุมชนเพื่อการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ชอบแล้วครับ แต่ในความเป็นจริงผมมองว่า เราก็มีจุดประสงค์ในใจ และเราก็มีกระบวนการในใจที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ด้วย...และสิ่งที่อาจารย์ได้ทำในชุมชนถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ ให้ความสำคัญกับศักยภาพและศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างแท้จริงผมชื่นชมอาจารย์ครับ
  • ความคิดเห็นที่ต่างไม่ใช่ปัญหาครับ อาจารย์ปภังกร ความเห็นที่ต่างผมมองเป็น นวัตกรรมทางความคิดของคนหนึ่งคน แต่ก็ให้ต่างด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ครับ
  • ความเห็นต่าง ผมมองเป็นความสวยงามของกระบวนการคิด เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาชุมชนครับ
  • ขอบคุณมิตรที่สร้า้งสรรค์การเรียนรู้ให้ผมครับ มุมมองของผม ได้ถูกเติมจากมิตรใน G2K ทำให้ผมได้เพิ่มศักยภาพตนเองมากขึ้น
  • ขอบคุณอาจารย์ปภังกรจากใจ

คุณ คนไกล

ยินดี และขอบคุณสำหรับกำลังใจ ยินดี ที่ได้รู้จักครับผม 

 

  • ขอบพระคุณอาจารย์จตุพรเป็นอย่างสูงเลยครับ
  • โดยเฉพาะเรื่องของใบสมัคร ถ้าไม่เป็นการรบกวนอาจารย์มากเกินไปก็ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเลยครับ
  • สำหรับกระบวนการต่าง ๆ และแนวความคิดในการทำงานถึงแม้ว่าเราจะมีแตกต่างกัน อย่างที่อาจารย์บอกน่ะครับ ขัดแย้งเพื่อสร้างเสริม เติมเต็มและต่อยอด เป็นความสวยงามทางความคิด
  • ถึงแม้ความคิดและวิธีการแตกต่างกัน แต่เรามีเป้าหมายเดียวกันก็คือ "ประเทศไทย" ของเราใช่ไหมครับ
  • ดังนั้น "ขัดแย้งเพื่อเข้มแข็ง" แตกต่างเพื่อต่อยอดจึงมีประโยชน์มาก ๆ ครับ
  • เหมือนกับที่ผมอ่านบันทึกของคุณเฉลิมลักษณ์ เรื่องของการมีจิตสำนึกสาธารณะ เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เลยครับ โดยเฉพาะที่มี G2K ทำให้เราสามารถเปิดกว้าง เปิดใจรับฟังความแตกต่างกันได้อย่างมากขึ้น
  • แต่ท้ายที่สุดก็เป้าหมายเดียวกันครับ "ประโยชน์ของส่วนรวม" ครับ
  • ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับ

ต้องขอตอบ ความคิดเห็นของอาจารย์ปภังกรอีกครั้ง

 ผมจะส่งให้ที่ ม.อุบล ตามที่อยู่ที่อยู่ใน Blog อาจารย์

การขัดแย้ง จริงๆ ไม่อยากใช้คำนี้ เป็นเพียงความเห็นที่ต่างออกไปเฉยๆครับ

การขัดแย้งดูแรงและมีการใช้อารมณ์ืเข้าร่วมด้วย  อาจจะเป็นการวิจารณ์เชิงสร้า้งสรรค์ หรือ การติเพื่อก่อ

ยินดีครับ สำหรับความคิดเห็นที่หลากหลายครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท