การดำเนินงานโครงการรากฟันเทียมในStage 2


ในขั้นตอนการถอดใส่ส่วนยึดต่อต่างๆของรากเทียมควรระมัดระวังให้มากเพราะชิ้นส่วนต่างๆเล็กมากๆ อาจใช้ผ้ากอซรองด้านในช่องปากไว้เพื่อกันชิ้นส่วนเล็กๆหลุดเข้าคอ

หลังจากผู้รับบริการได้รับการฝังรากฟันเทียมไปแล้วประมาณ7 เดือน(จริงๆประมาณ4-6 เดือนก็สามารถทำได้แล้ว แต่ต้องรอการtrain และเครื่องมือจากทางสถาบันทันตกรรม) ก็ได้เริ่มทำStage2 ของรพ.มโนรมย์มีผู้รับบริการที่ต้องทำ 11 ราย  จากการตรวจ พบว่ามี2กลุ่ม คือกลุ่มแรกสามารถมองเห็นรากฟันเทียม(ส่วนของCover screw)ที่อยู่ใต้เหงือก  กับกลุ่มที่2 มองไม่เห็นรากฟันเทียม  ซึ่งกลุ่มแรกนั้นเราสามารถเปิดเหงือกเป็นวงกลมรอบรากฟันเทียมแล้วใส่ transmucosal base และball-screw ได้เลย จากนั้นก็ทำการpick up ฟันเทียมเพื่อให้สามารถยึดกับหัวballของรากฟันเทียม(เสร็จในครั้งเดียวเลย) ส่วนกลุ่มที่2ที่มองไม่เห็นรากฟันเทียมก็ต้องเปิดหากัน รายที่ทำก็ต้องเปิดเหงือกค่อนข้างยาว และรากเทียมก็มีกระดูกมาปิดบริเวณขอบๆรากเทียม(ส่วนของCover screw) จึงต้องมีการRemove กระดูกเพื่อเปิดให้เห็นCover screwทั้งหมด แล้วจึงใส่ Healing capไว้ก่อน แล้วนัดมาดูแผล 1สัปดาห์(จริงๆในคู่มือ บอกว่าควรประมาณ2-3 สัปดาห์ จึงจะใส่ transmucosal base และball-screw) พบว่าแผลก็ค่อนข้างดีจึงใส่ transmucosal base และball-screw เลย(จริงๆก็มีอีกเหตุผลคือ เครื่องมือที่มีมาให้แค่ชุดเดียว ใช้กันทั้งจังหวัด จึงต้องเร่งทำเพื่อส่งต่อไปให้รพ.อื่นได้ใช้ต่อ) และทำการ pick upจนเสร็จ

สรุป และข้อสังเกต

  -ทั้ง11ราย  ใช้เวลาทำ 4 สัปดาห์ เสร็จขั้น pick up ไป10ราย อีก1ราย ใส่ballแล้ว รอการpick up เนื่องจากเหงือกยังไม่ดี  

 -ในขั้นตอนการใส่ ball-screw พบว่าบางรายใส่ball-screw แล้วรู้สึกว่าขยับได้(ตอนแรกนึกว่ารากเทียมขยับ ) จึงขัน ball-screwออกแล้วใส่ใหม่พบว่าสามารถใส่ให้แน่นได้ แสดงว่าตอนแรกใส่ไม่ตรงตำแหน่ง อันนี้ก็ต้องระวังครับ

 -ในขั้นตอนการถอดใส่ส่วนยึดต่อต่างๆของรากเทียมควรระมัดระวังให้มากเพราะชิ้นส่วนต่างๆเล็กมากๆ อาจใช้ผ้ากอซรองด้านในช่องปากไว้เพื่อกันชิ้นส่วนเล็กๆหลุดเข้าคอ (อันนี้ไม่เจอกับตัวครับ)

 -ในขั้นตอนการ pick upก็ต้องทาวาสลีนที่ transmucosal baseให้มากพอ เพราะเจอ1รายที่ดึงไม่ออก ต้องกรอฟันเทียมด้านBuccalจึงดึงออกมาได้

 - ต่อจากนี้ไปก็ยังต้องดูแลกันไปเรื่อยๆครับ ทั้งในการตรวจเช็คการใช้งาน เช็ครากเทียม การทำความสะอาดของผู้รับบริการ รวมทั้งการเปลี่ยนO-Ring ซึ่งต้องมีแน่ๆ

 - จากโครงการรากฟันเทียมนี้ ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่อยากได้เพิ่มน่าจะเป็นเครื่องมือที่น่าจะมีให้มากกว่านี้นะครับ                                             

อนุเทพIco64_root

หมายเลขบันทึก: 462313เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2011 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท