ศึกษารูปแบบพฤติกรรมระหว่างเรียน


เราในฐานะครูผู้สอนควรเข้าไปเติมเต็มอะไร อย่าไร ตรงไหน ช่วงเวลาใดในกระบวนการเรียนการสอน


วันนี้มีโอกาสได้อ่านบทความภาษาอังกฤษ 1 เรื่องชื่อ EXPLORING THE BEHAVIOURAL PATTERNS IN PROJECT-BASED LEARNING WITH ONLINE DISCUSSION : QUANTITATIVE CONTENT ANALYSIS AND PROGRESSIVE SEQUENTIAL  ANALYSIS  ของ Dr. Huei-Tse Hou.(2010) ประเด็นน่าสนใจตรงที่ว่า เวลาสร้างรูปแบบการสอนโดยปกติเรามักมองหาแต่ค่าประสิทธิภาพก่อนเรียนและหลังเรียน  แต่การศึกษาครั้งนี้สนใจศึกษาพฤติกรรมระหว่างเรียนของเด็กเพื่อดูว่าเราในฐานะครูผู้สอนควรเข้าไปเติมเต็มอะไร อย่าไร ตรงไหน ช่วงเวลาใดในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งก็น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยปรับมโนทัศน์ในการจัดการเรียนการสอนได้ดียิ่งๆขึ้นค่ะ

เนื้อหาของบทความนี้มาจากงานวิจัยที่ได้จากการศึกษารูปแบบพฤติกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานด้วยการอภิปรายผ่านระบบออนไลน์ ในรายวิชาการจัดการ ใช้แนวคิด learner-centred instructional approach ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการรวบรวมข้อมูล การประสานงาน การอภิปรายโต้ตอบกัน และการวิเคราะห์ข้อมูล  ในการทำโครงงานใช้กรณีศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการทางธุรกิจ  

การดำเนินการวิจัย 

 -    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน   70   คน  ที่มีความรู้เรื่องหลักสูตรวิชา และมีความสามารถในการใช้กระดานสนทนาออนไลน์  

 -    กลุ่มตัวอย่าง/ผู้เรียนทั้งหมดต้องทำงานร่วมกันในการเก็บรวบรวมข้อมูล ให้ความเห็น วิเคราะห์ รวบรวม การค้นคว้า และนำเสนอรายงานโครงงาน โดยการโพสต์ข้อความสนทนาระหว่างกัน  โดยระหว่างกระบวนการสนทนาออนไลน์  ผู้สอนจะไม่เข้าไปแทรกแซงหรือให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน

-    วิธีการศึกษา คือ ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงงานโดยวิเคราะห์กรณีศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการทางธุรกิจ จนถึงการรายงานโครงงานด้วยการอภิปรายผ่านระบบออนไลน์  โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 14  วัน

 -    ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะทำการวิเคราะห์ผสานกันทั้ง 2 วิธี เพื่อให้ได้ข้อมูลรูปแบบพฤติกรรมในเชิงลึกของผู้เรียน เริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เชิงปริมาณด้วยผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแปลงข้อความบนกระดานสนทนาให้เป็นรหัสพฤติกรรม  เพื่อให้ผู้วิจัยทราบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวันของการเรียนรู้โดยใช้โครงงานด้วยการอภิปรายผ่านระบบออนไลน์     แล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ลำดับความก้าวหน้า เพื่อช่วยให้นักวิจัยเห็นภาพของรูปแบบพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้  

ผลการศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีการจัดการเวลาที่ไม่ดีในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น  ขาดกระบวนการประเมินผลข้อมูลได้อย่างเหมาะสม  และขาดการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมเพียงพอ  ฯลฯ

ข้อเสนอแนะสำหรับครูหรือนักพัฒนาระบบอาจนำไปพัฒนาต่อยอดการวิจัยในอนาคต คือ ข้อจำกัดด้านคุณลักษณะหลายอย่างของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ระดับการศึกษา ชั้นปี  เกรด วิชา ที่อาจส่งผลต่อการกำหนดความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างของรูปแบบพฤติกรรม  ส่วนด้านเทคนิค คือ ผู้สอนอาจใช้กลยุทธ์ที่จะจูงใจหรือกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และการโต้ตอบมากขึ้นในบางช่วง อาจมีการสอนพิเศษเพื่อแก้ปัญหาการประเมิน เพิ่มความรู้ให้ผู้เรียนมากขึ้น เช่น ความรู้ทางสังคม การแก้ปัญหา ขั้นตอนการคิด เหตุผลการอภิปรายขั้นสูง


หมายเลขบันทึก: 462305เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2011 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท