สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์


สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) : Geographical Indication

         เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ศาลากลางจังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ได้เชิญ ผศ. ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ  ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ชยาวุธ จันทร เกษตรจังหวัดชุมพร เกษตรอำเภอ พี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชุมพร ครั้งที่ ๑ ในที่ประชุม ประธาน ท่านรองชยาวุธ ได้กล่าวถึงสมัยที่ท่านเป็นปลัดจังหวัดนครนายก มีการรับรอง GI มะปรางค์หวาน ท่านว่าที่ชุมพรน่าจะขอ GI สักผลิตภัณฑ์ ในวันนั้น ก็ได้มีการนำเสนอกล้วยเล็บมือนาง ซึ่งเป็นผลไม้ของชุมพรและมีชื่อเสียงสอดคล้องกับการขอรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประกอบกับมีการประชุมเกษตรอำเภอทุกจังหวัดในภาคใต้เพื่อพัฒนานายทะเบียนวิสาหกิจชุมชน (เกษตรอำเภอ) ผศ. ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ  ได้มาบรรยายในเรื่องนี้ พี่ถวัช นพเกื้อ เกษตรอำเภอท่าแซะ ได้เข้าร่วมประชุมด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรจังหวัดชุมพร จึงได้ประสาน ผศ. ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ  มาบรรยายเพื่อสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น

 

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) : Geographical Indication

โดยสรุป 

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์คืออะไร

          : ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และที่สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว

ลักษณะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอรับความคุ้มครองได้

       @ เป็นชื่อ สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะ

      @ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นมีความเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์คือพื้นที่ของประเทศ เขต ภูมิภาค และท้องถิ่น และให้หมายความรวมถึงทะเล ทะเลสาป แม่น้ำ เกาะ ภูเขา หรือพื้นที่อื่นทำนองเดียวกัน

      @ ไม่เป็นชื่อสามัญที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกขานสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่จะใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น

      @ ไม่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนโยบายของรัฐ

      @ กรณีเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของต่างประเทศจะต้องปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้รับการคุ้มครองและมีการใช้สืบเนื่องตลอดจนถึงวันที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนในประเทศ

 

ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

       @ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลซึ่งมีเขตรับผิดชอบ   คลอบคลุมบริเวณแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น

       @ บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และมีถิ่นที่อยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า

      @ กลุ่มผู้บริโภคหรือองค์กรผู้บริโภคสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 

ผู้มีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

     @ ผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น

     @ ผู้ประกอบการค้าที่เกี่ยวกับสินค้านั้น

 

ประโยชน์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

    @ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

    @ เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

    @ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้ผู้ผลิต และเป็นเครื่องมือทางการตลาด

    @ เพื่อให้มีการดูแลรักษามาตรฐานของสินค้า

    @ เพื่อช่วยกระจายรายได้สู่ชนบท และส่งเสริมอุตสาหกรรม

    @ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

      หลังจากมีการประชุมพูดคุยกันพร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนในหลายๆประเด็น โดยไม่มีการสรุป เนื่องจากจะต้องมีอีกหลายเวทีที่จะต้องพูดคุยกัน โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรมีความมุ่งมั่นมากว่าจะต้องขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กล้วยเล็บมือนาง ให้ได้ โปรดติดตามตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 461084เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท