งานซ้อน ซ้อนงาน เมื่อพยาบาลอยากบรรเทาปวดแบบไม่ใช้ยา


บรรเทาปวดแบบไม่ใช้ยา ทำได้ จริงหรือ? ทำได้ อย่างไร?

 

13 ก.ย. 54 ช่วงเช้า อาสาสมัครอยู่บูธ GoToKnow in KKU show&share

 

KKU show&share 2011 &GoToKnow

 ไป GoToKnow in Show & Share ได้คำถามที่ (ไม่) ต้องการคำตอบ หรือไม่

 

แรกรับ ทำตัวให้ว่าง ลาหยุดพักผ่อนปราศจากงานประจำแล้ว เรียบร้อย 

  แต่ด้วยเหตุบางประการ ทำให้เกิดงานซ้อนขึ้น  เอ้า......ไม่ว่ากัน  เพื่อชาติ...... แบ่งภาคได้

         เมื่อคนเรามีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ เปลี่ยนบทบาท หรือพบเจอเหตุการณ์ที่มองว่าเป็นสิ่งแปลก คุกคามความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิต ย่อมมีความวิตกกังวลเกิดขึ้น  จะมากหรือน้อย คงแล้วแต่การรับรู้ และการให้ความหมายของแต่ละบุคคล

       ความวิตกกังวล มักมาคู่กับความปวด อาจปวดจากการผ่าตัด ปวดจากโรค ล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งนั้น

      ปวดมาก วิตกกังวลมาก  วิตกกังวลมาก ปวดมาก  เป็นวงจรเชื่อมโยงกันไป

ทำอย่างไรจึงจะตัดวงจรเหล่านี้ได้ โดยไม่ต้องใช้ยาพร่ำเพรื่อ

           มีงานวิจัยหลายงาน ที่พบว่า การฝึกผ่อนคลาย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถตัดวงจรนี้ได้  โดยอาศัยกลไกของร่างกาย เมื่อคนเราเกิดการผ่อนคลาย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุข (Endorphine) ที่จะช่วยลดความรู้สึกวิตกกังวล ลดความปวด

 

วันนั้นช่วงบ่ายมีโอกาสไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกการผ่อนคลาย กับพี่น้องชาวพยาบาล "ศรีนครินทร์"

  โดยมีพี่ขาว คุณศิริพร มงคลถาวรชัย  รองฯฝ่ายคลินิคฯ  เป็นคนเอื้อให้เกิดขึ้น

หลังจากเล่าเชิงทฤษฏีแล้ว ก็ให้สมาชิกฝึกปฏิบัติ

เทคนิคการผ่อนคลายมีหลายวิธี สำหรับวันนี้นำเอาการฝึกผ่อนคลายแบบ Benson, s respiratory one method ซึ่ง รศ.ดร. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ  และรศ. ปิญากรณ์ ชุตังกร ได้แปลเป็นภาษาไทยและบันทึกไว้ ซึ่งได้ผ่านการทดลองใช้มาแล้วกับผู้ป่วยหลายๆ กลุ่ม เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น

ชุดที่ 2 คือ เทปการฝึกผ่อนคลายด้วยตนเองของกรมสุขภาพจิต

มาให้ทดลองฝึกกัน เพื่อเป็นน้ำจิ้ม  ก่อนที่จะนำไปเสนอแนะให้ผู้อื่น ตัวเองควรทำความรู้จักก่อน

       ความจริงแล้ว การฝึกที่ถูกต้องนั้นต้องอยู่ในท่าที่สุขสบาย อาจนอน หรือนั่งเอนหลัง แต่ด้วยข้อจำกัด จึงทำได้เพียงนั่งในท่านี้

       หลับตา ปิดไฟ เพื่อลดสิ่งรบกวน

       ทำใจให้ว่าง พร้อมรับการฝึก ไม่ต่อต้านว่าทำไม่ได้  หรือไม่ต้องบอกตัวเองว่าต้องทำได้ ปล่อยใจตามสบาย 

        หูฟังเสียงเชิญชวน ชี้แนะ ปฏิบัติตามคำบอกเล่า รวบรวมสมาธิ อาจสร้างจินตนาการตามคำบอกเล่านั้น

การฝึกจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที

จะฝึกได้ช้า เร็ว ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละบุคคล ถ้าคนที่มีสมาธิดีหรือเคยฝึกสมาธิมาก่อน  จะฝึกได้เร็ว

เหล่านี้ คือตัวอย่างคำบอกเล่าของผู้ป่วยที่เคยฝึก

            ก่อน                                                                          หลัง

ครั้งที่  1 นอนไม่หลับ หงุดหงิด( ถามคำถามซ้ำๆ)  ตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น อยากฟัง ให้ความสนใจ “ถ้าทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จะได้ผลอย่างที่พยาบาลพูดหรือไม่”

ทำสมาธิไม่ได้ เวลาสั้นเกินไป จิตใจวอกแวก คิดถึงสิ่งอื่นก่อน ฟังไปเรื่อยๆ ยังวอกแวก จึงทำสมาธิก่อน 5 นาที

ครั้งที่  2  หลังจากฟังเทปด้วยตนเองแล้ว 10 ครั้ง

ไม่วอกแวก ทำได้เอง

-ไม่วอกแวก ไม่ต้องฟังเทปก็ฝึกได้ ใช้เวลามากกว่าเทป  จินตนาการได้เองเหมือนเดินอยู่บนทะเล เห็นแสง ใบไม้ เห็นพระอาทิตย์ ชอบมาก   จินตนาการเห็นภูเขา ดอกไม้ ภูหลวงที่เคยไปแล้วประทับใจ

-ไม่หลับแต่หายใจเข้าออก จิตไม่วอกแวก ผ่อนคลาย

-ใช้เวลา 15 นาทีตามความพอใจจึงหยุด ลืมตาแล้วรู้สึกเหมือนนานมาก รู้สึกว่าสว่างวาบ

-คิดว่าดี  จิตใจปลอดโปร่ง คลายความเครียด คลายความวิตกกังวล

-ทำตอนเช้าดีที่สุด ประมาณ 05 น. กลางวันมีแสง ร้อน เปิดพัดลมก็เย็นเกินไป กลางคืนก็ดี ช่วง 18-19 น. หลังจากกินข้าวเสร็จ ช่วงอื่นอยากทำก็ทำ

กระสับกระส่าย รำคาญสายต่างๆ ที่ออกมา หน้านิ่วคิ้วขมวด พลิกตัวไปมา ปวดแผล

พักได้ ไอขับเสมหะได้มากขึ้น  หลับได้มากขึ้น

กังวลว่าจะใช้ไม่ได้ผล

ความรู้สึกกังวลที่ว่าฟังเทปแล้วไม่ได้ผลหายๆไป กลายเป็นรู้สึกผ่อนคลายแทน  การผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะช่วยให้คลายความวิตกกังวลลงได้

การฝึกผ่อนคลายนับเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง สำหรับพยาบาลในการให้บริการเพื่อบรรเทาความวิตกกังวล และความปวด 

 

สิ่งสำคัญคือ

เมื่อปวดมาก ควรได้รับยาแก้ปวด

การฝึกผ่อนคลายควรเริ่มฝึกเมื่อผู้ป่วยไม่มีความปวด หรือมีความปวดน้อยๆ  การนำไปใช้จึงจะได้ผล

 การผ่อนคลายไม่สามารถใช้แทนยาแก้ปวดได้  แต่สามารถลดความรู้สึกทุกข์ทรมาน  ทำให้คนเราสามารถจัดการกับความปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ลองดูนะคะ

หมายเลขบันทึก: 461027เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณมากๆ ครับ ที่กรุณาแนะนำวิธีการปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายโดยไม่ต้องใช้ยา

ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผมและเพื่อนๆ คนอื่น....จะลองนำไปปฏิบัติดูนะครับ

นอกจากแบ่งภาคได้แล้ว ยังบันทึกเล่าสู่กันฟังได้อย่างน่าสนใจทั้งสองงานด้วยคะ :-) ชอบตรงนี้คะ

ไม่ต้องบอกตัวเองว่าต้องทำได้ ปล่อยใจตามสบาย 

สวัสดีค่ะน้องติกน้ำ

แม้งานซ้อนแต่ก็ผ่านไปด้วยดีน่าประทับใจ น่าภูมิใจทั้ง2งาน ชื่นชมค่ะ

เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากค่ะ ฝึกผ่อนคลายใจจดจ่อกับการฝึก ผ่อนคลาย ใจสบาย จนลืมความเจ็บปวด

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

น่าสนใจจัง เหมือนการทำสมาธิใช่ไหมคะ

สนใจค่ะ  ชอบทำสมาธิอยู่แล้วค่ะ

นับเป็นความรู้ที่ดีมีประโยชน์มากสำหรับอนาคตคะ
ปกติแง่มุมนี้ไม่ค่อยได้สัมผัสมาในชีวิต
ตั้งแต่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรงตั้งแต่จำความได้คุณพ่อไม่เคยพาไปหาหมอเลยคะ ไม่เคยนอน รพ. ด้วบยนะคะ
เพราะไม่เคยเจ็บป่วยไข้มากมาย พี่สาวตอนนี้กำลังเรียน ป. เอก ก็ไม่เคยไปหาหมอเช่นกันคะ
แต่อนาคตเป็นของไม่แน่นอน รักษาสุขภาพจิตแงะใจให้แข็งแรงคะ

สวัสดีคะ

Ico48

การฝึกผ่อนคลาย ก็คล้ายกับการทำสมาธิ เพียงแต่เราจะอาศัยทำตามคำบอกจากเทปเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย  ลองดูนะคะ

 

ขอบคุณคะที่เข้ามาเยี่ยมชม

Ico48

ลองฝึกดูแล้วจะรู้สึกว่าตัวเบา แบบไม่ลดน้ำหนัก  อิ อิ

ขอบคุณคุณหมอมากคะ

Ico48

ถ้าจะให้เขียนเชิงวิชาการก็ทำไม่ค่อยเป็น แต่ถ้าให้เล่าไปเรื่อยๆ ก็พอทำได้คะ

 

พี่อุ้ม

Ico48

อิ อิ ช่วงบ่ายติกโดดไปอีกงาน 

แต่ก็น่าเสียดายเหมือนกัน ที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรมล้อมวง

 

 

ขอบคุณพี่ใบบุญ

Ico48

และคุณครูสุภาภรณ์คะ

Ico48

 

ใช่แล้วคะ คล้ายๆ กับการทำสมาธิ  เพียงแต่การฝึกผ่อนคลายเราจะอาศัยการฟังเสียงจากเทปแล้วปฏิบัติตามคะ

ขอบคุณคะที่แวะมาเยี่ยม

Ico48

ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ แต่เมื่อเป็นแล้ว เราคงต้องเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตหรือแก้ไขให้มีผลกระทบต่อชีวิตเราน้อยที่สุดคะ

ขอบคุณคะที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท