บนเส้นทางนักส่งเสริมคนรุ่นเก่า


.ปัจจุบันการทำงานด้านส่งเสริมการเกษตรอยู่ในสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันทั้งระบบการผลิตด้านการเกษตรของพี่น้องเกษตรกรก็เกิดผลกระทบที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ ไม่ว่ากรณีเกิดน้ำท่วมพืชผลทางการเกษตรที่เกษตรกรปลูกได้รับความเสียหายจำนวนไม่น้อย และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยเฉพาะพื้นที่นาลุ่มในเขตหลายๆพื้นที่

         จังหวัดกำแพงเพชร ก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนที่ตกหนัก และน้ำไหลหลากจากทางเหนือลงสู่ภาคกลางของแม่น้ำปิง ห้วงระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา พื้นที่นาลุ่ม ส่วนใหญ่ก็จะถูกน้ำท่วมในเขตหลายอำเภอได้แก่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง และอำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นต้น 

 

       ภารกิจหนึ่งของนักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในภาคสนามจะต้องประสานงานหน่วยภาคี  อปท. ผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่มอาชีพ ได้เร่งให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะการรับแจ้งพื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย จากน้ำท่วมในครั้งนี้ การออกไปสำรวจข้อเท็จจริงร่วมกับคณะทำงาน  เพื่อที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากภัยภิบัติในครั้งนี้อย่างเร่งด่วนต่อไป 

 

          อีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญของนักส่งเสริมการเกษตรจะต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาก็คือการปรับแนวคิดที่ขับเคลื่อนปรัชญาทางการส่งเสริมการเกษตร ที่ว่า  วิธีการให้พี่น้องเกษตรกรสามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดที่ว่า การแนะนำให้เกษตรกรรู้จักวิธีตกปลา ดีกว่า การนำเอาปลาไปให้

 

Large_dsc06173

           การออกไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรถึงบ้านเรือน และไร่นา ยังเป็นบทบาทที่สำคัญบทบาทหนึ่งของนักส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ที่ควรจะเรียนรู้จากนักส่งเสริมการเกษตรรุ่นเก่าๆ 

 

          การที่จะเป็นนักส่งเสริมมืออาชีพได้นั้นก็จะต้องมีประสบการณ์การทำงานกับชุมชน การสร้างและพัฒนาเครื่องมือของการเรียนรู้กับชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การทำงานแบบมีส่วนร่วม การฝึกทักษะในการเป็นวิทยากรกระบวนการ หรือที่เรียกว่าทักษะการเป็นคุณอำนวยนั่นเอง

รวมทั้งการปรับแนวคิดในการทำงานอย่างมืออาชีพนั่นเองครับ

 Large_101_0002

 

Large_101_0009

          เมื่อเร็วๆนี้ผมและทีมงาน ได้ออกไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายย่อยที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำแปลงขยายพันธุ์อ้อยพันธุ์ดีแก่ชุมชน ประจำปี ๒๕๕๔  ที่ตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม และตำบลบึงสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลด้านเทคโนโลยีการผลิตอ้อย  การสำรวจต้นทุนการผลิตอ้อย ควบคู่กันไปด้วย

 

          การลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ครั้งนี้ ทีมงานเราได้ประสานเกษตรกรอำเภอ นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบพื้นที่ และเกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรม บางครั้งความตั้งใจที่ต้องการถ่ายทอดวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรแก่นักส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ ที่ยังมีประสบการณ์การลงพื้นที่และชุมชนน้อย

 

         ในขณะเดียวกัน การค้นหาปัญหาในการทำงาน ของนักส่งเสริม เพื่อพัฒนาไปสู่การค้นหาโจทย์ในการวิจัยในงานส่งเสริมการเกษตร หรือที่เรียกว่า RR นั่นเอง จำเป็นอย่างยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการลงไปเรียนรู้ร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

         หากนักส่งเสริมไม่ลงพื้นที่ ไม่ลงไปทำงานกับชุมชน แล้วคนที่เขาอยู่ในชุมชน จะบอกให้เราทราบได้อย่างไร แล้วการขับเคลื่อนปรัชญาทางการส่งเสริมการเกษตรจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

เขียวมรกต

๑๗ กย.๕๔

หมายเลขบันทึก: 460994เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท