...บุหงารายา...พวงมาลัยแห่งเทพเจ้า...


เจ้าแม่กาลี เป็นเทพสตรีในภาคดุร้ายนี่เอง ดอกชบาจึงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของพิธีที่น่ากลัวและน่าหวาดเสียวพิธีหนึ่ง นั่นก็คือ เขาจะใช้พวงมาลัยดอกชบาคล้องคอนักโทษที่กำลังจะถูกประหารชีวิต ...

 

...บุหงารายา...พวงมาลัยแห่งเทพเจ้า...


ในอินเดียสมัยโบราณ เล่าขานกันว่าทั้งผู้หญิงและผู้ชายนิยมสวมสร้อยคอลูกปัดกันอย่างแพร่หลาย วันหนึ่งมีหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานเสียชีวิตลง ในขณะที่เตรียมพิธีเผาศพอยู่นั้น พ่อแม่ก็ได้นำเสื้อผ้า เครื่องประดับและสร้อยคอลูกปัดของลูกสาวใส่ลงไปในกองไฟด้วย หลังจากเปลวไฟดับลง ได้ปรากฏสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมา คือ มีดอกไม้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเครื่องประดับของหญิงสาวผู้นั้น ปิ่นปักผม กลายเป็น ดอกกุหลาบ และ สร้อยลูกปัด กลายเป็น ดอกชบา คืนนั้นหญิงสาวได้มาเข้าฝันน้องสาวว่า ดอกไม้ที่เกิดจากสร้อยลูกปัดที่ฉันสวมนั้น ให้ทำเป็นพวงมาลัยถวายเทพเจ้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา...


ตามความเชื่อในลัทธิฮินดู "ชบา" เป็นดอกไม้ประจำพระองค์ของเจ้าแม่กาลี ซึ่งเป็นภาคดุร้ายของพระอุมา ชายาของพระศิวะ ในการทรงสนานเทวรูปของเจ้าแม่กาลีทุกครั้ง จะมีดอกชบา หญ้าแพรก และใบมะตูม ไม้มงคลลอยอยู่ในน้ำนั้น ด้วยความที่เจ้าแม่กาลี เป็นเทพสตรีในภาคดุร้ายนี่เอง ดอกชบาจึงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของพิธีที่น่ากลัวและน่าหวาดเสียวพิธีหนึ่ง นั่นก็คือ เขาจะใช้พวงมาลัย ...ดอกชบาคล้องคอนักโทษที่กำลังจะถูกประหารชีวิต ...

 

 

คนไทยเราได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียมามากมาย รวมทั้งธรรมเนียมการทัดดอกชบาให้กับนักโทษประหารด้วย โดยเฉพาะในกรณีชู้สาว การลงโทษจะเป็นเรื่องเอิกเกริกมาก เช่น ถ้าปรากฏว่าหญิงคนใดนอกใจสามี เมื่อพิจารณาเป็นสัตย์จริงแล้วท่านให้ประจานหญิงและชายชู้นั้น ด้วยการเอาเฉลวปะหน้าผู้หญิง และให้ทัดดอกชบาทั้งสองหู นอกจากนี้ยังต้องสวมพวงมาลัยดอกชบาสีแดง จากนั้นนำผู้หญิงกับชายชู้มาเทียมแอกแทนควายคนละข้าง แล้วให้ไถนาเป็นการประจาน 3 วัน...แต่ถ้าชายผู้เป็นสามีมีความสงสารภรรยาอยู่ ก็จะต้องเข้าไปเทียมแอกแทนชายชู้ แล้วไถนาไปลำพังกับภรรยา ส่วนชายชู้ให้ปล่อยไป อย่าให้ปรับไหมแต่อย่างใดเลย


ในแต่ละท้องถิ่นต่างมีประเพณีและความเชื่อที่ต่างกัน สาวๆ บาหลีนิยมทัดดอกชบา เช่นเดียวกับสาวๆ ฮาวายที่ไม่เคยห่างจากดอกชบา และ ดอกชบา นี่เองเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ปัตตานี นอกจากนี้ยังเป็น ดอกไม้ประจำชาติของ มาเลเซีย มีชื่อเรียกเป็นภาษามลายูที่ไพเราะว่า...บุหงารายา...

 

 

ต้นกำเนิดของ ดอกชบา หรือ Shoe flower มีชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus spp.ซึ่งเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีงาช้าง มีทั้งดอกโตและดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก ปลายใบแหลมนี้ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน นักพฤกษศาสตร์สันนิษฐานว่า ชบาน่าจะมาจากจีนเมื่อครั้งสุโขทัย เพราะมีข้อสังเกตว่า ในสมัยสุโขทัยมีทั้งชบาและชบาเทศ แต่ชื่อ "ชบา" นี้ ไม่น่าจะเป็นจีนตรงไหน จีนแต้จิ๋วเรียก ชบา ว่า "ชัดเท่าฮวย" ชื่อชบาจึงน่าจะมาจากอินเดียมากกว่า เพราะชบา มาจากคำว่า ชป (ชะปะ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า...กุหลาบจีน...


ฤดูร้อนนี้..เป็นฤดูกาลที่ "แฟชั่นดอกชบา" กำลังเบ่งบานอีกครั้ง ดอกชบาสีสวย ที่มีโครงสร้างงามราวกับงานศิลปะ เมื่อมาอยู่กับท้องทะเลสีฟ้าใส ใต้ท้องฟ้ากว้างไกล ช่างเป็นสีสรรพ์ที่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก บทกลอนที่พรรณนาถึงนานาพันธุ์ดอกไม้ไทย จากบทประพันธ์เรื่อง "รามเกียรติ์" ตอน "พระรามลาสระภังคฤาษ" พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1...ได้กล่าวไว้อย่างไพเราะดังต่อไปนี้

 

...พุทธชาดรักซ้อนซ่อนกลิ่น
อินทนิลช้องนางนางคลี่
นางแย้มกล้วยไม้มะลุลี
ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน

กรรณิการ์เกดแก้วกาหลง
ประยงค์พะยอมหอมหวาน
ชมพลางเด็ดดวงผากาญจน์
พระอวตารส่งให้วนิดา...

 





 

Magaya - Chris Spheeris

 

หมายเลขบันทึก: 460815เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาพสวยมากเลยค่ะ...แต่เรื่องของดอกชบาของชาวฮินดูนี่น่ากลัวเหมือนกันนะคะ

แวะมาอ่านเรื่องราวที่เป็นความรู้จ้ะ

สวัสดีค่ะ

Ico64

แวะมาชื่นชม...ชอบมากค่ะ...บันทึกที่มีความรู้ทางวิชาการด้วย...ดอก Hibiscus สีเหลืองปลูกใส่กระถางไว้ในที่พัก เกือบปีถึงออกดอกให้เห็นจึงถ่ายรูปเก็บไว้...ขอมอบไว้ดูเล่น...ดอกไม้จากแดนไกลค่ะ

ขอบคุณนะคะ ดร. พจนา ที่เอาดอกไม้มาฝาก ...ดูเหมือนว่าดอกจะใหญ่กว่าบ้านเรานะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท