กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


การจัดกิจกรรมพัฒนาผ็เรียนตามหลักสูตร51

 

 หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

โครงสร้างเวลาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นตามหลักสูตร            โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ พุทธศักราช 2554

 

กิจกรรม

มัธยมศึกษาตอนต้น 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ม.1

ม.2

ม.3

ม.4

ม.5

ม.6

กิจกรรมแนะแนว

40

40

40

40

40

40

กิจกรรมนักเรียน

   - ลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด         

      ผู้บำเพ็ญประโยชน์

    *กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร

-ชุมนุม  /  ชมรม

 

40

 

-

40

 

 

40

 

-

40

 

 

40

 

-

40

 

 

-

 

(40)

80

 

 

-

 

(40)

80

 

 

-

 

(40)

80

 

**กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(15)

(15)

(15)

(20)

(20)

(20)

 

      รวม  (ชั่วโมง)

120

120

120

120

120

120

 

 หมายเหตุ

    *  นักเรียนระดับชั้น ม.ปลาย ที่เลือกกิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร  ต้องเลือกชุมนุม 1 ชุมนุมเท่านั้น ( 40 / ปี )

**  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ บูรณาการในกิจกรรมแนะแนว / ชุมนุม / ลูกเสือ,เนตรนารี 

 ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร  / กิจกรรมอื่น ๆ ของโรงเรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

                กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ  พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม  มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการกระทำประโยชน์เพื่อสังคมสามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข   กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3  ลักษณะดังนี้

  1. กิจกรรมแนะแนว  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์

สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ  คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย  วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ  สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

2. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

ความรับผิดชอบ  การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่  การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน  ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย

                       - กิจกรรมลูกเสือ  เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร

                       - กิจกรรมชุมนุม ชมรม

3.  กิจรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตน

ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชน  และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม  ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3   ปีละ 120  ชั่วโมง  และ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-6 จำนวน  360  ชั่วโมงนั้น เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว  กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

      ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณประโยชน์  ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น    ( ม. 1- ม. 3) รวม 3 ปี            จำนวน 45  ชั่วโมง

                ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ( ม. 4- ม. )  รวม  3  ปี          จำนวน  60  ชั่วโมง

 

                เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน

 

  1. การตัดสิน  การให้ระดับ  และการรายงานผลการเรียน

ในการตัดสินผลการเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นั้น ผู้สอนต้องคำนึงถึงกา

พัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก  และต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอ  และต่อเนื่องในแต่ละภาคเรียน รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็มศักยภาพ

                        การประเมิน และ การให้ระดับผลการเรียน

                การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง  โดย

จะต้องพิจารณา  ทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็น   ผ่าน  และไม่ผ่าน โดยแต่ละกิจกรรมมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

   กิจกรรมแนะแนว

  1. ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม  ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด
  2. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินสมรรถนะสำคัญ  5  ประการ
  3. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ประการ
  4. ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

 กิจกรรมนักเรียน

กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี  ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์  และนักศึกษาวิชาทหาร

  1. ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด
  2. ต้องผ่านกิจกรรมอยู่ค่ายพักแรม หรือผ่านตามเกณฑ์การฝึกของนักศึกษาวิชาทหารปีละ  1  ครั้ง
  3. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินสรรถนะสำคัญ  5  ประการ
  4. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ประการ

5.   ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

กิจกรรมชุมนุม ชมรม

  1. ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม  คลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด
  2. ต้องนำเสนอผลงานของชุมนุมหรือชมรม ปีละ 1  ครั้ง
  3. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินสมรรถนะสำคัญ  5  ประการ
  4. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ประการ                                                                                                           5.    ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

 

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

1. ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชน และท้องถิ่น ตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ  เช่น

กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม  โดยจัดทำเป็นโครงการและรายงานผลภาคเรียนละ 1 ครั้ง  โดยยึดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

2.ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด  (15  ชั่วโมง / ปี)

3. ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

4. ผู้เรียนต้องมีเวลาทำกิจกรรมรวมจำนวน 45  ชั่วโมง ในระยะเวลา 3 ปี  ( ม. 1-3)

 

                        ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

  1. ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชนและท้องถิ่น ความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม  โดยจัดเป็นโครงการและรายงานผลภาคเรียนละ 1 ครั้ง  โดยยึดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน
  2.  ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด  (20  ชั่วโมง/ ปี)  

3.  ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

4.  ผู้เรียนต้องมีเวลาทำกิจกรรมรวมจำนวน 60  ชั่วโมง ในระยะเวลา 3 ปี ( ม. 4-6)

 

                        การรายงานผลการเรียน

การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครอง และผู้เรียนทราบ

ความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ ๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

 

2.เกณฑ์การจบหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์

         ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกกิจกรรม ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

               

 

               

หมายเลขบันทึก: 460809เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท