JJ2011V09_13 มิติใหม่ของการอุดมศึกษาไทย โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช


วิชาการเพื่อรับใช้สังคม

 รายงานสด จาก การบรรยาย ของท่าน ประธาน กกอ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในที่ประชุม จัดโดย สกอ เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัย ครั้งที่ ๔

 ประเด็น ที่อาจารย์หมอวิจารณ์ นำเสนอ คือ วิชาการเพื่อรับใชสังคม คือ การผลิตบัณฑิต วิจัย บริการ ที่มีคุณภาพสูง ได้มาตรฐาน และ ต้องมีนวตกรรม ต้องมีคุณค่าต่อสังคม ชุมชน และ บ้านเมือง ไม่ก่อโทษ ไม่คิดประโยชน์ตนเอง ใช้มุมมอง Outside In คือ มองจากภาพบอก

 งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ในมุมมอง ของท่านประธาน กกอ คือ งานวิจัยเชิงทฤษฎี รับใช้สังคมด้านสังคม มีเป้าหมายรับใช้สังคม ที่เรียกว่า Directed Basic Research เป็นงานวิจัยที่มีโจทย์มาจากผู้ใช้ ที่เรียกว่า Research and Development ประสบการณ์ที่อาจารย์หมอวิจารณ์มีมามากว่า ๗ ปี คือ การไปช่วยงานที่ศิริราช ที่พัฒนางานประจำเป็นงานวิจัยที่เรียกว่า R to R หรือ Reutine to Research

 คุณภาพของระบบการเรียนรู้ ต้องฝึกตั้งแต่ประถมหนึ่ง เป็นการพัฒนาให้เกิด 21st Century Skill เพราะ สังคมและโลกเปลี่ยนแปลง เด็กเปลี่ยนไป ทักษะในการดำรงชีวิตเปลี่ยน คนสมัยใหม่เสี่ยงในการเสียคน การเรียนรู้ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะ "สอนไม่ได้ผล ตนเอง ต้องเป็นผู้เรียน ครูต้อวไม่เน้นการสอน"

 เราต้องเน้นที่ Learning Outcome หรือ Competency ของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยสี่ส่วน โดยมี Core Subject และ ทักษะ อีกสามชุด คือ Life and Career Skill มี Learning and Innovation Skill โดย การเรียนรู้สำคัญมากมาก เช่ว วิชาเคมี และ แพทย์ หากผ่านไป ๑๐ ปี หลายๆเรื่องใช้ไม่ได้ ต้องมาเรียนรู้ใหม่ ที่เรียนไปเก่าใช้ไม่ได้ หากไม่มี ทักษะการเรียนรู้ จะกลายเป็น นักเคมี หรือ หมอ สมัยโบราณ

 ต้องมี Media and Technology Skill

 การจะบรรลุได้ต้องมี Standard and Assessement ซึ่งต้องเน้นที่ Formative Asessment เน้นที่การพัฒนาไม่ไช่เพื่อได้หรือตก

 ประเด็นที่สอง คือ การพัฒนาหลักสูตร

 ประเด็นที่สาม คือ Professional Development

ในทักษะที่จำเป็น คือ 3R + 8C (ตามอ่านรายละเอียดใน Blog ของ อาจารย์ หมอวิจารณ์ ได้ครับ)

 เราจะวัดได้อย่างไรว่า เด็กมี creativity and collaboration การเข้าใจผู้อื่น โดยเฉพาะ ภาษา และ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

 ที่เติม คือ การเป็น Change Agent ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มากับภาวะผู้นำ

 ประเด็นเหล่านี้ ต้อง "สั่งสม และ ฝึกฝน ทักษะ เหล่านี้"

 ปัจจุบัน เราล้าหลังเขามาก

ประเทศที่การศึกษาดีที่สุด คือ สิงคโปร์ ซึ่งกระทรวงศึกษา เขาใช้ คือ "Teach less ,Learn more"

 ต้องทีม Team Learning and Learning by Doing การเรียนที่สะท้อน คือ PBL = Project Base Learning ชึ่งใช้ได้ตั้งแตอนุบาล ถึง ระดับปริญญาตรี

 ในการเรียนรู้ การประเมิน ต้อง เป็นสามอย่าง คือ ๑.ให้คิด(ไม่ใช่ขอ้สอบ ถูก หรือ ผิด) ๒ ประเมินทีม ๓.Open Approach ข้อสอบไม่เป็นความลับ

 ดังนั้นในมหาวิทยาลัย เรามีอาจารย์ นักศึกษา เราสามารถไปทำงานกับ เอกชน ราชการ โดยให้ "โจทย์ การวิจัย มาจากชีวิต จริง" เพื่อทำงานวิจัยสายรับใชสังคมไทย

JJ2011 ร่วมพลี ร่วมพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 460425เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • "Teach less ,Learn more"
  • ครูอาจารย์ทั้งหลายต้องผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ > รับรู้

ชักชอบแล้วครับ

เมื่อไหร่จะได้ใช้ครับแบบนี้ 

เรียนท่านอาจารย์ พิชชา ครูต้องเป็นผู้เรียนรู้ก่อน ศิษย์ จะ เจริญ จะLearn ตาม ครับ

เรียนท่านอาจารย์ โสภณ ไช้ได้เลยครับ

 "โจทย์ การวิจัย มาจากชีวิต จริง"

เรียนท่าน อาจารย์ JJ

เป็นข้อความที่กระชับได้ใจความมากคะ  

แม้วิธีการวิจัยเป็นสากล แต่โจทย์บ้านเรา 

 

เรียนท่าน CMUpal แม่นแล้วท่าน

สวัสดีครับท่าน อาจารย์ jj

งานวิจัยจากชีวิตจริง น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

เรียนท่านผู้เฒ่า จากห้างสู่หิ้ง และ จากหิ้งสู่ห้าง ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท