การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 7 (AAR)


การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 7 (AAR)
ตอนที่ 7  นี้จะเป็นการจัดการความรู้ครั้งสุดท้าย  ด้วยกิจกรรม  AAR (After  Action Review)  
สรุปผล สรุปบทเรียน และการถอดบทเรียนจากการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 
กิจกรรมจัดขึ้นวันที่  9  กันยายน 2554  ณ คลินิกแพทย์แผนไทย  โดยมีผู้เข้าร่วมดังนี้ 
 

1.นางปราณี   จรไกร
2.นายเพิ่มศักดิ์  รุ่งจิรารัตน์
3.นางณฐอร   เชื่อมชิต
4.นายศิวพล   สุวรรณบัณฑิต
และผู้ช่วยแพทย์แผนไทยอีก 11  ราย
 
โดยเราได้ทำการสรุปบทเรียนพูดคุยถึงปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้เป็นไปตามความต้องการหรือไม่ และสรุปได้ดังนี้
 
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้นวัตกรรมการอยู่ไฟหลังคลอดสำหรับผู้ที่ไม่สามารถมารับการอยู่ไฟที่โรงพยาบาลได้
2.หญิงหลังคลอดสามารถอยู่ไฟด้วยตนเองได้อย่างปลอดภัย
3.สุขภาพหญิงหลังคลอดที่อยู่ไฟด้วยตนเองดีขึ้น โดยวัดจากแบบประเมินสุขภาพ
4.หญิงหลังคลอดมีความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม
 
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
1.ได้นวัตกรรมอยู่ไฟหลังคลอดที่ ประหยัด สะดวก และปลอดภัย สำหรับหญิงหลังคลอดที่อยู่ไฟด้วยตนเอง
2.หญิงหลังคลอดสามารถอยู่ไฟได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย โดยวัดจากแบบประเมินสุขภาพและผลข้างเคียง
3.หญิงหลังคลอดที่ได้ทดลองใช้นวัตกรรมมีความพึงพอใจนวัตกรรม ดดยวัดจากแบบประเมินความพึงพอใจ
 
สิ่งที่ได้เกินคาด
1.มีการร่วมมือกันแสดงความคิดเห็นกัน ร่วมกันสร้างนวัตกรรม อย่างสนใจ มีความ กระตือรือร้น อยากให้มีการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.จัดทำคู่มือการการใช้นวัตกรรม
3.ในเรื่องของทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานดีขึ้น เนื่องจากได้พูดคุยกันบ่อยขึ้นและมีความ เข้าใจกัน
 
สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่นนี้เป็นประจำ เพื่อที่ได้พัฒนานวัตกรรมและพัฒนางานที่ทำประจำหรือหากมีปัญหาจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ปัญหาโดยทำกิจกรรมแบบให้เนียนกับเนื้องาน ควรมีการคิดมูลค่าของนวัตกรรม เพื่อให้ผลประเมินออกมาแบบมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นนวัตกรรมช่วงทดลองใช้โดยไม่เสียค้าใช้จ่าย ผู้รับบริการจะต้องพึงพอใจหากเปลี่ยนเป็นคิดมูลค่า ผู้รับบริการจะพิจารณาเพิ่มมากขึ้นว่าคุ้ม หรือมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับราคาหรือไม่ ทำให้สามารถพัฒนานวัตกรรมได้ดียิ่งขึ้น
 
 
 สรุปความรู้ สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. ได้สร้างผลงานเป็นนวัตกรรมอยู่ไฟหลังคลอด ด้วยตนเอง
2. ได้คู่มือการใช้นวัตกรรม อย่างปลอดภัย
3. ได้ความรู้ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม ก่อนจะเป็นผลงานขึ้นมาต้องทำกระบวนการไหนบ้าง เช่นหาข้อมูล จากผู้มีประสบการณ์ ผู้ที่เคยใช้ หรือตามสื่อ หนังสือ อินเตอร์เน็ต
4. ได้ทราบถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการสร้างนวัตกรรมเป็นการทำงานเป็นทีม
 
 
 
และได้ร่วมกันถอดบทเรียนเป็น Mine  Map  ดังนี้
 
 
 

 
จบแล้วนะครับสำหรับการสรรสร้างนวัตกรรมอยู่ไฟหลังคลอด การจัดการความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเก็บข้อมูลตลอดจนสรุปผล  ทำให้เราได้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพขึ้นมา  ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามผลงานของเรามาตลอดทุกตอน ถึงตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายในการจัดการความรู้  แต่ยังไม่สิ้นสุด  เพราะ  การเรียนรู้ไม่มีวันที่สิ้นสุด  สามารถต่อยอดไปได้เรื่อยๆ  ซึ่งในตอนต่อไปหลังจากนี้อาจจะนำเอาภาพที่นำนวัตกรรมไปเผยแพร่ยังสถานที่ต่างๆ  มาให้ทุกคนได้รับชมกัน 
 
สุดท้ายแล้วขอให้ติดตามผลงานของงานส่งเสริมสุขภาพ ต่อไปและช่วยเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
 
________________________________________________________Xมอตั๋ง
 
หมายเลขบันทึก: 460418เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีคะหมอตั๋ง เขียนต่อเนื่องจนจบสำเร็จ ยินดีด้วยคะ
  • จบ ARR แล้ว เขียนผลที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัว ในการดูแลผู้ป่วยด้วยแพทย์แผนไทย ยิ่งน่าสนใจคะ  
  • รู้สึกลิงค์มีปัญหานิดหนึ่งคะ

ตามมาเชียร์นะคะ

เพิ่มคำสำคัญ R2R , นวัตกรรม, ...เพิ่มคุณค่า...งานโดยการทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

เป็นนวัตกรรม R2R ได้เลยนะคะ

แบ่งปัน...ผลงานลงเติมคำในช่องว่างในแบบ

 

 

                    บทคัดย่อ  R2R

       1.    ชื่อโครงการเรื่อง

      2.    ชื่อ นามสกุลนักวิจัยหลัก (ไม่ต้องใส่ นาย / นาง / นางสาว) 

     3.    หน่วยงาน

     4.    เนื้อหามีหัวข้อดังนี้

  •  ที่มา
  • วัตถุประสงค์ 
  • ระเบียบวิธีวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง วิธีการศึกษา สถานที่ ช่วงเวลา การวิเคราะห์ข้อมูล) 
  • ผลการศึกษา (ขอให้เขียนเป็นข้อความ) 
  • การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ (ต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน และหน่วยอื่นๆ ที่ร่วมงาน) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน
  • บทเรียนที่ได้รับ

 คนรัก R2R เราจะได้หากันเจอ....

 http://www.gotoknow.org/post/tag/r2r

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

 

 

 

 

 

  • การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน / องค์กร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • การทบทวนวรรณกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

 

 

 



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท