หนุนลูกคนรวยเข้าร.ร.ดังฟื้น"แป๊ะเจี๊ยะ"! ไอเดีย"วรวัจน์"


หนุนลูกคนรวยเข้าร.ร.ดังฟื้น"แป๊ะเจี๊ยะ"! ไอเดีย"วรวัจน์"

 

'วรวัจน์'ไอเดียกระฉูด แจกคูปองให้นักเรียนเลือกช็อปโรงเรียน-อุปกรณ์เรียนตามความพอใจ แทนที่จะให้ร.ร.เป็นผู้เลือกเหมือนเดิม เล็งเปิดช่องคนรวยจ่าย'แป๊ะเจี๊ยะ'เข้าสถานศึกษาดัง

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 11 กันยายนว่า ตนได้มอบหมายให้นายชินภัทรภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ไปศึกษารูปแบบความต้องการปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนที่เป็นความต้องการของนักเรียน และผู้ปกครองอย่างแท้จริง เช่น ชุดนักเรียน รองเท้านักเรียนกระเป๋า อุปกรณ์การเรียนต่างๆ โดยต่อไปอาจจะออกเป็นคูปองสำหรับแลกซื้ออุปกรณ์ต่างๆแทนการแจกเงินให้นักเรียนไปซื้อ เพื่อให้นักเรียนได้เลือกสิ่งที่อยากได้ให้ตรงตามความต้องการ รวมถึงการจ่ายเงินอุดหนุนรายหัวให้กับนักเรียน แทนที่จะแจกให้โรงเรียนโดยตรงก็จะแจกเป็นคูปองให้กับเด็ก ซึ่งเด็กสามารถนำคูปองไปเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนที่ต้องการได้อีกด้วย

"ที่ผ่านมา ศธ.แจกสิ่งของต่างๆ ให้ โดยไม่ได้ดูว่าเด็กต้องการจริงหรือไม่ เช่น คนที่มีฐานะอาจไม่อยากได้ชุดนักเรียน หรือรองเท้าที่แจกให้ เพราะสามารถซื้อได้ดีกว่า ฉะนั้น หากฐานะอาจไม่อยากได้ชุดนักเรียน หรือรองเท้าที่แจกให้ เพราะสามารถซื้อได้ดีกว่า ฉะนั้น หากแจกเป็นคูปองนักเรียนจะเลือกซื้อในสิ่งที่ต้องการได้ ส่วนคนที่มีฐานะดีก็อาจจะไม่ใช้คูปอง เท่ากับรัฐบาลไม่ต้องเสียเงินให้กับผู้ที่ไม่จำเป็น และยังนำงบประมาณที่เหลือไปช่วยเฉพาะคนที่ต้องการจริงๆ ให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีขึ้น และต่อไปนี้เด็กแต่ละคนจะรู้ว่าตัวเขามีเงินติดตัวเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาอยู่เท่าไหร่ และเขามีสิทธิที่จะเลือกโรงเรียนไม่ใช่ให้โรงเรียนมาเลือกเด็ก" นายวรวัจน์กล่าว

รัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังเห็นว่าหากใครมีฐานะดีก็มีสิทธิที่จะเลือกโรงเรียนที่ดีๆ ให้กับลูกหลานได้ ดังนั้น ต่อไปหากผู้ปกครองคนใดอยากสนับสนุนโรงเรียน ก็สามารถทำได้ เพราะในความเป็นจริงต้องถามกลับไปว่า ศธ.สามารถปิดกั้นเรื่องแป๊ะเจี๊ยะได้จริงหรือไม่ ถ้าปิดกั้นไม่ได้ ก็ต้องคิดนอกกรอบเพื่อที่จะพัฒนาโรงเรียนที่อยู่รอบนอกให้มีคุณภาพมากขึ้น และให้นักเรียนทุกคนมีสิทธิได้เรียนอย่างมีคุณภาพ ฉะนั้น ใครที่มีฐานะดีอยากจะให้ลูกเข้าโรงเรียนดัง และพร้อมจะสนับสนุนโรงเรียนก็ทำได้เต็มที่

ด้านนายชินภัทรกล่าวกรณีที่นายวรวัจน์มีแนวคิดจะให้ลอยตัวค่าเล่าเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง ให้เก็บค่าเล่าเรียนได้โดยไม่กำหนดเพดาน โดยไม่ขอรับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐว่า ความจริงแนวคิดนี้สอดคล้องกับโครงการโรงเรียนศักยภาพสูง หรือที่เรียกว่าโรงเรียนระดับ Premium School ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กำลังดำเนินการอยู่ เพราะต้องการให้โรงเรียนที่มีศักยภาพสูงยืนด้วยลำแข้งของตนเอง มีการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับความจำเป็น และความต้องการของผู้ปกครองซึ่งในเดือนกันยายนนี้ สพฐ.จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กพฐ.พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการที่ สพฐ.จะผ่อนคลายกฎระเบียบให้โรงเรียนในกลุ่มดังกล่าวมีความ คล่องตัวในการบริหารจัดการ เช่น การบริหารงบประมาณ บุคลากร เป็นต้น โดยโรงเรียนกลุ่มนี้จะสามารถขยายห้องเรียนพิเศษได้มากขึ้น

"การลอยตัวค่าเล่าเรียนทั้งหมดนั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะนักเรียนมีสถานะที่แตกต่างกัน และต้องให้เวลาผู้ปกครองได้ปรับตัว เพราะการจะลอยตัวค่าเล่าเรียนทั้งหมด นักเรียนและผู้ปกครองต้องพร้อม ด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องรอฟังนโยบายและความชัดเจนจากนายวรวัจน์อีกครั้ง" นายและความชัดเจนจากนายวรวัจน์อีกครั้ง" นายชินภัทรกล่าว

ผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับนโยบายของนายวรวัจน์ที่จะให้ลอยตัวค่าเล่าเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง เพราะบริบทของโรงเรียนเหล่านี้จะแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป ทั้งยังมีภารกิจของโรงเรียนจำนวนมากที่ต้องสนองนโยบายรัฐบาลในโครงการต่างๆรวมทั้ง การสร้างคุณภาพผู้เรียนให้สูง สิ่งเหล่านี้ทำให้โรงเรียนต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากต่อเดือนต่อปี ทั้งงบประมาณและเงินอุดหนุนรายหัวที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล ย่อมไม่เพียงพอแน่นอน เพราะปีๆ หนึ่งโรงเรียนมีค่าใช้จ่ายสูงกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ การอบรมสัมมนา และการส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการ และกีฬา เป็นต้น

"ถ้ารัฐบาลจะให้ลอยตัวค่าเล่าเรียนก็เป็นสิ่งดี แต่ก็ควรมีระบบกำกับติดตามจาก ศธ.อีกทั้งต้องมีกรอบกำกับดูแลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ที่สำคัญเมื่อลอยตัวแล้วจะต้องให้เด็กทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ใช่เฉพาะลูกหลานของคนที่มีฐานะร่ำรวยเท่านั้น" ผู้อำนวยการโรงเรียนคนเดิมกล่าว

ด้านนางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กล่าวกรณีกระทรวงการคลังจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 13 กันยายน พิจารณาการปรับรายได้ให้กับบุคลากรภาครัฐทั้งระบบที่มีวุฒิปริญญาตรี ให้มีรายได้ขั้นต่ำเดือนละ 15,000 บาท โดยระยะสั้นจะจ่ายเป็นเงินค่าครองชีพ ชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ส่วนการปรับโครงสร้างฐานเงินเดือนคาดว่าจะเริ่มวันที่ 1 เมษายน 2555 ว่า สำนักงานก.ค.ศ.คงไม่ต้องไปกำหนดเกณฑ์อะไรอีกเพราะต้องยึดแนวทางกระทรวงการคลังและเมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบแล้ว จะแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบ เพื่อดำเนินการโดยหน่วยงานของ ศธ.ในแต่ละองค์กรหลักได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว

นายชินภัทรกล่าวเรื่องเดียวกันนี้ว่า เมื่อเป็นนโยบายและเป็นมติ ครม.แล้ว ทาง สพฐ.ก็ต้องดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่จะออกมาเพื่อปรับเงินค่าครองชีพให้กับบุคลากรในสังกัดสพฐ. เช่นเดียวกับบุคลากรภาครัฐทั่วไป

ด้านนายนิพนธ์ ชื่นตา ประธานที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)ปล่อยเงินกู้สวัสดิการสมาชิกกองทุนการภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)ปล่อยเงินกู้สวัสดิการสมาชิกกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา(ช.พ.ค.) โครงการใหม่ วงเงินให้กู้สูงสุด 3 ล้านบาทว่า การปล่อยกู้โครงการช.พ.ค.เพื่อให้ครูนำไปใช้หนี้สิน ก็ดีระดับหนึ่งแต่ก็ควรมีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วย โดยต้องสร้างความตระหนักในการใช้เงินให้กับเพื่อนครู

สมาชิก ช.พ.ค.คนหนึ่ง กล่าวว่า การปล่อยกู้โครงการ ช.พ.ค.ถือว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกครูที่มีความเดือดร้อน หรือมีความจำเป็นจริงๆ ในการใช้เงิน เช่น นำเงินไปปลดเปลื้องหนี้สิน หรือนำไปใช้จ่ายกรณีที่ จำเป็นในครอบครัว อย่างการสร้างบ้าน แต่กรณีของสมาชิกที่ต้องการกู้โดยไม่มีความจำเป็น หรือนำเงินไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก็จะ ทำให้เกิดหนี้สินได้ง่าย ดังนั้น ทาง สกสค.ควรต้องกำหนดเงื่อนไขให้รัดกุม เช่น ในกรณีเป็นสมาชิก 1 ปี ก็กู้ได้ เกรงจะจูงใจให้ครูที่บรรจุใหม่ๆ ก่อหนี้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตนคงไม่ไปกู้ เพราะคงส่งชำระไม่ไหวและไม่อยากมีหนี้สินเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าจะมีเพื่อนสมาชิกจำนวนมากยื่นกู้โครงการนี้ โดยเฉพาะคนที่เดือดร้อนเรื่องเงิน เพื่อนำไปใช้หนี้สินต่างๆ
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

หมายเลขบันทึก: 460071เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2011 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท