ทำไมไทยเจริญไม่ทันฝรั่ง (ตอนที่ 0..อารัมภบท)


ผู้บริหารสถาบัน Smithsonian อันยิ่งใหญ่ของเมริกาถึงกับเดินทางมาหาผมเพื่อขอดูตะไล ...ซึ่งท่านยอมรับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกับจรวดใดในโลกที่ได้ศึกษาไว้โดย Aerospace museum ของสถาบัน

คนไทยขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองมากและนาน นับประมาณแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ที่ฝรั่ง ญี่ปุ่นทะลักเข้ามามาก)  ทำให้ขณะนี้ไม่กล้าทำอะไรเอง ต้องทำตามทฤษฎีฝรั่ง ญี่ปุ่น ไปหมด วันนี้เขมร พม่า เข้ามามาก ไทยเราก็เป็นเบี้ยล่างเขาอีกตามเคย

 

 แม้แต่ในเรื่องของการบริหารรัฐกิจซึ่งเราเกิดอยู่กับมันแท้ๆ แต่ก็ยังทำตามทฤษฎีฝรั่งงกๆ  ส่วนคนไทยเราด้วยกันเองพูดจนปากเปื่อยอย่างไรก็ไม่เชื่อกัน  ส่งผลให้ต้องเดินทางไปศึกษาดูงานต่างประเทศเปลืองเงินทองกันไม่รู้จักจบสิ้นเสียที 

 

อย่าว่าแต่ด้านสังคม ศาสนา อาหาร ดนตรี กลอน ที่เราแสนเก่ง แม้แต่ด้านเทคโนโลยีก็มีหลากหลายสิ่งที่บรรพบุรุษของไทยได้คิดค้นไว้อย่างก้าวล้ำนำโลกจริงๆ คนไทยควรศึกษาให้ดีจะเกิดความภูมิใจและความมั่นใจในตนเองจนพอที่จะยืนอยู่บนสังคมโลกนี้ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ลดละเลิกการเดินทางไปเสียค่าโง่ให้ต่างชาติได้ปีละมหาศาล

 

ขอยกสักสองสามตัวอย่างคือเทคโนโลยี บั้งไฟ ตะไล (จรวด)  ระหัดวิดน้ำพลังน้ำ เฟืองเกียร์ (วิศวะ) และเครื่องบิน

 

บั้งไฟนั้นผมเชื่อว่าเป็นจรวดเครื่องแรกของโลก (ที่ทั่วโลกมักยกให้เป็นเครดิตของคนจีน ตามการบันทึกของมาร์โคโปโล ทั่งที่จรวดที่มาร์โคฯเห็นนั้นเป็นเพียงจรวดเด็กเล่นที่จุดวี๊ดๆในช่วงปีใหม่) แต่หารู้ไม่ว่าคนไทยอาจเล่นกันมานานนับพันปีก่อนหน้านี้ จนเป็นวัฒนธรรมชนเผ่าไทที่กระจายตัวกันอยู่ตลอดลุ่มน้ำโขง แดง สาละวิน และ พรหมบุตร  ...หากไตรับมาจากจีนคงมีอยู่เฉพาะบางกลุ่มชาวไตที่อยู่ใกล้จีนเท่านั้น ...แล้วถามว่าไตใกล้จีนมีด้วยหรือ ส่วนจีนใกล้ไตนั้นมีมาก เพราะจีนเขาเก่งด้านการค้าและการทูตมานาน (อันนี้ต้องยอมรับ แม้ในปัจจุบันนี้ก็ตาม)  เขาส่งทูตการค้ามาสืบราชการลับเรามานานมาก ตั้งแต่สองพันปีก่อน ก่อนที่เราจะมีอักษรใช้ (ก่อนประวัติศาสตร์) แต่ไม่น่าเชื่อว่าเราเองกลับมีเทคโนโลยี่หล่อโลหะสำริดก่อนจีนเสียอีก

 

คนไตโบราณเล่นบั้งไฟเพื่อขอพรจาก ”พระมหาแถน” เพื่อทำนาให้ได้ผล ..หากใครได้เห็นตะไลทะยานสู่ฟากฟ้าแล้วจะทึ่งมากที่เทคโนโลยีโบราณนี้ที่ทำจรวดวิ่งได้เร็วปานจรวดนำวิถีสู่ดวงจันทร์ของลูกหลานมาร์โคโปโลที่พวกเรากำลังเห่อ ... มันพุ่งจากดินสู่กลีบเมฆได้ในพริบตา การขับเคลื่อนจรวดก็นับว่ายากมหันต์แล้ว ยังการทรงตัว(stability)อีกเล่า ..บางครั้งเกิดการระเบิดเสียก่อนขึ้น ก็มีนักข่าววิจารณ์เชิงลบสนั่น โดยหารู้ไม่ว่าจรวดนาซ่าที่สร้างมาอย่างแพงโดยปริญญาเอกวิศวกรรมจรวดหัวหงอกที่พวกเขาบูชาจำนวนเป็นกระบุง ก็ระเบิดก่อนปล่อยมานักต่อนักแล้ว เพราะมันทำยากมาก  ...แต่ของเราทำได้แบบชาวบ้านมานานนับพันปี ไม่เคยเรียนแคลคิวลัส เพราะมีพลังทางวัฒนธรรมเป็นตัวขับเคลื่อน แทนที่จะทึ่ง กลับดูถูก

 

จรวดที่น่าทึ่งที่สุดในโลก คือ “ตะไล”  ที่ตอนนี้นิยมใช้ส่งวิญญาณผู้ตายสู่สวรรค์และนับวันจะสูญหาย ผมเคยจัดงานประกวดตะไลที่ม. บ้านนอกของผม  เผอิญขณะนั้นพวกนักเรียน space institute  ทั่วโลกได้มาจัดวิชาหนีฤดูหนาวเรียนกันที่นี่พอดี ผมเลยไซโคให้พวกเขามาดูชมเพื่ออวดศักดิ์ศรีของคนไทย ปรากฎว่าไม่ผิดหวัง พวกนั้นซู๊ดปากกันด้วยความสนุก มาขอถ่ายรูปกับหมอตะไลของเราก็หลายคน และยังนำไปโฆษณาต่อ จนผู้บริหารสถาบัน Smithsonian อันยิ่งใหญ่ของเมริกาถึงกับเดินทางมาหาผมเพื่อขอดูตะไล ...ซึ่งท่านยอมรับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกับจรวดใดในโลกที่ได้ศึกษาไว้โดย Aerospace museum ของสถาบัน จึงขอให้ผมช่วยจัดหาให้จะได้เอาไปจัดแสดงไว้ที่นั่นด้วย

 

ผมมาสะท้อนคิดว่าพวกฝรั่งระดับสูงปานนั้นเขายังชื่นชม แต่คนไทยเราเสียเองนอกจากไม่เห็นคุณค่าแล้วยังดูถูกอีกต่างหาก  ในฐานะวิศวกรที่เคยทำงานด้านจรวดมาก่อน ผมทึ่งในอัจฉริยะของวิศวกรไทยโบราณนิรนามผู้ออกแบบตะไลมาก หากเอาไปอธิบายให้ rocket scientist ของ NASA  ฟังพวกเขาอาจหาว่ามนุษย์ต่างดาวมากออกแบบไว้ให้ก็เป็นได้ เหมือนกับที่พวกเขาเคยกล่าวหาว่า มนุษย์ต่างดาวออกแบบบูมเมอแรงให้กับชนพื้นเมืองของออสเตรเลียมาแล้ว เพราะดูถูกภูมิปัญญาว่าคงไม่ฉลาดได้ถึงเพียงนั้น (เพราะหากถึงเพียงนั้นก็นับว่าฉลาดกว่าพวกเขาชาวตะวันตกเสียอีกหลายเท่าด้วยซ้ำไป)

 

คนไทยเราเวลาเห็นใครฉลาดมากๆ จะให้สมญาว่า หัวหมอ หรือ หัวเสธฯ   ...ส่วนฝรั่งนั้นเวลาเห็นใครที่ฉลาดมากๆ เขาจะอุทานแบบให้เกียรติว่า “ฉลาดยังกะนักสร้างจรวดแน่ะ” (smart like a rocket scientist) ..แต่ไทยเรา ฉลาดปานนั้น จนสร้าง บั้งไฟ ตะไล ได้ กลับถูกพวกเมืองกรุงดูถูก (เช่นโลกเขาไปดวงจันทร์กันแล้วเรายังงมโข่งเล่นบั้งไฟกันอยู่เลย)

 

            ส่วนระหัดวิดน้ำพลังน้ำก็เช่นกัน นับเป็นเทคโนโลยีมหัศจรรย์ที่พบเห็นในประเทศอียิปต์โบราณและในประเทศไทย พบมากแถบสีคิ้ว ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา แว่วว่าแถวทางเหนือก็พบ เรียกว่า “หลุก”  ผมให้นักศึกษาแอบไปถ่ายรูปเกือบถูกชาวบ้านยิงเอาเพราะเขาคิดว่าเป็นพวกเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ที่จะให้พวกเขาเลิกใช้ระหัด โดยอ้างว่ากีดขวางการไหลของน้ำ แสดงว่าวิศวกรไทยโบราณนิรนามเข้าใจแรงอันเนื่องจากกลศาสตร์ของไหลเป็นอย่างดีมาก จึงสามารถออกแบบเพื่อใช้พลังจากการไหลของน้ำเป็นต้นกำลังในการขับกังหันเพื่อตักน้ำเข้าสู่ไร่นา

 

กังหันลมในเมืองไทยเรานั้น หมอบรัดเลย์ ได้บันทึกไว้แต่สมัย ร5 (ส่วนของเราไม่มีบันทึกเลย) สมัยพศ. 2510 ผมอายุได้ 12 ปี ได้นั่งรถไฟมากรุงเทพ จากชายแดนเขมร ได้เห็นกังหันลมริมนานับหมื่นตัว แถวปราจีน ต่อแปดริ้ว วันนี้ผมมาวิเคราะห์ด้วยหลักการวิศว แทบบ้าที่พบว่าคนไทยเราน่าจะเป็นชาติแรกในโลก ที่คิดค้นปีกเครื่องบิน ได้ก่อนสองพี่น้องตระกูลไรท์แห่ง usa ตั้งเกือบร้อยปี

 

เราไปนิยมเนเธอร์แลนด์เป็นหนักหนาว่าเป็นดินแดนกังหันลม ทั้งที่กังหันลมพวกเขามันเป็นแบบใช้แรง drag พื้นๆ ในการหมุน ส่วนของเราใช้แรง lift อันสูงส่งในการหมุนมาแต่สมัยร 5 แต่ไม่มีใครเห็นว่าเก่ง เพราะการสร้างแรงยก (lift) ของปีกใบกังหันลมไทยโบราณนั้นเป็นหลักการเดียวกันกับการสร้าง lift บนปีกเครื่องบิน!!

 

จนวันนี้ผมได้ไปเสาะหากังหันลมดั้งเดิมตัวสุดท้ายมาติดตัวไว้ให้ดูชมกันที่นี่ ...ดอกกระเจียวฮอลแลนด์ก็เห่อกันเหลือหลาย ส่วนดอกกระเจียวไทยนอกจากสวยกว่าแล้ว ยังจิ้มน้ำพริก ปลาร้า กินได้อย่างหอมอร่อยและอาจมีคุณค่าอีกด้วย (ประการหลังนี้คงต้องรอให้นักวิจัยฝรั่งมาบอก..กว่าเราจะเชื่อและนิยม)  แต่อย่างมากก็คงเป็นได้เพียงแค่ดอกไม้ริมทางบ้านนอก ที่ไม่บังอาจเข้าไปยืนริมรั้วรัฐสภาได้ดอก

 

            น่าสังเกตว่าบรรพชนไทยมีความฉลาดล้ำลึกปานนั้น แต่ทำไมประเทศไทยไม่เจริญเท่าที่ควร ผมฟันธงเลยว่า สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเพราะเราไม่ภาคภูมิใจในอดีตของความเป็นเราอย่างเพียงพอ ถึงระดับที่จะเกิดเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมเราได้แรงพอ พิพิธภัณฑ์น้อยๆที่ผมได้สร้างขึ้นนี้อาจพอช่วยได้บ้างกระมัง 

 

พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผมได้ทำการวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆและระบุให้เห็นถึงประเด็นทางเทคโนโลยีที่คนไทยโบราณได้คิดค้นไว้ด้วย

 

๘ ปีผ่านไป...วันนี้ มค. ๕๔  พอภูมิใจได้ว่าเราได้สร้างพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีไทยโบราณที่ใหญ่ที่สุด และมีอุปกรณ์จัดแสดงหลากหลายที่สุด หาดูได้ยากที่สุดในประเทศไทยสะสมไว้ประมาณห้าพันชิ้น

 

...คนถางทาง (๙ กย. .๕๔)

 

เรื่องเฟืองเกียร์ลืมเล่าไปได้ ยาวแล้ว เอาไว้วันหลังแล้วกันครับ

             

หมายเลขบันทึก: 459516เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Give me an inch and I will want a foot ;-)

Would/could you add pictures for those who have never seen Thai ingenious devices before?

ผมได้จ้างพนักงานให้มาทำ website เพื่อที่เราจะได้มี virtual museum ทำมาสามปีแล้วยังไม่เสร็จสักกะที อิอิ

Thank you for this information.

But forgive me, 3 years to set up a website!

I understand "perfection" as "aspiration" but not as an expected (first) "outcome".

Development cycles (build, test and change and keep on changing) is a "common" approach.

Perhaps, GotoKnow and UsableLabs people can help.

Perhaps, 'early runs on the board' can help fitting the website to users and information 'providers'.

Perhaps, we are too slow to show off our best!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท