พัฒนาการจังหวัดลพบุรีแถลงข่าวยกระดับคุณภาพชีวิตของคนชนบท


พัฒนาการจังหวัดลพบุรี

นางแววตา นาคแก้ว พัฒนาการจังหวัดลพบุรี กล่าวถึงการดำเนินการจักเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)ซึ่งเป็นข้อมูลในระดับครัวเรือน ของคนชนบทในจังหวัดลพบุรีที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือน ครอบครัว เกี่ยวกับสภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า อยู่ในระดับใด คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ มีมีปัญหาอะไรที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน/ชุมชนซึ่ง เป็นข้อมูลพื้นบานระดับหมู่บ้าน/ชุมชนที่ทำให้รู้ถึงสภาพปัญหาของหมู่บ้าน ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ตำบล ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือกลุ่ม/องค์กรประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จังหวัดลพบุรีได้มีคณะทำงานการบริหารจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท ทั้งระดับจังหวัด/อำเภอ ดำเนินการบริหารการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบทโดยเริ่มจัดเก็บเมื่อเดือน มกราคม ๒๕๕๔ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล ฯ จำนวน๑.๑๐๑หมู่บ้าน ๑๑๙ ตำบล๑๑ อำเภอ ๑๑๙,๓๔๗ ครัวเรือน ประชากร ๔๑๑,๗๕๓ คน และได้รับงบประมาณด้านการบันทึกข้อมูลจาก กรมการพัฒนาชุมชน เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี ให้การสนับสนุน การจัดเก็บข้อมูล และบันทึกข้อมูลฯ จังหวัดลพบุรี และในขณะนี้ประมวลผลเป็นภาพรวมของจังหวัดเสร็จเรียบร้อย เมื่อเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๔ คุณภาพชีวิตของคนชนบท ในจังหวัดลพบุรี จากเกณฑ์ชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน ๔๒ ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ ๒๑ ตัวชี้วัด มาผ่านเกณฑ์ ๒๑ ตัวชี้วัด ครัวเรือนมีรายได้ เฉลี่ย ๖๘,๗๖๓ บาท ต่อคนต่อปี ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์๒๓,๐๐๐ บาท/คน/ปี จำนวน ๓๑๕ ครัวเรือน และรายงานหมู่บ้านตามลำดับการพัฒนาจำนวน๑,๑๐๑ มีจำนวนหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ ๑ (ล้าหลัง) ไม่มี,จำนวนหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ๒(ปานกลาง)จำนวน๑๑๕หมู่บ้าน และจำนวนหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ ๓ (ก้าวหน้า) จำนวน๙๘๖ หมู่บ้านข้อมูลฯ ในการคัดเลือกโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนข้อมูลการพัฒนาชนบทเป็นรากฐานของการวางแผนการพัฒนา และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนา ตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ พัฒนาการจังหวัดลพบุรีกล่าวอีกว่า ปีนี้ จังหวัดได้จัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์ข้อมูลดังกล่าวของจังหวัดเพื่อเผยแพร่ อีกทั้ง การจัดทำแผนงานโครงการของของทุกหน่วยราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องนำผลการจัดเก็บข้อมูลมาแปลงเป็นโครงการเพื่อลดปัญหาประชาชนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ให้ผ่านเกณฑ์เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชนบทอย่างทั่วถึง และใช้เป็นกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อได้มีการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท ได้ผ่านเกณฑ์ชี้วัดทุกตัวในโอกาสต่อไป ...............................................................................................................................

คำสำคัญ (Tags): #ลพบุรี
หมายเลขบันทึก: 459407เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท