นวัตกรรมโรคไต


โรคไต

หมออนามัย นวัตกรรม อาการโรคไต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

(นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ) 083 - 6878607

 

ปัญหา/สาเหตุ

             โรคไต  หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือเรียกว่า พยาธิสภาพเกิดที่บริเวณไต ที่พบมากได้แก่  โรคไตวายเฉียบพลัน จากสาเหตุต่างๆ โรคไตวายเรื้อรัง เกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง  โรคไตอักเสบ เนเฟติก โรคไตอักเสบ จากภาวะภูมิคุ้มกันอักเสบ (โรค เอส แอล อี) โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidnoy Disease)

สาเหตุ

  1. เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โดยไตเป็นถุงน้ำ ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ เป็นต้น
  2. เกิดจาการอักเสบ (Inflammation) เช่นกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ
  3. เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เป็นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ(จากเชื้อโรค) เป็นต้น
  4. เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดทับท่อไต
  5. เนื้องอกของไต ซึ่งมีหลายชนิด

                ทุกท่านอย่าลืมดูแลตัวเองครับ

อาการ                                                                                                                                                     

  1. ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาดเป็นเลือดสด เลือดเป็นลิ่มๆ
  2. ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีแดงแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
  3. ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆเหมือนฟองสบู่(การมีปัสสาวะปนเลือดพร้อมกับมีไข่ขาวโปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสันนิษฐานที่มีน้ำหนักมากกว่าจะเป็นโรคไต)
  4. ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมีเม็ดเลือดแดง(ปัสสาวะเป็นเลือด)เม็ดเลือดขาว(มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย(เพราะว่ามีการติดเชื้อ)หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกมาจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี
  5. การผิดปกติการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
  6. การปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือการมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต แลทางเดินปัสสาวะ
  7. การมีก้อนบริเวณไต หรือบั้นเอวทั้งสองข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำ การอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
  8. ปวดหลัง ในกรณีที่กรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้ หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือบริเวณสันหลังใต้ซีกโครงซีกสุดท้าย
  9. อาการบวม โดยเฉพาะบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบบ่อย โรคไตอักเสบชนิด เนฟโฟนติด ซินโดรม
  10. ความดันโลหิตสูง  เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรงหรือในระยะไตวาย มากๆ ความดันโลหิตก็จะสูงได้
  11. ซีดหรือโลหิตจาง ซึ่งเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคโลหิตจาง แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตคือ โรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธโปอีตีน(Erythropoetin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างอีริโธโปอีตีน(Erythropoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด และโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย หน้ามืดเป็นลมบ่อยๆ

 

     อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด จึงจะพอบอกได้แน่นอน ว่าเป็นโรคไตหรือไม่

 

วิธีการรักษา อาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลัก ด้วยกันคือ

  1. การตรวจค้นหาและการวินิจฉัยโรคไตที่เหมาะสม การตรวจค้นหาวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องได้ในระยะต้นๆของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษาดีกว่าการวินิจฉัยล่าช้า
  2. การเกิดที่สาเหตุของโรคไต เช่นการรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษของไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบ แต่ละชนิดเป็นต้น
  3. การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไต แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไต แล้วแต่ผู้ป่วย จำนวนมากมีการทำงานของไต ที่เสื่อมลงกว่าปกติ เพราะเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไป ไตส่วนที่ดี ซึ่งเหลืออยู่ จะต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้ไตเสื่อมการทำงานขึ้นตามระยะเวลาและมักเกิดไตวายมาที่สุด ดังนั้นการชะลอความเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะสม กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่การชียาเพื่อปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี
  4. การรักษาทดแทนการทำงานของไต (การล้างไตและการผ่าตัดผูกถ่ายไต) เมื่อไตวายมากขึ้น จนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการผ่าตัดผูกถ่ายไต

 

อาการที่ทำให้ไตผิดปกติ

  1. โพแทสเซียม หากไตขับโพแทสเซียมน้อยเกินไป  จึงทำให้โพแทสเซียม คั่งในเลือด ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อล้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ดังนั้นผู้โรคไตจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับโพแทสเซียมในร่างกายให้อยู่ระดับสมดุล เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยงดผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่นหัวปลี มันเทศ เห็ดฟาง มะเขือพวง ผักชี หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง หอมแดง ดอกกระหล่ำ ทุเรียน กล้วย มะระกอสุก กระท้อน ผลไม้แห้ง ลูกเกด ลูกพรุน เป็นต้น และรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยเช่น เห็ดหูหนู บวบ ถั่วพู ฟักเขียว ถั่วฝักยาว หอมหัวใหญ่ แตงโม สับปะรด ชมพู่ เป็นต้น
  2. โซเดียมคลอไรค์  การกินอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป ยิ่งทำให้ไตทำงานหนักจนเกิดอาการบวมน้ำ ปัสสาวะบ่อย เพราะร่างการต้องขับโซเดียมคลอไรค์อยู่ตลอด หลีกเลี่ยงหรือรับประทานอาหารให้น้อยลง คือ เกลือ น้ำปลา น้ำบูดู ซอสปรุงรส ซี่อิ้ว ซุบก้อน กะปิ อาหารตากแห้ง ไข่เค็ม กุ้งแห้ง เนยแข็ง หลีกเลี่ยงการเติมผงชูรสในอาหาร ผักและผลไม่ที่ดองเค็ม
  3. ฟอสฟอรัส แหล่งอาหารที่ให้ฟอสฟอรัสสูง และผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ผลิตภัณฑ์จาก นม เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต ไอศกรีม เนื้อสัตว์ติดกระดูก ไข่แดง ช็อคโกเล็ต กาแฟ เบียร์ น้ำอัดลม
  4. โปรตีน งดอาหารที่มีโปรตีนสูง เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ นม
หมายเลขบันทึก: 459338เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท