ฤาถังขยะจะเป็นตัวชี้วัด การจัดการขยะด้วยตัวเองในเทศบาล


เราขอเป็นชุมชนจัดการตนเองในเรื่องขยะ

          

          ไปถึงเทศบาลกงหรา  เป็นอาคารสร้างใหม่ ปรับถนนทางเข้าไปยังเทศบาลใหม่อยู่ จอดมอเตอร์ไซค์คู่ชีพ  รีบเดินเข้าห้องประชุม พบแกนนำในการจัดเวทีวันนี้  หลายคน ที่เป็น  อสม.เคยขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพคนเมืองลุงมาด้วยกัน

 

         โสถณเข้ามาทัก แนะนำให้รู้จักกับ หน.พัฒนาการจังหวัด นายสุเมธ บุญยก คุณ สุมาลี ศรีจันทร์งาม พัฒนากร อำเภอกงหรา  ฟังคุณพัชรา  ชูเชื้อ เจ้าหน้าที่พัฒนากรที่เป็นพิธีกร บอกกำหนดการและป้ายงานชื่อ"โครงการ พัฒนาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม"

         ผู้เขียนเตรียมเอกสารเรื่องสิ่งแวดล้อมและภาพประกอบที่ได้ไปช่วย พี่น้องกระบี่ที่เขาพนมดินถล่มบ้านพัง กับน้องตุ๊กตาและหมอเจ้กระบี่ แห่งGotoKnow

       เลยคิดว่า เทศบาลกงหรามีพื้นที่ติดเขาบรรทัด จึงคิดเอาว่าน่าจะชวนคุยเรื่องภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม  แต่ฟังจากรองนายกเทศมนตรีกงหราที่มาเปิดงาน ก็รู้ว่างานวันนี้ต้องคุยกันเรื่องขยะเป็นหลัก  ชาวบ้านเรียกร้องต้องการถังขยะ และการจัดตั้งธนาคารขยะ  ในขณะที่ทางเทศบาลยังไม่ได้ตั้งงบประมาณซื้อรถขนขยะ

        แล้วทางคุณ สุเมธ  ก็มาบรรยายให้ฟังถึงเรื่องขยะ  ชนิดและประเภทของขยะ สรุปให้เห็นว่าสิ่งเป็นขยะจริงๆที่ต้องจัดการมี 2 ชนิด คือขยะพิษและขยะติดเชื้อ ที่ต้องจัดการให้ถูกต้องตามวิธีการชาวบ้านจะไปจัดการเองไม่ได้ อันตราย เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน แล้วยังชี้ให้เห็นว่า ของเหลือใช้ไม่ใช่ ขยะ  หากคิดว่าของเหลือใช้เป็นขยะ  จะพาดพิงไปถึงภรรยาว่าเป็นขยะเหมือนกัน ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พัฒนากรจังหวัด พัทลุงคุณสุเมธ บุญก

          หลังจากที่ผู้นำ ศอช.พัทลุง นายโสภณ  สงวนแก้ว   มาบอกกล่าวเล่าเรื่องความเป็นมา ของศอช.ให้ฟังแล้ว ก็ยกเวทีให้ผูเขียน ชวนคุยเรื่องขยะของเทศบาลกงหรา ฮ่าๆๆๆๆๆวิทยากรจะตกม้าตายเพราะเตรียมเรื่องคุยไม่ตรงประเด็น  

          ประเมินผู้เข้าฟังในวันนี้ มีนักเรียนประถม ครู ประธานสภาองค์กรชุมชน เครือข่าย อสม.และนักการเมืองท้องถิ่น....."การซื้อขายครั้งนี้ตึงมือยิ่งนัก"    สำนวนหนังจีน

ผู้นำ อช.พัทลุง โสภณ สงวนแก้ว

       การคุยกับผู้ฟังที่คละอายุ คละกลุ่ม ยากที่จะทำให้คนในเวทีเป็นพวกเดียวกัน ยิงมุกปลุกเตรียมความพร้อมไปสองมุก  ก็ยังปลุกไม่ขึ้น จึงงัดนิทานมาเล่าให้ชวนคิดในการหาทางออกด้วยตนเองให้สมประโยชน์แก่ทุกฝ่ายว่า  

        "มีชายคนหนึ่งขับรถมาพบเหตุการณ์ตรงหน้า ทีต้องตัดสินในการช่วยเหลือคือ

 1   มาพบคนรักที่ไม่ได้พบกันมา 3 ปี

2  พบคนเจ็บที่ต้องโรงพยาบาลโดยด่วนหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออาจเสียวิต

3 พบคุณหมอที่เคยผ่าตัดช่วยชีวิตเขาไว้ ......*

       แล้วโยนคำถามไปในวง  ว่าหากท่านเป็นชายคนนั้นจะเลือกช่วยใคร ในขณะที่มีข้อจำกัด คือรถยนต์ที่เขานั่งมาสารถให้ผู้โดยสารนั่งคนเดียว ดังนั้นเขาจะช่วยคนที่พบในขณะนี้ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น  ทุกคำตอบมีคำถูก  แต่ทางออกมีคำตอบที่ถูกที่สุดสมประโยชน์ทุกคนอยู่  ให้เวลาคิด 5 นาที  (ผู้เขียนก็ได้หยุดคิดในการชวนคุยเรื่องขยะ)

         

           แล้วคำตอบที่ได้คือ

เด็กนักเรียนตอบว่า ..ชวนคนรักขึ้นรถไปหาที่ชอบๆ

ส่วนผู้ใหญ่บอกว่าต้องช่วยคนเจ็บ

และหลายคนบอกว่าต้องช่วยหมอ...

  

        ผู้เขียนจึงอธิบายความให้เห็นว่าทุกคำตอบเป็นคำตอบที่ถูกต้องตามหลักการ ช่วยคนรักใช้หลักเชิดชูบูชารัก  ช่วยคนเจ็บใช้หลักมนุษยธรรม  ช่วยหมอก็ใช้หลัก กตัญญูรู้คุณตอบแทนคุณ ดังนั้นทุกการกระทำถูกหมด แต่ต้องคิดต่อภายใต้ข้อจำกัด ทำอย่างไรที่ให้สมประโยชน์ทุกฝ่ายภายใต้โจทย์ที่ข้อมีจำกัด และหน้าที่ จึงได้เฉลยไปว่า คนที่มีความรักก็ทำหน้าที่ของความรักชายหนุ่มจึงเลือกอยู่กับคนรัก ให้หมอซึ่งมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ขับรถไปส่งผู้คนเจ็บที่โรงพยาบาล ทุกคนสมประโยชน์.......

       ถึงตอนนี้เวทีเริ่มเป็นกันเองมีการฟังและคิดตาม นักเรียนก็มีสมาธิมากขึ้น  ผู้เขียนจึงเล่าเรื่องไกล้ตัวยกตัวอย่างการจัดการขยะของเทศบาลปากพะยูนมาให้ฟังว่า....

       เทศบาลปากพะยูนเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีตลาดนัดวันเสาร์ มีสินค้ามาทั้งทางบกและทางน้ำ มีขยะจากจากภายนอกมาก ต้องมีค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ วันละประมาณสามตัน รวมความแล้วมีตัวเลขในการจัดการขยะ ปีละล้านกว่าบาท  ที่ยังไม่รวมการทำเวที สร้างความเข้าใจ ให้ทุกคนเห็นว่า ขยะเป็นของตนเอง ทุกคนสามารจัดการกับขยะของตนเองได้ ปีละหลายแสนบาทที่ต้องสร้างต้องปลูกจิตสำนึก ซึ่งก็ยังปลูกไม่ติด เพราะอะไรก็ตามที่สะดวกและคุ้นชินในการคิดว่าเป็นหน้าที่ของคนอื่น  ก็จะอยากที่จะทำให้เขาคิดไปจัดการขยะของเอง......

      แต่ที่กงหรา มีจุดดีจุดเด่นที่ไม่ไมีถังขยะหน้าบ้าน ไม่มีรถขนขยะที่ส่งกลิ่นวิ่งผ่านหน้าบ้าน  ไม่ต้องเสีย  งบประมาณ ในการซื้อรถ ในการรณรงค์ปลูกจิตรสำนึก  เพียงทุกคนคิดว่าขยะเป็นของตนเองชุมชนจะจัดการขยะเอง  งบประที่ทางเทศบาลเป็นล้านทีจะจัดขยะให้ชุมชนมาจัดการ  ก็จะเป็นเทศบาลแรกที่ชุมชนขอจัดการตนเองเรื่องขยะแล้วผู้เขียนก็ โยนคำถามไปว่าอย่างนี้แล้วพวกท่านยังต้องถังขยะไปวางหน้าบ้านอยู่หรือไม่.......

 

     ก็ได้คำตอบไม่   พวกเราขอจัดการตนเอง 

*นิทานเรื่องเรื่องนี้ได้ฟังมาจาก อาจารย์ ประสาน มฤคพิทักษ์ ประมาณสิบปีมาแล้ว

คุณ พัชรา ชูเชื้อ จนท พัฒนาการอ.กงหรา

ขนมหยิบ ขนมอร่อยจากเทศบาลเขาหัวช้าง ตะโหมด

หมายเลขบันทึก: 459242เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มาอ่านเรื่องเล่าเร้าพลังก่อนทำงานเช้านี้ค่ะ

ภาพสุดท้าย ขนมหยิบเหรอคะ  น่าตาแปลกๆ อร่อยมากมั้ยคะ ^_^

  • บังครับมาเชียร์
  • แต่เพิ่งเคยเห็นขนมหยิบ
  • ไม่รู้ว่าแต่ละท้องที่ภาคใต้เรียกต่างกันไหม
  • ทางกะพ้อ ยังไม่ได้ติดต่อมาเลยครับ

น่าสนใจมากคะ บัง แต่ละบ้านเขาจัดการอย่างไร

กงหรา มีจุดดีจุดเด่นที่ไม่ไมีถังขยะหน้าบ้าน ไม่มีรถขนขยะที่ส่งกลิ่นวิ่งผ่านหน้าบ้าน

ผู้เฒ่า งงอีกแล้วน้องมะปราง ภาพก็หายหมด

กล่องแสดงความเห็นก็เปลี่ยนไป

ก็ต้องลองเรียนรู้กันใหม่ในความเปลี่ยนแปลง

สวัสดีครับคุณ ชาตา กลับมาตอนเย็นไม่เห็นมีภาพ คงต้องอัพภาพขึ้นใหม่ หรือไม่ต้องให้ภาพกลับคืนมา

ขนทหบิบ คนหยิบแป้งมีศิลปในการหยอดแป้ง

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ขจิต

ขนมหยิบ มีกรรมวิธีละลายแป้ง และการกหยิบที่มีศิลป จะได้ขนมที่มีรูปแปลกๆออกมาให้เห็น

บ้านเขาหัวช้างเป็นเจ้าตำหรับ

สลามครับท่าน คิดถึงเช่นเดิมนะครับ

  • สวัสดีค่ะท่านวอญ่า
  • มีหลายมุก ในการดึงความสนใจ..อ่านไปยิ้มไป กับกลวิธีที่แยบยล...
  • ขอบคุณมากค่ะ วอญ่าสบายดีนะคะ

สวัสดีครับหมอ

เรื่องขยะเป็นปัญหาทุกเทศบาลเพราะ ชาวบ้านมีความคิดผลิตขยะให้เทศบาล

เรื่องที่จะให้กลับไปคิดไปทำว่าขยะต้องจัดการเองนั้นอยากเอาการอยู่ เพราะเคยกับความสะดวก

สวัสดีคะป๊ะ..วอญ่า...

ขนมเหมือนรากไม้เลยคะ....สนใจวิธีการจัดการขยะ...ค่ะ...

ขอบคุณคะป๊ะ...:)

สลมามัตอิดิลฟิตรี่ครับท่านเบ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

"ตะกอบบัลลอฮ มินนา วะมิงกุม"

สวัสดีครับอาจารย์ กาญจนา

ผิดเป้าหมายในสิ่งที่เตรียม บางที่ก็เหงื่อตกเหมือนกัน

ยิ่งหมายมั่นว่าเราจะพาเวทีเขาไปรอด

ต้องงัดมุกมาปลุกปล้ำให้คนพร้อมที่จะฟังและคิดตาม

นั้นแหละจึงจะนำฝูงชนได้

มาเร็วดีแท้ รับเข้าอิสลามเป็นลูก ป๊ะก็มาเยี่ยมทันที

มีเรื่องคุยกันที่ มข. รอพบกันที่นั้น ลูกเทียน

ชอบกระบวนการนำคิดของวอญ่า ครับ ผลออกมาดีจัง เห็นด้วยว่า ถ้ายังมีถังขยะหน้าบ้าน แปลว่าเรายังมีขยะ จึงไม่ใช่วิธีการจัดการขยะที่ดี ตัวชี้วัดของการจัดการขยะ คือการไม่มีถังขยะหน้าบ้าน เพราะหมายถึงไม่มีขยะ... อันนี้ เรียกว่าเทคนิค "การคิดแบบด้านข้าง" ครับ คิดแบบนอกกรอบ หรือคิดแบบ "กางหลาง" นั่นเอง ถัดจากนี้ น่าจะมีกิจกรรม รีไซเคิลขยะในชุมชนนะครับ หาทางนำขยะไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดครับ ลดโลกร้อนด้วย

ฟังจากปาก สนุกมาก เลยอยากเข้ามาอ่านอีก > \/ <

สวัสดีหลานสาวครูบ้านบางวัน

คนขยัน งานในหน้าที่ นอกหน้าที่

และที่อยู่ตรงหน้าไม่รอช้าทำทันที

ผอ.คนดีไว้ใจมอบหมายงาน

แสนยินดีปรีดาและปราโมทย์

มีหลานสาวคนโปรดมาสืบสาน

งานอาสาเพื่อผู้อื่นทำมานาน

กับรางวัล"คนดีศรีบางวัน" การันตี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท