1. ส่วน “ หัวปลา ”
(Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์
หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา ” นี้จะต้องเป็นของ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM
ทั้งหมด โดยมี ผู้ที่ ช่วยเหลือ
2. ส่วน “ ตัวปลา ” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง ผู้ช่วยเหลือ จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้น
ให้ผู้ดำเนินการกิจกรรม KM มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มี
อยู่ในตัวผู้ดำเนินการกิจกรรม KM พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็น
ทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
3. ส่วน “ หางปลา ” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ
“ คลังความรู้ ” หรือ “ ขุมความรู้ ” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้ ”
ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา ” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา ”
นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด
นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Oº°‘¨ NëkOmïcOn ¨‘°ºO ใน ヾ(☆ォ・ω・)ゞ──+。'*.゚:。Wёιсοмё to ima +。'*.゚:。──ヾ(・ω・`★)ゞ