ตะวันออกกลาง : ปัญหาอิสราเอล – ปาเลสไตน์ (สงครามยิว – อาหรับ 4 ครั้ง)


ปัญหาอิสราเอล – ปาเลสไตน์มีมาอย่างยาวนานมีสาเหตุที่สำคัญคือ

            1.   ความเชื่อดั่งเดิมของชาวยิว

              ชาวยิวเชื่อว่า ดินแดนคานาอัน หรือ ปาเลสไตน์ เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาที่พระเจ้าประธานให้แก่ชาวยิวตาม คำภีร์พันธสัญญาเดิม ชาวยิวเมื่อครั้งก่อนได้กระจัดพัดพรายไปตามดินแดนต่าง ๆ ทั่วยุโรป เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ชาวยิวถูกกวาดต้อนเข้าไปเป็นทาสในอียิปต์ เดินทางไปค้าขายในยุโรปและตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศนั้น ๆ การเป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านค้าขาย การเงิน การคลัง ทำให้ชาวยิวเป็นเจ้าหนี้ในหลาย ๆ ประเทศ แม้กระทั้งกษัตริย์เช่นสเปน ยิวได้เก็บดอกเบี้ยราคาแพง เอาเปรียบลูกหนี้มากมาย เมื่อลูกหนี้ไม่มีเงินใช้จึงเกิดการขับไล้กวาดล้างชาวยิวในที่ต่าง ๆ ผนวกกับการที่ประเทศลูกหนี้นับถือศาสนาคริสต์ทำให้ยิวถูกต่อต้านเช่นในสเปน โปรตุเกส เป็นต้น ยิวบางกลุ่มยอมเปลี่ยนศาสนาเพื่อความอยู่รอด บางกลุ่มที่เคร่งครัดได้หลบหนีไปยังประเทศต่าง ๆ และเหตุการณ์ที่สำคัญคือ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นของอังกฤษ มีชาวอาหรับเข้ามาอาศัยอยู่มาก (อพยพเข้ามาภายหลัง) ชาวยิวในยุโรปได้หลบหนีสงครามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กลับมาในดินแดนแห่งนี้ อันเนื่องมาจากความเชื่อเดิมตามพันธสัญญาของพระเจ้า และต้องการพึ่งใบบุญอังกฤษ สร้างความไม่พอใจให้กับชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ เกิดการปะทะกันบ่อยครั้ง อังกฤษไม่สามารถควบคุมได้

            2.  การจัดตั้งรัฐยิว

              เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษมอบปาเลสไตน์ให้กับองค์การสหประชาชาติดูแล องค์การสหประชาติ (อเมริกาซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่) มีมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็น 2 รัฐ คือ รัฐยิวและรัฐอาหรับ ส่วนนครศักดิ์สิทธิ์เยลูซาเลมให้อยู่ในภาวะทรัสตี

              ฝ่ายยิวยอมรับมติดังกล่าว แต่ฝ่ายอาหรับไม่ยอมรับเพราะเห็นว่าสหประชาชาติตัดสินไม่ยุติธรรม โดยให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ว่า พวกตนเคยทำสงครามเพื่อดินแดนของพระมูฮัมหมัดนี้ในศตวรรษที่ 7 จึงอ้างสิทธิในการครอบครองดินแดน ส่วนฝ่ายยิวอ้างว่า ตนเคยครองครองดินแดนแห่งนี้ในสมัยกษัตริย์เดวิท (ผู้รวบรวมชนชาติยิวตามคัมภีร์เดิม)  จึงมีสิทธิในการครอบครองดินแดน ความขัดแย้งที่กล่าวมากลายเป็นชนวนสงครามที่ยาวนานนับครั้งใหญ่ได้  4 ครั้ง และครั้งย่อย ๆ อีกมากมายสืบมาจนถึงปัจจุบัน  

              สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดความขัอแย้งขั้นรุนแรงคือ การก่อตั้งรัฐยิวนั่นเอง

 

สงครามยิวอาหรับ 

           สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 1 ปี 1948 

               วันที่ 14 พ.ย. 1948 ยิวประกาศความเป็นชาติโดยจัดตั้งรัฐอิสราเอล สร้างความไม่พอใจให้กับชาวอาหรับ อีก 2 วัน ต่อมา กองทัพอาหรับ 6 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ (ผู้นำ) ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิรักและซาอุดิอารเบียเข้าโจมตีอิสราเอล สงครามครั้งนี้อิสราเอลเป็นฝ่ายชนะ ยึดดินแดนได้มากกว่าที่สหประชาชาติให้ และถือว่าเป็นสงครามเพื่ออิสรภาพของชาวยิว แต่ฝ่ายอาหรับสามารถยึดกรุงเยรูซาเลมฝั่งตะวันตกและเขตเวสแบงค์ได้

         

          สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 2 ปี 1956 

              อิสราเอลเป็นฝ่ายโจมตีอียิปต์  เพราะอียิปต์ได้เสริมกำลังเพื่อล้มล้างอิสราเอลอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังยึดคลองสุเอชแต่เพียงผู้เดียว สงครามครั้งนี้อังกฤษและฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงเพราะไม่พอใจที่อียิปต์ยึดครองคลองสุเอส และยังสร้างความวุ่นวายต่อไปอีกคือ รัสเซียยื่นคำขาดต้องการให้อังกฤษกับฝรั่งเศสถอนตัว ซึ่งเอมริกาเห็นด้วยกับรัสเซีย เรียกสงครามครั้งนี้ว่า “วิกฤตการณ์คลองสุเอส” ผลคือ อิสราเอล อังกฤษ ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากดินแดนอียิปต์ อิสราเอลได้ผลประโยชน์คือ สิทธิในการใช้น่านน้ำอากาบาตังเดิม และได้รับความคุ้มครองในฉนวนกาซ่าจากกองกำลังสหประชาชาติ

         

          สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 3 ปี 1967 

              อียิปต์ปิดอ่าวอากาบา ห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน สร้างความเสียหายให้กับเศราฐกิจอิสราเอล อียิปต์ร้องให้กองกำลังสหประชาติถอนกำลังจากฉนวนกาซ่าและพรมแดนระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล เมื่อกองกำลังสหประชาชาติถอนตัว กองทัพอียิปต์เคลื่อนพลเข้ามาแทนที่เข้ายึดฉนวนกาซา สงครามจึงเกิดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 1967   สงคราม กินเวลาเพียง 6 วัน ครั้งนี้อิสราเอลยึดดินแดนอาหรับได้มากมาย เช่น ฉนวนกาซา คาบสมุทรไซนาย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนหรือเขตเวสต์แบงก์ ทั้งหมด และยึดเยรูซาเลมกลับมาได้ อีกทั้งยังยึดที่ราบสูงโกลานของซีเรียได้อีกด้วย ทำให้ดินแดนของอิสราเอลขยายตัวออกไปถึง 4 เท่า นับว่าเป็นความสูญเสียมากที่สุดของชาติอาหรับ เรียกสงครามครั้งนี้ว่า “สงคราม 6 วัน”


          สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 4 ปี 1973 

              ฝ่ายอาหรับเริ่มบุกใน “วันยมคิปเปอร์” ซึ่งเป็นวันหยุดงานของชาวยิว ฝ่ายอาหรับนำโดยอียิปต์รุกข้ามคลองสุเอซ ขณะที่ซีเรียบุกทางเหนือ การบุกอย่างราวเร็วแบบศึกกสองด้านนี้เพราะ การได้เปรียบบนโต๊ะประชุมที่มีการเจรจากันก่อนหน้านี้, กลัวอิสราเอลจะเริ่มสงครามก่อนเพราะต้องแก้แค้นที่ถูกโจมตีครั้งใหญ่ถึง 3 ครั้ง, ต้องการได้ดินแดนที่เสียไปคืนมาอย่างรวดเร็ว, ชาติอาหรับต้องการล้างอายในสงครามครั้งที่ผ่าน ๆ มา  ในครั้งแรกอิสราเอลเป็นฝ่ายถอย แต่ก็สามารถตีโต้อาหรับกลับไปทั้งสองด้าน และยังสามารถยึดฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซไว้ได้อีก

              สงครามครั้งนี้เกิดความวุ่นวายไปทั่วโลก อเมริกาเข้าช่วยฝ่ายอิสราเอล รัสเซียเข้าช่วยอาหรับ อาหรับใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรอง เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันไปทั่วโลก การปะทะกันเป็นไปอย่างรุนแรงจนจะกลายเป็นสงครามนิวเคียร์ สหประชาติส่งทหารเข้ามาระงับเหตุ ทั้งสองฝ่ายจึงลงนามหยุดยิง

 

ผลกระทบของสงครามที่มีผลต่อนาน ๆ ประเทศ 

             -  ความเสียหายทางเศรษฐกิจ สงครามทั้ง 4 ครั้งทำลายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก ผู้คนขาดที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจของอิสราเอลและอียิปต์ตกต่ำ โดยเฉพาะอียิปต์สูญเสียรายได้จากการเก็บค่าผ่านคลองสุเอส และต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในการซ่อมแซมคลองสุเอส

            -  ความแตกแยกภายในกลุ่มประเทศอาหรับ เมื่อสงครามสงบลง อียิปต์ทำตามข้อตกลงที่แคมป์เดวิด กลุ่มประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรกับอียิปต์ มองว่าอียิปต์เป็นผู้ทรยศ จนนำไปสู้การลอบสังหารประธานาธิบดีซาดัสของอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1982 กลุ่มประเทศอาหรับเกิดการแตกแยก ไม่ยอมทำตามผู้นำโลกอาหรับเช่นอียิต์เหมือนเช่นเคย

            -   เพิ่มการเป็นศตรุและความเกลียดชังให้กับชาวยิวและชาวอาหรับ การที่ชาวยิวยึดดินแดนของชาวอาหรับได้จำนวนมากถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

            -  ผู้คนทั้งชาวยิวชาวอาหรับบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมหาศาล ผู้คนจำนวนมากขาดแคลนที่อยู่อาศัย ทำให้เป็นภาระของนา ๆ ประเทศโดยเฉพาะองค์กรสหประชาติเข้ามาช่วยเหลือ

            -  เนื่องจากเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน จึงมีผลโดยตรงวต่อการผลิตน้ำมันและราคาน้ำมัน ทำให้น้ำมันขาดแคลนและราคาน้ำมันขึ้นสูง

 

              นอกจากสงครามทั้ง 4 ครั้งที่กล่าวไป ยังมีการสู้รบย่อย ๆ อีกบ่อยครั้งซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไม่พอใจของชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ชาวยิวปกครอง เช่น ที่ราสูงโกลาน เขตเวสแบงค์ ฉนวนกาซา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เป็นต้น  ผู้นำในการก่อความวุ่นวายเช่นกลุ่มฮามาส ชาวอาหรับไม่พอใจต่อการปกครองของชาวยิวที่กดขี่ ไม่เป็นธรรม ไร้มนุษยธรรม เช่นการจำกัดที่อยู่ของชาวอาหรับ การเข้ายึดที่ดินเดิมของชาวอาหรับ การให้สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นต้น ชาวอาหรับจึงทำการสู้รบแบบกองโจน ระเบิดพลีชีพ ลอบสังหารผู้นำคนสำคัญและบุคคลสำคัญของชาวยิว เป็นต้น เพื่อปลดแอกตนเองการปกครองของชาวยิว จัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ เรียกการต่อสู้ของชาวอาหรับนี้ว่า “ขบวนการอินติฟาดา” (Intifada) ซึ่งยังมีอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

วาทิน ศานติื สันติ : เรียบเรียง

 

หนังสือประกอบการเขียน

นันทนา เตชะวณิชย์. ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสมัยใหม่ = History of the modern Middle East : HI 495. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.

___________. ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง = History of the Middle East : HI 395. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551.

น้ำเงิน บุญเปี่ยม. โลกร่วมสมัย = Contemporary world : HI 405. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.

อรพินท์ ปานนาค. ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 = History of the United States in the twentieth centur. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.

 

หมายเลขบันทึก: 458411เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากเลยนะครับ ผมกำลังหาข้อมลูทำรายงานส่งอาจาย์อยู่พอดีเลยครับ

น้ำตาจะไหลครับ TT

นายชัยวัฒน์ วงศ์มีเสรี

ปัญหาเลบานอนไม่ใช่ของชาวอาหรับมานานแล้วความเป็นจริงๆ ของชาวยิวปู่ย่าเช่นอับราฮัมที่พระเจ้าให้แกไปอยู่ ขอให้ลูกหลานอยู่อย่าทะเลาะกันที่เหล่านั้นหลายสมัยคนตายมานานแล้วหลังพระเยซูเสด็จขึ้นสวรรค์ขอให้เห็นแก่พระเจ้าของเราทั้งหลายกลับใจเสียใหม่ทำลายไร้ประโยชน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท