กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์(ต่อ)


กระบวนทัศน์ (Paradigm)

เด็กยุคปฏิรูปมีหน้าตาอย่างไร

        ในยุคปฏิรูปการศึกษา มีคำถามว่า เราต้องสร้างเด็กๆ ให้มีหน้าตาอย่างไร บทความนี้ขอเสนอภาพเยาวชนในยุคปฏิรูป ดังนี้
         1.มีสุขภาพที่ดี ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต ปัญญา และสุขภาวะทางสังคม
         2.มีบุคลิกภาพฉลาด ตื่นตัว ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน บริหารอารมณ์ได้ดี
         3.รู้จักการคิด ใช้ปัญญา มีทักษะการสืบค้น (Inquiry) และไตร่ตรอง (Reflection) เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง (Self learning) และการเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)
       4.มีความคิดเป็นอิสระ มีจินตนาการ และแรงบันดาลใจของตนเอง
       5.มีคุณธรรม จริยธรรม และสำนึกความเป็นพลเมือง เป็นที่ต้องการของสังคม

      6.มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นได้
     7.มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ จีน ไทยได้ดี
      8.มีวิธีคิดและเข้าใจ วัฒนธรรมในบริบทของสากล และคุณค่าของความเป็นไทย คุณภาพเหล่านี้ คือคุณสมบัติของการสร้างผู้ประกอบการ และผู้นำสังคมไทย

ต้องไม่พัฒนามนุษย์ แบบสร้างเครื่องจักร

        ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ครูและผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ให้ถ่องแท้ ต้องไม่คิดกับมนุษย์แบบเครื่องจักร ต้องเข้าใจมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์

          การพัฒนามนุษย์ จำเป็นต้องมีการจัดวางแบบแผนทางความคิด วิธีคิด และโครงสร้างระบบที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก จะทำให้มีแบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ดีสมบูรณ์ เต็มศักยภาพ เป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเอง และเป็นที่ต้องการของสังคม

        สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรือเป็นมนุษย์ที่แท้ เป็นคนดีและเก่ง สามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ สามารถใช้ปัญญาในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมระดับท้องถิ่นและระดับโลกอย่างรู้เท่าทันและมีความสุข เป็นที่ต้องการของสังคม

การเรียนรู้ในระดับที่เหนือขึ้นไปถึงขั้นปัญญา (META LEARNING)

           การเรียนในระบบใหม่ นักเรียนควรได้รับการจัดการเรียนรู้ที่สามารถดำรงตนอยู่ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและซับซ้อนได้ พันธกิจของโรงเรียนจะต้องสนับสนุนการเรียนรู้ระดับที่เหนือขึ้นไปถึงขั้นปัญญา (META LEARNING) ได้แก่

1) จัดการศึกษาให้เยาวชนมีวิถีดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ระหว่างความตรงข้าม 2 ด้าน (PARADOX) ไม่เอนเอียงสุดขั้วด้านในด้านหนึ่ง เป็นการรู้จักใช้ชีวิตอย่างสมดุล

           ตัวอย่างของความตรงข้าม 2 ด้าน ได้แก่  สิ่งใหม่ กับ สิ่งเก่า    ความทันสมัย กับ การอนุรักษ์   เทคโนโลยี กับ ความเป็นธรรมชาติ    โลกาภิวัตน์ กับ ท้องถิ่นนิยม     การพึ่งพา กับ การพึ่งตนเอง    ตรรกะ กับ อารมณ์

2) สร้างพื้นฐานสำหรับการเป็นผู้นำ เพื่อการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ และผู้นำสังคมในอนาคต ได้แก่ แบบแผนทางความคิด โครงสร้างระบบ และแบบแผนพฤติกรรม

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กระบวนทัศน์ (paradigm)
หมายเลขบันทึก: 458407เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท