Best Practice จาก LLEN เชียงใหม่ จากใจ LLEN มหาสารคาม


นี่แหละคือต้นแบบในการทำงานของเราในด้าน การอุทิศตนเพื่อส่วนรวม" ท่านไม่ได้ทำในสิ่งที่ท่านคิดว่าดีเท่านั้น แต่ท่านมารับโครงการฯ นี้เพื่อ ทำในสิ่งที่สังคมและคนอื่นๆ คิดว่าดีและเป็นประโยชน์ด้วย ผมคิดว่าการดำรงตนอยู่วิถีดังกล่าวนี้เป็นเวลานาน ทำให้ท่านมีปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับการสร้างเครือข่าย LLEN คือ "บารมี"

วันที่ 2 กันยายน 2554 สิ่งที่หวังไว้ ตั้งแต่เจอท่าน รศ.สมโชติ อ๋องสกุล ครั้งที่ 2 ในการประชุมรายงานความก้าวหน้าครั้งหนึ่งกับคณะกรรมการกำกับทิศทางของ LLEN ที่ สกว. เป็นจริงแล้วครับ เรา (ผมและตัวแทนครูจาก LLEN มหาสารคาม รวม 10 ท่าน) ได้เดินทางไปร่วมงานนำเสนอและปิดโครงการ LLEN เชียงใหม่

ครั้งแรก ที่ผมเจอท่าน ในใจคิดว่าคงเป็นนักวิชาการธรรมดาทั่วๆ ไป ที่วิ่งหาเงินทุนวิจัยเพื่อนำไปทำในสิ่งที่ตนเองคิดว่าดี แต่เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับท่านมากขึ้น พบว่า นี่แหละคือต้นแบบในการทำงานของเราในด้าน การอุทิศตนเพื่อส่วนรวม" ท่านไม่ได้ทำในสิ่งที่ท่านคิดว่าดีเท่านั้น แต่ท่านมารับโครงการฯ นี้เพื่อ ทำในสิ่งที่สังคมและคนอื่นๆ คิดว่าดีและเป็นประโยชน์ด้วย ผมคิดว่าการดำรงตนอยู่วิถีดังกล่าวนี้เป็นเวลานาน ทำให้ท่านมีปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับการสร้างเครือข่าย LLEN คือ "บารมี" 

พิธีเปิดในงานปิดโครงการ LLEN เชียงใหม่ ได้รับเกียตริจากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มาเปิดงานพร้อมทั้งกล่าวปาถกฐา เรื่องประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ขณะที่นั่งฟังท่าน หลายครั้งที่เกิดความรู้สึก "ซ่านผิวกาย" ไมใช่เฉพาะเนื้อหากินใจ แต่เป็นเพราะวิธีการเล่าเรื่องที่กินใจนั้นของท่านผู้ว่าฯ ที่เล่าจากประสบการณ์ตรงของท่าน ผมตัดสินในใจตนเองว่า ปาฐกถาของท่านผู้ว่ากับ "เรื่องเล่าเร้าพลัง" ใน KM ก็น่าจะเป็นเปลี่ยนกันและกันได้

งานของ Best Practice ที่เชียงใหม่ เป็นรูปธรรมอย่างยิ่ง สังเกตจากนำเสนอหน้าฟิวเจอร์บอร์ด ครูจากแต่ละโรงเรียนนำเสนอแหล่งเรียนรู้ของตนเองอย่างภูมิใจและชื่นชม ทำให้ผมปลงใจเชื่อว่า วิธีการของ LLEN เชียงใหม่นั้น บรรลุเป้าประสงค์สำคัญคือ "เสริมสร้างความภาคภูมิใจ" ของครูได้จริง เสียดายที่งานแสดงของนักเรียน ที่ท่านอาจารย์บอกว่าจัดไปแล้วนั้น ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมงานด้วย 

หากให้ผมวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่าง LLEN เชียงใหม่ กับ LLEN มหาสารคาม ในมุมมองหลัก 3 ประเด็นได้แก่ หลักการ วิธีการ และบริบท ผมมีความคิดเห็นดังนี้ครับ 

หลักการต่างกันครับ เชียงใหม่ใช้  Student Training-Based (STB) ส่วน มหาสารคามใช้ Student Learning Based (SLB) ที่เชียงใหม่ มีทุนทางวิชาการแน่นปึ๋งครับ มีอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายท่านมาทำงานนี้ ที่เจ๋งจริงๆ คือ การบูรณาการคณิตศาสตร์ และวิทยาศาตร์กับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ท่านใช้วิธีการจัดค่ายจัดอบรมให้นักเรียนในแต่ละโรงเรียนที่สนใจ และทางเชียงใหม่ได้ส่งเสริมให้ครูแต่ละโรงเรียนจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น โดยใช้แหล่งเรียนรู้ใกล้โรงเรียน ดังนั้นครูที่มานำเสนอแต่ละท่านจึงเป็นผู้ทำงานหนัก (ผมเดาว่าน่าจะเป็นหัวกระทิของแต่โรงเรียน) และมีศักยภาพสูง ตอนนั่งฟังการนำเสนอของโรงเรียนสวนดอก ผมถามอาจารย์เพ็ญศรีของเราว่า "ครูเครือข่ายของเรามีอย่างนี้ไหมครับ" ฟังดูแล้วเหมือนผมจะดูแคลนเครือข่ายของตนเอง ภายหลังผมจึงเปลี่ยนคำถามเป็น "แบบนี้ครูในเครือข่ายเรามีกี่คน" แต่คิดแล้วก็ยังคงให้ความรู้สึกเหมือนเดิม พอระลึกได้ก็เลยหยุด... แต่ในใจผมก็ยังคงอยากจะรู้ให้ครบถ้วนว่า ในเครือข่าย LLEN มีครูที่ทำงานหนัก เพื่อเด็กๆ และมีการเรียนรู้ มีการนำทฤษฎีไปใช้อย่างเป็นระบบแบบคุณครูที่สวนดอกแบบนั้นกี่คน ผมจะได้ "หนุนเสริมคุณครูคนนั้นได้อย่างเต็มที่และทันท่วงที" 

วิธีการก็ต่างกันครับ LLEN เชียงใหม่ ครูจะได้เป็นผู้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ และครบถ้วนขั้นทุกกระบวนการ(สงสัย ตั้งปัญหา คาดหาคำตอบ หาวิธีการพิสูจน์ และสรุปผล ) ก่อนที่จะนำไปสู่นักเรียนต่อไป ส่วนที่ มหาสารคาม นจะเน้นนักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติและเรียนรู้ครบถ้วนทุกขั้นกระบวนการ อยากให้ครูเป็นทั้งโค๊ชและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียนด้วยกันแบบเป็นทีม ผมเดาว่า หากมี LLEN ต่อเนื่องอีกที่เชียงใหม่ จะเกิดผลต่อนักเรียนอย่างยิ่ง 

ประเด็นสุดท้าย ผมคิดว่า จังหวัดมหาสารคาม มีบริบทที่เหมาะสมในการพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ได้ดี คล้ายกับที่นครเชียงใหม่เป็นนครแห่งประวัติศาสตร์ ที่มหาสารคาม มีสถานที่สำคัญๆ เช่น พระธาตุนาดูน และกู่อโรคญาศาล อีกหลายแห่ง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากหลาย ทั้งที่ขุดแล้ว เช่น ที่วัดมหาชัย อ.เมือง ที่ แหล่งโบราณสถานพระธาตุนาดูน ที่อ.นาดูน นอกจากนี้แล้ว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยังมีบุคลากรที่เข้มแข็งทางด้านประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง... จึงเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งที่ LLEN มหาสารคาม จะปรับใช้หัวเรื่องดังกล่าวกับแนวทางของตน 

สุดท้ายของบันทึกนี้ ขอแสดงความยินดีและชื่นชมต่อความสำเร็จของ เครือข่าย LLEN เชียงใหม่ โดยเฉพาะด้านเครือข่าย ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของ LLEN ขอขอบคุณ รศ.สมโชติ และ ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล ที่ให้การต้อนรับอย่างอวบอุ่นอย่างยิ่งครับ แยะขอขอบคุณครูในเครือข่าย LLEN เชียงใหม่ทุกท่านครับ ที่แบ่งปันความรู้และประสบการณ์อย่างมีความสุข แสดงให้เห็นถึงความเต็มใจ ซึ่งทำให้เราสุขใจเป็นอันมาก

หากเพลาต่อไปในภายหน้า ท่านทั้งหลายได้เห็นโอกาสมี เดินทางมาพำนัก ณ จังหวัดมหาสารคาม โปรดอย่าได้เกรงใจรอรี ที่จะติดต่อกระผม ให้ทราบความ ผ่าน [email protected] จักได้มีโอกาสตอบแทนท่านบ้างครับ

ป.ล. สำนวนแปลกๆ หน่อยนะครับ เพราะเป็นช่วงที่หนังพระนเรศวรกำลังดัง...ฮา

หมายเลขบันทึก: 458306เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 05:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท