เทคนิคคู่มือ Q.C.และขั้นตอนในการแก้ปัญหา


เทคนิคคู่มือ Q.C.และขั้นตอนในการแก้ปัญหา

          เทคนิคคู่มือ Q.C.และขั้นตอนในการแก้ปัญหา  การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพของกลุ่มสร้างเสริมคุณภาพนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการใช้เทคนิคคู่มือ Q.C. ที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในรูปแบบของการทำกิจกรรมและการประชุมกลุ่มสร้างเสริมคุณภาพถ้าหากได้ใช้เทคนิคคู่มือ Q.C. อย่างถูกต้องและถูกขั้นตอนแล้ว จะทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ มีประสิทธิภาพมาก เทคนิคการแก้ปัญหามีอยู่ ๕ ขั้นตอน คือ

          ขั้นที่ เลือกหัวข้อปัญหา การเลือกหัวข้อปัญหาควรจะเลือกโดยการประชุมกลุ่มเพื่อหารือกัน
หาหัวข้อที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันหัวข้อที่เลือกควรมีความสำคัญต่อสมาชิก หรือต่อหน่วยงานของกลุ่ม หรือสำคัญต่อส่วนรวม

หลักการในการเลือกปัญหาที่จะนำมาทำกิจกรรม มีดังนี้

          (๑)  เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเท่านั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสวัสดิการค่าจ้าง ฯลฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของตนโดยตรง ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายของหน่วย

          (๒)  ปัญหานั้นต้องสามารถแก้ไขได้ส่วนใหญ่ โดยสมาชิกของกลุ่มเองไม่ใช่ผลักภาระไปให้แผนกอื่น หรือหน่วยอื่นเป็นผู้แก้ปัญหา โดยต้องเข้าใจว่าทางกลุ่มจะต้องร่วมมือกัน แก้ปัญหาเองโดยอาศัยทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในมือขณะนั้นจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรก็ต้องได้รับความเห็นและการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาก่อน

          (๓)  ปัญหานั้นควรเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่ม
ซึ่งถ้าปล่อยปัญหานั้นทิ้งไว้ ผลเสียจะเกิดขึ้นกับสมาชิกส่วนใหญ่ แต่ถ้าได้ช่วยกันแก้ปัญหานั้นผลดี
จะเกิดขึ้นแก่สมาชิกส่วนใหญ่

          (๔)  ควรเป็นปัญหาที่ลดความลำบากให้แก่ตัวเองและกลุ่ม เพราะการทำกิจกรรมกลุ่มสร้างเสริมคุณภาพเป็นการทำเพื่อตัวเราเองก่อน แล้วผลนั้นจึงจะเกิดประโยชน์ต่อหน่วยในภายหลัง

          (๕)  ควรเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้สำเร็จภายใน ๖ เดือน เพราะถ้าใช้เวลานานกว่านี้อาจจะทำให้สมาชิกของกลุ่มหมดกำลังใจก่อนที่จะเห็นความสำเร็จและภูมิใจในความสำเร็จของตน

          (๖)  ภายหลังที่ประชุมตกลงเลือกปัญหาได้แล้ว ก่อนที่จะลงมือแก้ไขปัญหานั้นจะต้องแจ้งหัวข้อเรื่องให้ผู้รับผิดชอบทราบ และยอมรับเสียก่อน (ลงทะเบียนกิจกรรม)

          (๗)  ทางกลุ่มต้องสามารถให้เหตุผลได้ว่าทำไม หรือมีเหตุผลอะไรจูงใจในการเลือกปัญหานั้นมาทำกิจกรรม

          (๘)  ในกรณีที่กลุ่มบางกลุ่มไม่สามารถหาปัญหามาทำกิจกรรมได้ โดยเฉพาะในระยะแรกๆ เพราะมองอะไรก็ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากคุ้นเคยกับปัญหาไปหมดแล้ว ในกรณีนี้ ผู้บริหารอาจจะทำรายชื่อปัญหาต่างๆ  ของหน่วย แล้วเสนอไปทางกลุ่มให้เลือกปัญหาเหล่านั้นไปลองทำกิจกรรม ทั้งนี้กลุ่มจะต้องทำด้วยความสมัครใจ

          (๙)  อาจใช้หลัก ๕  W + H  ค้นหาปัญหาได้

               WHAT (อะไร)       WHEN (เมื่อไร)         WHERE (ที่ไหน)

               WHY  (ทำไม)       WHO  (ใคร)             HOW   (อย่างไร)


การจะได้หัวข้อปัญหาที่ดีควรทำตามลำดับข้อปฏิบัติดังนี้

                   ๑  เก็บข้อมูล  เก็บข้อมูลในระหว่างการทำงาน หรือการปฏิบัติภารกิจในช่วงใด

ช่วงหนึ่ง โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้.-

                             (๑)  ใช้ตารางตรวจสอบ (Check Sheet)

                             (๒)  โดยประสบการณ์ของหัวหน้า หรือสมาชิกและต้องการใช้ตารางตรวจสอบ

                             (๓)  โดยการระดมพลังสมอง และด้วยการใช้ตารางตรวจสอบ  (Check Sheet)

                    ๒  จำแนกข้อมูล (Stratification) นำข้อมูลจากตารางตรวจสอบในลำดับความสำคัญโดยแผนภูมิ พาเรโต (Pareto Diagram) และเลือกหัวข้อที่มีความสำคัญสูง มาเป็นหัวข้อปัญหา เพื่อทำการแก้ไขพร้อมกับตั้งเป้าหมายและกำหนดระยะเวลา

          ขั้นที่ วิเคราะห์สาเหตุ  ทำตามลำดับข้อปฏิบัติดังนี้.-

         ๑  ใช้แผนภูมิก้างปลา(Fish-Bone Diagram)ระดมพลังความคิดเพื่อหาสาเหตุคร่าวๆ ออกมา

          ๒  ใช้ข้อมูลประกอบกับเทคนิคเครื่องมือ และประสบการณ์ของสมาชิก ระบุสาเหตุที่แท้จริงและที่สำคัญในแผนภูมิก้างปลา (Fish - Bone Diagram)  ซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ของสาเหตุ

                    ๓  เรียงลำดับสาเหตุต่างๆ  ไว้เป็นข้อๆ  เพื่อหาวิธีแก้ไข

          ขั้นที่ เลือกวิธีและทดลองแก้ไข  ทำตามลำดับข้อปฏิบัติดังนี้.-

                   ๑  ใช้แผนภูมิแอร์ (Air Diagram) เลือกวิธีหรือแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อเป็นทางแก้
ของสาเหตุแต่ละข้อ

                   ๒  นำวิธีหรือแนวทางที่เลือกได้แล้วมาทดลองแก้หรือทดลองปฏิบัติโดยให้ระยะเวลาหรือปริมาณงานที่ทดลองปฏิบัติเท่ากับระยะเวลา หรือปริมาณที่ทำงานในช่วงการเก็บข้อมูลตามข้อ ๑.๑

          ขั้นที่ ติดตามผล  ติดตามผลในระหว่างทดลองแก้ไขข้อ ๓.๒ โดยทำตามลำดับข้อปฏิบัติ
ดังนี้.-

                     ใช้ตารางตรวจสอบ (Check Sheet) เช่นเดียวกับครั้งแรกตามข้อ ๑.๑ ก่อนทำการแก้ไข

                   ๒  นำข้อมูลมาจำแนก หรือแสดงด้วยกร๊าฟและแผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) เช่นเดียวกับข้อ ๑.๒

          ขั้นที่ ทำมาตรฐานการปฏิบัติ  เมื่อเปรียบเทียบผลการทดลองในขั้นที่ ๔ กับข้อมูลเดิม
และเป้าหมายในขั้นที่ ๑ แล้ว ถ้าปรากฏว่าได้ผลตามเป้าหมาย หรือดีกว่าเป้าหมายก็ทำมาตรฐาน
การปฏิบัติงานไว้ โดยทำตามลำดับข้อปฏิบัติ ดังนี้.-

                   ๑  ตรวจดูวิธีหรือแนวทางที่นำมาทดลองแก้ในขั้นที่ ๓ ลำดับที่ ๓.๒ ที่ให้ผลดีที่สุดและเหมาะสมดีที่สุดแล้วนำมาเขียนใหม่

                    ๒  นำวิธีที่ได้ในข้อ ๕.๑ และวิธีเพิ่มเติมอื่นๆ  ถ้าจำเป็นมาเรียงลำดับและเขียนเป็นวิธี
การปฏิบัติงาน โดยเขียนให้กะทัดรัดเหมาะสมและสะดวกในทางปฏิบัติแล้วใช้เป็นหลักปฏิบัติงานประจำต่อไป

เครื่องมือเครื่องใช้

          (๑)  ตารางตรวจสอบ (Check Sheet) เป็นตารางที่ใช้ในการเก็บตัวเลขข้อมูลขั้นต้น ในระหว่างกระบวนการผลิตหรือการปฏิบัติงาน เพื่อจะนำตัวเลขเหล่านั้นไปจัดทำแผนภูมิควบคุม (Control Chart)
ทำฮิสโตแกรม (Histogram) ทำแผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) หรือวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตหรือปัญหาอื่นๆ  ในตอนเริ่มต้นกิจกรรมและตอนติดตามผล

      (๒)  การจำแนกข้อมูล (Stratification) เป็นการทำสิ่งของหรือข้อมูล เช่น ของเสีย หรือกระบวนการ
เช่น เครื่องจักรเสียบ่อยๆ ฯลฯ มาแยกเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทหรือตามการปฏิบัติงานของพนักงาน
หรือตามวัตถุดิบเพื่อจะให้สามารถหาสาเหตุและแก้ปัญหาได้ การแยกประเภทนี้อาจจะแยกจากลักษณะ
ต่อไปนี้

               -  แยกตามลักษณะ หรือรอยตำหนิที่เกิดของเสีย

               -  แยกตามสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา

               -  แยกตามผู้ปฏิบัติงาน หรือตามเครื่องจักรที่ใช้

               -  แยกตามรุ่นวัตถุดิบ หรือตามบริษัทส่งวัตถุดิบ

          นอกจากที่กล่าวมาแล้วอาจจะแยกโดยคุณลักษณะอย่างอื่นแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น
จากเครื่องจักรที่ผลิตต่างกัน เวลาผลิต หรือผลัดจากการผลิตต่างกันเช่นนี้ เป็นต้น

 

           (๓)  แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) คือการเขียนกราฟแท่งขนาดของข้อมูลเพื่อใช้เปรียบเทียบดูค่ากับความสำคัญของข้อมูล หรือปริมาณของปัญหา หรือข้อบกพร่องเพื่อจะเป็นแนวทางในการที่จะพิจารณาแก้ไขปัญหาว่าควรจะแก้ไขปัญหาใดก่อนหลัง ใช้ในโอกาสแยกปัญหาที่สำคัญ (Vital Few) ออกจากปัญหาที่ไม่สำคัญ (Trivial Many) ส่วนมากจะใช้ในตอนชี้ประเด็นปัญหา และในขั้นการเปรียบเทียบผล

          (๔)  แผนภูมิก้างปลา  (Fish - Bone Diagram) คือการเขียนไดอะแกรม หรือแผนภูมิเพื่อแสดงสาเหตุต่างๆ ที่มีผลต่อลักษณะเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ลักษณะนั้นอาจเป็นทางด้านคุณภาพ ลักษณะของเสีย อาการเสียของเครื่องจักร ฯลฯ แล้วเราจะมาคิดค้นสาเหตุที่มีผลเกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะนั้น เขียนแสดงลงในแผนภูมิลักษณะคล้ายก้างปลาการใช้แผนภูมิ ก้างปลา (Fish-Bone Diagram) เพื่อ

               -  ให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Participate by all)

               -  เป็นการระดมแนวความคิดกว้างๆ หรือสาเหตุกว้างๆ ของปัญหาจากสมาชิก

          (๕)  แผนภูมิแท่งและฮิสโตแกรม  (Bar Chart and Histogram) แผนภูมิแท่ง คือกร๊าฟที่ค่าบนแกนแต่ละค่าแสดงค่าเฉลี่ยที่คลุมปริมาณบนแกน X คลุมตลอดช่วงของ X  ส่วนฮิสโตแกรม (Histogram) นั้นเป็นแผนภูมิแท่ง (Bar Chart) ที่เขียนระหว่างความถี่ กับคุณสมบัติ X เพื่อดูการกระจาย

            (๖)  กราฟและแผนภูมิควบคุม (Graph and Control Chart)

               -  กราฟแท่ง,เส้น  แสดงสถานภาพของปัญหาใช้ในช่วงมูลเหตุจูงใจตอนเริ่มต้นกิจกรรมและใช้ตอนเปรียบเทียบผล

               -  กราฟวงกลม  (Pie Chart) แสดงสถานภาพก่อนการแก้ปัญหาและตอนเปรียบเทียบผล  แสดงสัดส่วนเป็นเปอร์เซนต์

                 -  แผนภูมิควบคุม  (Control Chart)  คือกร๊าฟที่มี limit บน และ limit ล่าง ใช้ติดตามกระบวนการ (Process) โดยเฉพาะที่ทำมาตรฐานไว้แล้ว ใช้ในตอนติดตามผล แผนภูมิควบคุมมีหลายชนิดแล้วแต่คุณสมบัติ ลักษณะการกระจายวัตถุประสงค์ของการใช้

                  (๑) X - R Chart  เป็นแผนภูมิควบคุมที่ใช้กับคุณสมบัติต่อเนื่อง ( X ) ทุกชนิด เป็นแผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าพิสัย ( R ) ควบคุมกัน เพื่อให้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติได้ดีกว่า X - Chart หรือ R - Chart อย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว  

                  (๒) P-Chart ในกรณีที่วัดค่าคุณสมบัติ Attribute เพื่อการทำแผนภูมิควบคุม มักจะใช้ P-Chart หรือ U-Chart แล้วแต่กรณี เมื่อ P เป็นอัตราส่วนของจำนวนชิ้นที่เสียต่อจำนวนชิ้นที่ตรวจสอบ

                  (๓) U-Chart เป็นแผนภูมิแสดงรอยตำหนิหรือจำนวนชิ้นส่วน หรือส่วนประกอบที่ด้อยคุณภาพต่อจำนวนสิ่งของในกลุ่มหรือใน ๑ หน่วย U-Chart มักจะใช้ในกรณีที่จำนวนสิ่งของในแต่ละกลุ่มหรือในแต่ละหน่วยแตกต่างกัน แต่นำมาเทียบเป็นหน่วยหรือเป็นกลุ่มเท่ากัน     

          (๗)  แผนภูมิกระจาย (Scatter Diagram) เป็นตารางกร๊าฟที่ไช้แสดงคุณภาพ ๒ อย่างบนแผนเดียวกัน คุณสมบัติหนึ่งบนแกนตั้ง และวัดอีกคุณสมบัติหนึ่งบนแกนนอน มักจะใช้ทดสอบหาความสัมพันธ์ (Correlation) ของคุณสมบัติ ๒ อย่าง เช่น การทำกาวโดยใช้กาวผงละลายน้ำแล้วทดสอบหา % ของเนื้อกาวและความหนืด (Viscosity) ของกาว

           (๘)  แผนภูมิแอร์ (Air diagram) เป็นแผนภูมิกระทำกระทบทางเลือก หรือ Action – Impact -Resolution Diagram ถ้าการกระทำใดๆ ทำให้เกิดผลกระทบในทางเสียก็พยายามหาเงาหรือผลกระทบในทางดี ซึ่งตรงกันข้ามผลเสียนั้น แล้วหาวิธีการกระทำใหม่ที่จะทำให้เกิดผลกระทบที่ดี การกระทำที่เป็นทางเลือก (Resolution)นั้นก็จะช่วยในการขจัดสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่ต้องการออกไปได้

หมายเลขบันทึก: 458303เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะ จะนำไปใช้ดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท