ภาพที่ใช้สื่อสาร จากงาน...สู่การวิจัย(R2R)


          จากบันทึกก่อนหน้านี้.....รู้สึกว่าจะมีปัญหาในการแสดงผล ทำให้อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ผมเลยลองนำมาเรียงในบันทึกนี้  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ร่วมกันหลังจากได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และศึกษาดูงานการปลูกมันสำปะหลังชองคุณสวัลย์  ขาวทอง นักส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลาน และแปลงของคุณสุชานันท์  จันทร์ปลี เกษตรกรผู้ปลูกมัน

 


(ภาพจากบันทึกของคุณสายัณห์  ปิกวงค์)

 

          ผมทำหน้่าที่เป็นคุณอำนวยเอง ซึ่งผลจากการ AAR เป็นดังนี้

สรุปความคิดเห็นของคนรักมันฯ ...

  • ได้ทั้งความรู้และดูผลของจริง ทั้งพันธุ์และการดูแลรักษา 
  • ประทับใจในความเป็นมืออาชีพของเกษตรกรที่เรามาศึกษาดูงาน 
  • ทึ่งมากๆ 
  • เจ้าของแปลงมีโจทย์  เราก็ต้องหาโจทย์ของเราให้ได้
  • ได้เห็นนักวิชาการมาเรียนรู้การปลูกมันร่วมกับเกษตรกร 
  • น่าจะเป็นจุดเรียนรู้ที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกมันโดยทั่วไป 
  • ทำให้หูตาสว่างขึ้นเยอะ 
  • เห็นการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกัน 
  • เรียนรู้เทคนิคต่างๆ เช่นการล่อมัน การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิต 
  • เชื่อมั่นในระยะปลูกว่าปลูกห่างดีกว่าปลูกถี่ 
  • เกินความคาดหวัง กำแพงเพชรเราก็มีของดี 
  • ต้องทำให้รู้  ดูให้เห็น

 

นอกจากนั้น อีกหลายท่านยังให้คำมั่นว่า

  • จะพัฒนาการปลูกมันของตนเองให้ดีกว่าเดิม
  • จะนำความรู้ที่ได้ลองไปปฏิบัติของตนเอง
  • จะนำไปขยายผลสู่เกษตรกรข้างเคียง / ลูกบ้าน

 

ข้อตกลงร่วมของแต่ละอำเภอ

  • จะเก็บบทเรียนนี้ไปเป็นการบ้าน
  • ปี 55 จะต้องมีแปลงเรียนรู้เองของแต่ละอำเภอ
  • ต้องมีแปลงทดสอบ/สาธิตของแต่ละพื้นที่ 
  • ทุกแปลงจะต้องมีการบันทึกข้อมูลพร้อมที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน

          และช่วงเก็บเกี่ยวจะมาพบกันและจัดเวที ลปรร. กันอีกครั้ง  พร้อมจะนำผลงานของแต่ละอำเภอมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนกัน ประมาณเดือนธันวาคม 2554 นี้

         ท้ายที่สุดผมได้ทบทวนความคิดอีกครัั้ง ด้วยการเขียนกระบวนการคิดและทำ ลงบนกระดาษฟาง

 

แล้วสรุปว่า

        " ตอนนี้  คุณสวัลย์ กำลังทำ R2R"  (ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าทำอยู่) และ "เมื่อพวกเราลงไปหาโจทย์ในพื้นที่ร่วมกับเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหา คิด-ทำ-เทียบ หรือหาความรู้ใหม่ ฯลฯ แบบมีส่วนร่วม พวกเราก็กำลัง ทำ R2R โดยใช้ PAR(การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม) เป็นเครื่องมือ"

          พี่ๆ นักส่งเสริมหลายคนมาสารภาพกับผมว่า งานวิจัย ก็คือรูปแบบที่เป็นวงกลมที่เข้าใจง่ายๆ แบบที่ผมนำเสนอ ง่ายมาก เพราะชีวิตจริงก็ทำอยู่แล้ว ....

          ผมเริ่มวาดฝัน คิดต่อไปอีกว่า ปี 2555 นี้  เราน่าจะสามารถขับเคลื่อน R2R ได้ในกลุ่มเพื่อนๆ นักส่งเสริมการเกษตรของกำแพงเพชรได้มากกว่านี้อย่างแน่นอน โดยที่พวกเราทำไปเรียนรู้ไป  ทำงานอย่างมีความสุข   ผมคงไม่ได้ฝันกลางวันนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

สิงห์ป่าสัก  3 กันยายน  2554

หมายเลขบันทึก: 458148เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาเรียนรู้ด้วยค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

เฮฮาศาสตร์  เช่นนี้  ก็สุขขีในการพัฒนางานนะซิค่ะ

ร่วมกันเชียร์ R2R ให้มีการเพิ่มบันทึกใหม่ ยิ่งๆขึ้นนะคะพี่

R2R จะได้ไม่เงียบเหงา...

  • สวัสดีครับน้อง ต้นเฟิร์น
  • ขอบคุณที่แวะมา ลปรร. นะครับ
  • สวัสดีครับคุณ ✿อุ้มบุญ ✿
  • งานพัฒนา..ต้องใช้เวลามากนะครับ
  • โดยเฉพาะการพัฒนาที่มาจากข้างใน
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ

เชียร์ อาร์ทูอาร์ ค่ะพี่สิงห์ สุดเท่ห์

ตามมาชมบ้านใหม่ เป็นไงบ้างคะพี่

เป็นการจัดการความรู้ที่สุดยอดจริงๆครับ

  • สวัสดีครับคุณ Poo
  • บ้านเสร็จแล้วครับ เพราะไม่ตกแต่งมาก
  • พออยู่ได้ ให้มีกลิ่นอายของชนบท+ธรรมชาติ
  • ตื่นเช้าขึ้นมา มองไปทางหลังบ้านจะเห็นสวนกล้วยและนาที่ลองปลูกโดยไม่มีน้ำ
  • ดูแล้วสดชื่นดี
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีครับ อ.พิสูจน์
  • เกิดขึ้นโดยธรรมชาติครับ
  • คุณอำนวยอย่างผมก็เพียงทำหน้าที่สื่อสาร กระตุ้นและเชื่อมโยง
  • ทั้งเหนื่อยและสนุกครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

ว้าว เปิดรับธรรมชาติ เต็มปอดเลย ชอบๆ จัง ขอบคุณค่ะพี่

ชอบ...วงกลมวิจัย

อยากรู้...ทำนา ไม่มีน้ำ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

งานวิจัยก็คือรูปแบบวงกลมที่เข้าใจง่ายๆ

 

              ขอนำไปใช้บ้างนะครับ

  • สวัสดีครับทพญ.ธิรัมภา
  • ขอบคุณที่แวะมา ลปรร .นะครับ
  • ทำนาไม่มีน้ำ ผมก็กำลังทำอยู่ครับ
  • อาศัยแต่น้ำฝนอย่างเดียว
  • สวัสดีครับท่านรองฯ small man
  • ยอนดีครับ น่าจะใช้ได้ผลนะครับ
  • ยิ่งท่านรองเป็นผู้บริหารจะง่ายขึ้น
  • เพราะสามารถหาเวทีนำเสนอฯ แลกเปลี่ยน
  • เพื่อเสริมหนุนได้ง่าย
  • ผมเป็นผู้ปฏิบัติส่งต่อให้คนอื่น
  • เพราะเห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางาน
  • ค่อยๆ สร้างความเข้าใจ ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
  • ต้องใช้เวลามากพอสมควร
  • ขอบคุณที่แวะมา ลปรร.นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท