โรคคันตามผิวหนัง


โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้

       เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในเด็ก แต่อาจพบในผู้ใหญ่ได้ด้วย โดยผู้ป่วยจะมีผื่นคันที่ใบหน้า และแขนขา เป็นๆ หายๆ ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค แต่พบหลักฐานบ่งชี้ว่า มีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมักจะได้ประวัติว่า มีบุคคลอื่นในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดนี้ หรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น โรคหอบหืด และโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วยถึง 70%

อาการของโรคผิวหนังจากภูมิแพ้จําแนกได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะเด็กเล็ก :  พบในเด็กอายุ 2 เดือน - 2 ปี ระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีผื่นแดง สะเก็ดบางๆ หรือมีน้ำเหลืองแห้งกรังปกคลุมที่ศีรษะ แก้ม คอ หน้าผาก หัวเข่า และแขนขา มีอาการคันมาก ระยะนี้จะพบการแพ้อาหารร่วมด้วยได้บ่อย

ระยะเด็กโต :  พบในเด็กอายุ 2 - 10 ปี ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีผื่นแดงคัน สะเก็ดบางๆ ที่ข้อพับแขน และขา รอบคอ ข้อมือ หนังตา และใบหน้า ถ้าเป็นอยู่นาน ผิวหนังจะหนาเนื่องจากการเกา ระยะนี้พบการแพ้อาหารน้อยลง แต่จะพบการแพ้สารอื่น เช่น ผ้าขนสัตว์ ขนแมว และเกสรดอกไม้เพิ่มขี้น  ระยะผู้ใหญ่ :  ผู้ป่วยจะมีผื่นลักษณะเช่นเดียวกับที่ข้อพับ แขนและขา ด้านหน้าและด้านข้างคอ หน้าผาก และรอบตา

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังโดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่มีอาการรุนแรง จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่ำ จึงมีโอกาสเป็นโรคผิวหนังติดเชื้อได้ง่าย และโรคดังกล่าวอาจลุกลามแพร่กระจายไปได้ทั่วตัว

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคผิวหนังจากภูมิแพ้

ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทําให้โรคเป็นมากขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง อากาศร้อน หรือเย็นจัด ไม่ควรใช้สบู่ยา ควรอาบน้ำด้วยสบู่อ่อนๆ แล้วใช้โลชั่นทาตัวหลังอาบน้ำ หรือผสม Bathing oil ลงในน้ำที่อาบ เพื่อป้องกันผิวหนังแห้ง ไม่ควรอาบน้ำบ่อย และการอาบน้ำแต่ละครั้ง ไม่ควรอาบนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวที่มีอากาศแห้ง เสื้อผ้าที่ใช้ควรเป็นผ้าฝ้ายเนื้อนุ่มๆ ไม่ควรใช้เสื้อผ้าที่ทําจากขนสัตว์ หรือใยสังเคราะห์ ทายา Steroid ครีมอ่อนๆ วันละ 2 - 3 ครั้งเพื่อลดการอักเสบของผิวหนัง และอาการคัน ทั้งนี้ การใช้ยาดังกล่าว ควรอยู่ภายใต้การแนะนําของแพทย์ ไม่ควรซื้อยาใช้เองต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได้

รับประทานยา Antihistamine เช่น Chlorpheni-ramine, Hydroxyzine เพื่อลดอาการคัน เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียง ทําให้ง่วงนอน ในระหว่างรับประทานยาดังกล่าว จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทํางานกับเครื่องจักร

ในกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อผิวหนัง เช่น แผลพุพอง ฝี อีสุกอีใส หรือโรคเริม ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว

จากdaradiary.com (3 ก.ย.54 เวลา11.30)

หมายเลขบันทึก: 458005เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท