ความภาคภูมิใจของ รพ.บางใหญ่


ไปนิเทศงานที่ รพ.บางใหญ่ ใช้กระบวนการ KM ทำให้ได้พบสิ่งดีๆ ของเจ้าหน้าที่ที่อยากจะเอามาเล่าสู่กันฟังค่ะ..

 "ความภาคภูมิใจของทีมงานโรงพยาบาลบางใหญ่ ในการดูแลรักษาพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะ Hypoglycemia"

วันที่ 5 มิถุนายน 2549 ทารกเพศหญิง คลอดปกติ น้ำหนัก3200 gms ( มารดา G3P2A0 GA 40 weeks )อายุ 2 วัน HN.4878/49 AN.1678/49 ประวัติการคลอดไม่มีปัญหาผิดปกติ ระหว่างอยู่ในความดูแลที่หอผู้ป่วยใน Active ดี ดูดนมได้ดีรอ ขับถ่ายปกติ รอ discharge 20.00 น พร้อมมารดา เวลา 16.30 น. พบว่าเด็กเขียว ไม่หายใจ กระตุ้นไม่ร้อง จับชีพจรไม่ได้ ได้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ รายงานแพทย์ และ ทีมสนับสนุน สามารถช่วยใส่ท่อช่วยหายใจ และ ให้ยาAdrenaline จนเด็กเริ่มมีชีพจรแรงขึ้น rate 160 ครั้ง / นาที หายใจตามการบีบ Ambubag 40ครั้ง/ นาที ได้ทำการเจาะDTX ได้ 16 mg% ได้ให้ 10% D W rate 5 drop/m ซึ่งใช้เวลารวมไม่เกิน 15 นาทีในการแก้ไข (สามารถดูแลภาวะฉุกเฉินได้ ภายใน 10นาที ที่พบ )

ติดต่อrefer รพ.แม่ข่าย แต่ไม่สามารถส่งต่อได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเตียงเต็ม ทั้งรพ.ในจังหวัดนนทบุรี ได้แจ้งผู้อำนวยการประสานการส่งต่อได้เตียงที่ รพ.ชลประทาน ใช้เวลาในการประสานการส่งต่อทั้งหมด 3 ชั่วโมง ซึ่งในช่วงเวลาที่รอส่งต่อได้มีการดูแล ด้านVentilation Circulation อุณหภูมิ ตลอดจนการเตรียมเครื่องมือในรถAmbulance ก่อนส่งทารกไปรักษาต่อพร้อมทั้งให้การประเมินผลเป็นระยะ E1V1M3 O2 sat 98-99 % HR 170 ครั้ง/ นาที DTX ก่อนส่ง 495 mg % จากการติดตามผลพบว่าทารกสามารถ off Tube ได้ ภายใน 3 วัน ดูดนมได้ discharge จากรพ.ชลประทานยังมีอาการกระตุกอยู่ อยู่ในช่วงติดตามพัฒนาการ ได้รายงานผู้อำนวยการทราบ และเก็บข้อมูลปัญหาการส่งต่อ ซึ่งได้มีการประชุมระดับจังหวัด และแม่ข่าย ในเบื้องต้น ยังต้องมีการตกลงร่วมกันอีก

จากการที่พบเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้นำcase มาทบทวนพบมีปัญหาด้านคลินิก ดังนี้ ปัญหา

1 . case Unexpected มีภาวะวิกฤติของทารก ซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อน พบปัญหาการดูแลเฉพาะทางยังไม่ชำนาญ ต้องมีการทบทวน

2.การประสานการส่งต่อล่าช้า เนื่องจากเป็นการดูแลเฉพาะ ที่ต้องได้รับการดูแลจากโรงพยาบาลที่มีกุมารแพทย์ และมีเครื่องมือสำหรับทารก

จากการที่มีการนำcase นี้มาทบทวน ทำให้สหวิชาชีพได้มาทบทวน - ทำCPG การเจาะDTX ในรายทารกที่พบว่ามีภาวะเสี่ยง

- แนวทางการให้ 50% Glucose push ตามระดับDTX น้ำหนัก และ อายุครรภ์

- เตรียมจัดการอบรมการดูแลทารกที่มีภาวะวิกฤติ พร้อมแผนการอบรมภายนอกโรงพยาบาล

- ทบทวนระบบการส่งต่อ ประสานงานระดับนโยบาย

- ที่ประชุมเห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมอุปกณ์ฉุกเฉิน ให้มีการเสนอซื้อ Laryngoscope สำหรับทารกแรกเกิด ( ปัจจุบันมีใช้ที่เดียวที่ LR )

- ส่งต่อปัญหาด้านการทบทวนความรู้ทางวิชาการของเจ้าหน้าที่ตามงานที่รับผิดชอบให้ทีมHRD เป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร

หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ พบว่ามีทารกเพศชาย หลังคลอดปกติ HN.9531/49 AN.1879 / 49 หนัก 2850 gms. ระหว่างการคลอด และอยู่ภายใต้การดูแลที่หอผู้ป่วยในไม่มีอาการผิดปกติ ดูดนมได้ดี ไม่มีตัวตาเหลือง รอกลับบ้าน พบว่ามีอาการเขียว ไม่หายใจ ไม่ร้อง พยาบาลได้ทำการเจาะ DTX ได้ 14 mg% ทำการpush 50%Glucose 6 cc. และให้สารน้ำ 10%D/W ให้O2 ระหว่างรอรายงานแพทย์ สามารถ early detect และให้การดูแล ได้ภายใน 3 นาที จนทารกเริ่มตื่น และแพทย์สั่งการ monitoring ระดับน้ำตาล การดูแลปรับการให้สารน้ำ และ การให้นมแม่ /นมผสม ตลอดจนเฝ้าระวังเรื่องอุณหภูมิ ทบทวนการใช้ตู้ Incubator และการปรับอุณหภูมิ ซึ่งได้มีการปรึกษาการให้การรักษากับทางโรงพยาบาลแม่ข่าย เพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการดูแล ที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อความปลอดภัย คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ป้องกันการสูญเสีย เกิดความพึงพอใจสำหรับผู้รับ และ ผู้ให้บริการ รายนี้discharge วันที่ 28 มิถุนายน 2549 ด้วยความปลอดภัย ญาติเกิดความพึงพอใจและทีมงานเกิดความภาคภูมิใจในการให้บริการ

คำสำคัญ (Tags): #ความภาคภูมิใจ#km
หมายเลขบันทึก: 45795เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 03:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจจัง เจออ้อยใน GotoKnow ภาพของอ้อยยังไม่ปรากฎนะคะ ลองเช็ค link ใหม่หน่อยนะ

และบางย่อหน้าอ้อยช่วยเคาะขึ้นบรรทัดใหม่ก็ดีนะคะ จะได้อ่านง่ายขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท