อำนาจ และการได้มาซึ่งอำนาจ


อำนาจ (Power) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดให้ผู้อื่นเป็นหรือกระทำตามความต้องการของตนเอง แม้ว่าผู้อื่นจะขัดขืนก็ตาม อำนาจนั้นมี 2 อย่างคือ อำนาจตามกฎหมาย และอำนาจตามบารมีที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบให้เป็นใหญ่หรือเป็นผู้นำโดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับ ประชาชนเชื่อถือ และเลื่อมใสในบารมีที่เป็นบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของความดีหรือสัญลักษณ์ของคุณธรรมและจริยธรรม

อำนาจ และการได้มาซึ่งอำนาจ 

    อำนาจ (Power)  หมายถึง ความสามารถในการกำหนดให้ผู้อื่นเป็นหรือกระทำตามความต้องการของตนเอง แม้ว่าผู้อื่นจะขัดขืนก็ตาม อำนาจนั้นมี 2 อย่างคือ อำนาจตามกฎหมาย และอำนาจตามบารมีที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบให้เป็นใหญ่หรือเป็นผู้นำโดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับ ประชาชนเชื่อถือ และเลื่อมใสในบารมีที่เป็นบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของความดีหรือสัญลักษณ์ของคุณธรรมและจริยธรรม

       ๑.ที่มาของอำนาจ (Power) การได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองแม้จะไม่มีการเลือกตั้ง หรือมีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมือง เข้ามาเสนอตัวเพื่อทำงานให้กับสังคมก็ตาม แต่วิธีการสรรหาก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนยังไม่มากเท่าใดนัก ดังปรากฏในพระสูตรว่า

 

            “วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์นั้นอันมหาชนสมมต (แต่งตั้ง) ฉะนั้น คำแรกว่า “มหาสมมต มหาสมมต” จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเป็นใหญ่แห่งที่นาทั้งหลาย  ฉะนั้น คำที่ ๒ ว่า “กษัตริย์  กษัตริย์” จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้นให้ชนเหล่าอื่นยินดีได้โดยชอบธรรม ฉะนั้น คำที่ ๓ ว่า “ราชา ราชา” จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงกษัตริย์ขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น”

      

 

 

 

 

 

 

 

 

   

 

       ๒. การใช้อำนาจ (Exercise of Power) การใช้อำนาจในระยะเริ่มต้นไม่มีอะไรยุ่งยากและซับซ้อนเพราะการบัญญัติกฎหมายหรือ นิติบัญญัติ มหาชนเป็นผู้ร่วมกันตราขึ้น ส่วนอำนาจทางการบริหาร และตุลาการเป็นหน้าที่ของกษัตริย์ หรือผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง ทั้งนี้เมื่อประชาชนพร้อมใจกันแต่งตั้งอำนาจหน้าที่ให้แล้วผู้ปกครองย่อมจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด จึงทำให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของอำนาจหน้าที่ ๒ ประการ คือ ตำแหน่ง (Position) ที่ได้รับมอบหมาย และบทบาท (Role) ของบุคคลผู้ใช้อำนาจนั้น

           ๓. อธิปไตย (Sovereignty) คือความเป็นใหญ่ในการจัดการบริหารบ้านเมือง เมื่อประชาชนแต่งตั้งขึ้นให้อยู่ในตำแหน่งก็ย่อมจะมอบอำนาจและสิทธิ์บางส่วนให้กับผู้นำแม้ผู้นำ หรือกษัตริย์ ในยุคแรกจะไม่มีความชัดเจนเท่าปัจจุบัน แต่รัฐบาลก็มีเสถียรภาพอยู่มากมิใช่น้อยหากจะว่าไปแล้ว อำนาจอธิปไตยหรือรัฐบาล แม้กระทั้งความหมายของรัฐ  พระพุทธเจ้าไม่ได้มองเป็นประเด็นสำคัญ พระพุทธองค์มิได้ตรัสความหมายของรัฐเอาไว้โดยตรง แต่เท่าที่ได้ประมวลจากบริบทของคำสอน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทางการเมือง ทำให้พอสรุปได้ว่า “รัฐ” ในทัศนะของพระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าสถานที่ค้นหาสัจจะธรรมและการอยู่ดีกินดีของประชาชน ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงมุ่งถึงเป้าหมายทางสังคมเป็นสำคัญมากกว่ารูปแบบของรัฐหรือการปกครอง

                   เราจะเห็นได้ว่า รัฐตามแนวพระสูตรนี้ไม่ใช้รัฐแบบเทวสิทธิ์ ซึ่งถือว่าอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองมาจากเทวะหรือพระเจ้า แต่ผู้ปกครองมีลักษณะเป็นธรรมราชา คือผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมะ ผู้ใช้ธรรมะในการปกครอง อำนาจการปกครองยังเป็นของประชาชนอยู่ เพราะในระบบนี้ประชาชนมิได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครองอย่างสิ้นเชิงดังเช่นในปรัชญาการเมืองของ โธมัส ฮอบส์ ซึ่งถือว่าประชาชนทำสัญญากันเองแล้วยกอำนาจให้แก่ผู้ปกครองโดยที่ผู้ปกครองมิใช่คู่สัญญา ในกรณีอัคคัญสูตรประชาชนพร้อมใจกันมอบอำนาจให้ผู้ปกครองก็จริง แต่ก็มีพันธะสัญญาว่าผู้ปกครองจะต้องปกครองโดยธรรมและประชาชนาจะแบ่งผลประโยชน์ให้

            ๔. รูปแบบแห่งรัฐ (Forms of States) ในพระสูตรไม่ได้ระบุรูปแบบของรัฐเอาไว้ว่าเป็นแบบไหน หากแต่ระบุถึงความเป็นมาโดยภาพรวมของรัฐเท่านั้น เมื่อจะอนุมานหรือเทียบเคียงได้ ดังนี้

                             . รัฐเดี่ยว เป็นการปกครองที่มีผู้นำสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลกลาง โดยมีเสนาอำมาตย์และปุโรหิตเป็นผู้คอยช่วยเหลือในการบริหารบ้านเมืองเป็นลำดับชั้นลงมา

                             . ระบอบราชาธิปไตย ผู้นำในยุคนั้นสมัยนั้นมีผู้นำที่เรียกว่าราชา ที่มีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองโดยกลุ่มคนในวรรณะเดียวกัน หรือครอบครัวเดียวกัน

 

       ๕. ระบบกฎหมาย และการลงโทษ โทษหรืออาญานั้นในพระสูตรได้ทำเป็นขั้นเป็นตอนจากโทษเบาหรือลหุโทษ ก่อนแล้วเพิ่มเป็นโทษหนักขึ้น ๆ เป็นครุโทษตามลำดับ เมื่อมีการจับตัวผู้กระทำความผิดได้ ก็มีการลงโทษ การจับคุมและการลงโทษในครั้งนั้นไม่มีกระบวนการที่ซับซ้อน แต่เป็นการจับและพิจารณาโดยชุมชนที่ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งมีลำดับถึง ๓ ขั้นตอนด้วยกันคือ ครั้งที่หนึ่ง ตักเตือน สั่งสอนกก่อน ครั้งที่สอง เรียกมาทำทัณฑ์บน ครั้งที่สาม ลงทัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นมติของชุมชนที่ใช้ร่วมกันจึงเป็นการลงโทษตามความผิด การลงโทษครั้งที่ ๑,๒ เป็นลหุโทษ  ส่วนครั้งที่ ๓ เป็นครุโทษที่มีความชัดเจนในวิธีการ ดังคำกล่าวในพระสูตรว่า

 

            “แม้ครั้งที่  ๓  คนทั้งหลายได้จับเขาแล้วกล่าวว่า คุณ คุณทำกรรมชั่วที่รักษาส่วนตนไว้แล้วถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภคคุณอย่าได้ทำอย่างนี้อีก คนเหล่าอื่นใช้ฝ่ามือบ้าง ก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้างทำร้าย วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นเหตุ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ปรากฏการครหาจึงปรากฏ การพูดเท็จจึงปรากฏ การถือทัณฑาวุธจึงปรากฏ” 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                    กล่าวโดยสรุป รัฐในอัคคัญญสูตร เป็นสูตรที่ว่าด้วยการกำเนิดแห่งรัฐที่พระพุทธเจ้าทรงได้ชี้ให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นและพัฒนาการ จากสัตว์ผู้ประเสริฐจากอาภัสสรพรหมสู่สามัญด้วยกระบวนการของการกระทำที่ลองผิดลองถูกด้วยอำนาจของกิเลสในที่สุดก็พัฒนาเป็นบ้านเรือน  ชุมชน เมือง จนมีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชและที่สำคัญมีระบบกฎหมายและการลงโทษที่เหมาะสำหรับคนที่มีจำนวนน้อย  และพระสูตรนี้เองเป็นการลมล้างความเชื่อในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ที่มีมาก่อนพระพุทธเจ้าถึงพันปี

 

 

หมายเลขบันทึก: 457770เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2011 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท