ไปเปิดบ้าน KM กันเถอะ (25) รู้ไม่รู้ ก็ไม่รู้ ?


 

คำถาม อ.ประพนธ์ ที่ 2

ประเด็น รู้ก็ไม่พูด ไม่รู้หรือเปล่า เราก็ไม่รู้ ... เราจะมีวิธีการพูดอย่างไร ที่จะทำให้เขาพูด ให้เขานำเสนอ เหมือนกับ รู้ไม่รู้ ก็ไม่รู้

จะมี 2 อาการ สำหรับมือใหม่ที่ทำเรื่อง KM

หนึ่ง ไม่พูด สอง ไม่ฟัง อาการหนักทั้งนั้น

การไม่พูด เราคุ้นเคยอยู่แล้ว พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง พูดมากเดี๋ยวงานเข้า พูดมากเจ็บตัว พูดมากเดี๋ยวโดนอัดกลับมา หงายหลัง ตกลงมันไม่ save ที่จะพูด ชัดเจน ส่วนใหญ่ที่ไม่พูด เพราะรู้สึกว่า ไม่ save ที่จะพูด เพราะรู้สึกต่ำต้อย รู้สึกถูกกด

เพราะฉะนั้น มันมีทางเดียว ถ้าจะให้เขาพูด ก็ต้องแก้บรรยากาศ แก้สิ่งเหล่านี้ ต้องให้เขาสร้าง รู้ว่าพูดไปแล้วไม่ได้เป็นอย่างที่เขากลัว มีทางเดียวที่จะแก้ตรงนี้ได้ กรณีไม่พูด

อันหนึ่ง ถ้าในวงนั้นมีผู้บริหาร ก็ต้องกระซิบ ผู้บริหาร ผมเชื่อว่า ส่วนใหญ่ที่ไม่พูด ก็เพราะผู้บริหาร เขาเรียกว่า เป็นเด็กสวน ชอบสวนกลับ … ถ้าหัวหน้าสวนกลับ จะแรงมาก ก็หยุด ไม่พูดดีกว่า

พวกเรากระซิบผู้ใหญ่หน่อยว่า ... ให้ท่านฟังเยอะๆ คือ ยังไม่ต้องสวน นิ่งๆ ถึงจะไม่เห็นด้วยก็ใจเย็นนิดหนึ่ง

โดยมากเราจึงต้องฝากความหวังไว้กับคนที่เราเรียกว่า คุณอำนวย เพราะมันต้องมีการอำนวยวง ลปรร. ถ้าเราปล่อยตามยถากรรม พฤติกรรมของคนก็คือ คนนี้ไม่พูด และคนนี้ไม่ฟัง ก็พังแล้ว จึงต้องมีคนที่เป็นคุณอำนวย เพื่อตอบคำถามอันนี้ ว่า จะทำอย่างไรให้บรรยากาศในวงผู้ใหญ่ พูดน้อยลง ฟังมากขึ้น หยุดสวน ต้องมีการเตรียมกันก่อน คุณอำนวยต้องไปเตรียม และช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ทุกคนฟังกัน เพราะถ้าไม่ฟังกัน คนพูดก็จะไม่พูด ก็อาจหยุดเองโดยธรรมชาติ

เพราะฉะนั้น การที่เราฟัง จะทำให้คนนั้นรู้สึกดี และเขาจะค่อยๆ กล้ามากขึ้น จากที่เขารู้สึกว่า เขาพูดมามีคนสนใจ เช่น ฟังที่ห้องผ้าพูด ก็คือ แรกๆ ก็พี่แสงที่มีความรู้เรื่องผ้าเยอะ แต่คุณศุภรัตน์ บอกว่า ในที่สุดไปรู้ว่า คนที่มีความรู้เรื่องผ้า มีอีกคนหนึ่ง เป็นผู้ชาย เราก็ชวนเขามาเข้า COP ตอนแรกมาก็ไม่พูดอะไร แต่พอบรรยากาศมันให้ แกรู้อะไรก็บอกหมด

คือ มนุษย์เราเมื่อมีบรรยากาศ ลึกๆ เรามีจิตใจเป็นผู้ให้ โดยเฉพาะคนไทย เพียงแต่ว่า ให้เฉพาะสิ่งที่ฉันรู้สึกปลอดภัย ให้เฉพาะคนที่ฉันรู้ใจ เพราะฉะนั้น เราต้องทำบรรยากาศนั้นให้ได้ บรรยากาศที่ปลอดภัย บรรยากาศที่รู้ใจ แล้วเขาจะรู้สึกภูมิใจมากที่เขาเป็นผู้ให้

เราเจออย่างนี้ มา เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เราเจอช่างระดับล่างๆ ที่ไม่ได้จบปริญญา เป็นอย่างนี้ คือ เขาไม่ได้อยากพูด ไม่ได้อยาก share แต่พอวันหนึ่งให้รู้สึกว่า แม้แต่คนจบปริญญาตรี ปริญญาโท ยังนั่งฟังเขาเลย เพราะว่า เรื่องนี้ เขารู้ดีที่สุด เรื่องเชื่อมท่อ แต่แรกๆ เขาไม่กล้าเล่า เพราะว่า จะมาเล่าให้พวกปริญญาฟังหรือ เราแค่ ปวช. มันมีสิ่งที่เขารู้สึกต่ำต้อยอยู่ข้างใน ผมรู้สึกว่า ระดับปฏิบัติที่เขามี tacit knowledge ดีมาก แต่เขาไม่กล้าพูดออกมา จึงเหลือตรงนี้ ที่ถ้าเราพลิกได้ บรรยากาศก็จะออกมา

เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ เราจึงให้เขา share เป็นเรื่องเล่า เป็น case ที่เขาทำได้สำเร็จ เห็นชัด เขาทำมาได้อย่าง โดยที่เราใช้คุณอำนวย ช่วยซักถาม กรรมวิธีต่างๆ นานา

รวมเรื่อง ไปเปิดบ้าน KM กันเถอะ

 

หมายเลขบันทึก: 457091เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2011 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"เราแค่ ปวช. มันมีสิ่งที่เขารู้สึกต่ำต้อยอยู่ข้างใน"

จริงๆ แล้วเราก็ไม่อาจปฏิเสธได้เต็มปากหรอกว่า สังคมของคนเรียนสูงไม่ได้เหยียดหยามคนเรียนน้อย หรือต่ำกว่าตัว ความรู้สึกแบบนั้นมันมีอยู่จริงๆ แต่ถ้ากลับกัน ถ้าคนเรียนน้อยมีกื๋น...คิดกลับกันขึ้นมาว่า "ช่างแกสิพวกหัวสูงเชอะเรื่องง่ายๆ แค่นี้ก็ไม่รู้" แล้วเขายิ้มเยาะเย้ยอยู่ในใจ อันนี้ก็มองข้ามไม่ได้นะครับ คงต้องกลับมามองเรื่องของการสร้างความรัก เรื่องของการให้ได้มาซึ่งใจกัน เมื่อได้ใจกันแล้ว ยศฐาบรรดาศักดิ์ เรียนสูงเรียนน้อย เจ้านายลูกน้อง ข้าราชการลูกจ้าง ผู้บริหารคนงาน ไม่ใช่สาระของการ Share อีกต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท