ความหมายของผู้นำ


ความหมายของผู้นำ



2 ความหมายของผู้นำ ผู้นำ (Leader)
คือ บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการยินยอมจากสมาชิกในกลุ่มให้เป็นหัวหน้า
หรือมีตำแหน่ง และหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในกลุ่ม (ประสาน หอมพูล และทิพวรรณ หอมพูล
2537: 82 อ้างอิงมาจาก สุทัศนา มุขประภาต.2545 : 5) Neagley,
Evans และ

Lynn
(อ้างอิงมาจาก กวี วงศ์พุฒ. 2539 : 13 – 15 ) ได้ให้ความหมายของผู้นำ (Leader) ไว้ 6 ประการ คือ ผู้นำ คือ ศูนย์กลางของกลุ่ม (Central Figure) ซึ่ง หมายถึง ผู้นำจะต้องเป็นศูนย์กลางของกลุ่ม
เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกว่าบุคคลอื่น ๆ ในกลุ่ม ผู้นำ คือ
ผู้กำหนดเป้าหมายของกลุ่ม (Group Goal Determines )
ซึ่งหมายถึง ผู้นำจะเป็นผู้ตัดสินในการกำหนดเป้าหมาย
หรือจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานของกลุ่ม ผู้นำ คือ ผู้ที่กลุ่มเลือก
หรือผู้ที่เป็นที่นิยมของกลุ่ม (Sociometric Choice)
ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกภายในกลุ่ม
เพราะเป็นที่นิยมชมชอบของกลุ่ม เนื่องจากเห็นว่ามีความรู้ ความสามารถ
และคุณสมบัติพิเศษที่จะนำกลุ่มได้ ผู้นำ คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมผู้นำ (Leadership
Behavior) ซึ่งหมายถึง
บุคคลที่แสดงหรือประพฤติปฏิบัติเป็นผู้นำในเรื่องต่าง ๆ เสมอ
โดยจะอาสาสมัครนำเองก็ได้ หรือแสดงตนเป็นผู้นำในขณะที่กำลังร่วมกิจกรรมภายในกลุ่มก็ได้
ผู้นำ คือ ผู้ปฏิบัติตามบทบาท (Role – Image) ซึ่งหมายถึง
บุคคลที่แสดงพฤติกรรมให้เป็นไปตามบทบาท
ซึ่งสมาชิกภายในกลุ่มเห็นพ้องกันว่าน่าจะแสดงบทบาทเช่นนั้น ผู้นำ คือ
ผู้ก่อให้เกิดความผสมกลมกลืนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่มที่ตั้งไว้
เป็นผู้ตั้งใจ และพยายามทำความเข้าใจความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม
และจะต้องคำนึงถึงความสามัคคี เป็นสำคัญ วิภาดา คุปตานนท์ (2544: 237) กล่าวว่า
ผู้นำ (Leader) หมายถึง
บุคคลที่มีความสามารถในการที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย
โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศคติและการกระทำของผู้อื่นสรุปความหมายของผู้นำ ผู้นำ คือ
บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง
เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท
และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์
ความสมัคร3สมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ
บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประเภทของผู้นำ รองศาสตราจารย์เทื้อน
ทองแก้ว และรองศาสตราจารย์เฉลา ประเสริฐสังข์ (2542 : 59) แบ่งผู้นำออกเป็น 3
ประเภท คือ1. ผู้นำโดยชาติตระกูล ได้แก่ พระมหากษัตริย์
หัวหน้าเผ่า เป็นต้น2. ผู้นำโดยการแต่งตั้ง
ได้แก่ ผู้นำที่เกิดจากกระบวนการได้มาตามระเบียบหรือกฎหมาย เช่น
ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการโรงเรียน ฯลฯ 3. ผู้นำโดยการเลือกตั้ง ได้แก่
ผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากหมู่คณะ โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง เช่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ผู้นำทั้ง 3 ประเภทข้างต้น
จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร แยกกันไปตามลักษณะของ องค์การ หรืองาน เช่น
องค์การทางการศึกษา
ผู้อำนวยการโรงเรียนก็จะต้องทำหน้าที่ในการบริหารสถาบันการศึกษาให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาในส่วนงานที่รับผิดชอบผู้บริหารในโรงเรียนนี้
จึงถือว่าเป็นผู้นำทางการศึกษา แต่ผู้นำทางการศึกษา
อาจมิใช่เป็นผู้บริหารโรงเรียนเสมอไป อาจเป็นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ
ทางการศึกษาก็ได้ จากการวิเคราะห์ผู้นำที่กล่าวมาข้างต้น แบ่งประเภทแล้วจะมี 3
ลักษณะ คือ 1. พิจารณาจากการที่ผู้นำได้มาซึ่งอำนาจ ผู้นำได้อำนาจปกครอง
บังคับบัญชา หรือได้รับการยินยอมให้เป็นผู้รับผิดชอบบริหารงาน อำนาจของผู้นำ
แบ่งออกได้ดังนี้ 1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leaders) หรือผู้นำตามกฎหมาย
ผู้นำจะได้อำนาจมาจากกฎหมาย กฎหมายจะกำหนดอำนาจหน้าที่เอาไว้
ผู้นำจึงใช้อำนาจได้ตามกฎหมาย หัวหน้าส่วนราชการจึงได้อำนาจในลักษณะเช่นนี้ 1.2
ผู้นำที่ใช้พระคุณ (Charismatic Leaders) หมายถึง
ผู้นำที่สามารถปกครองบุคคลโดยไม่มีอำนาจทางกฎหมาย แต่ได้รับกายอมรับ
ยกย่องให้เป็นผู้นำ มีผู้เชื่อฟัง และยินดีปฏิบัติตาม
เป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นจากผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ได้บังคับ 1.3
ผู้นำตามประเพณีหรือตามสัญลักษณ์ (Tradition & Symbolic Leaders) หมายถึง
ผู้นำที่ได้รับการยกย่องนับถือ และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งจะมีลักษณะตกทอด เช่น
พระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือหัวหน้าเผ่าบางเผ่า เป็นต้น
จะได้รับการยกย่องนับถือด้วยแรงศรัทธาอย่างมากมาย
ถือเป็นแหล่งรวมน้ำใจของบุคลากรในองค์การหรือสังคมนั้น ๆ



4 2. การพิจารณาลักษณะของผู้นำจากการใช้อำนาจ (รองศาสตราจารย์เทื้อน
ทองแก้ว และรองศาสตราจารย์เฉลา ประเสริฐสังข์ 2542 : 61 อ้างอิงมาจาก เสริมศักดิ์
วิศาลากรณ์ 2525 : 59 – 60 ) แบ่งผู้นำออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.1
ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Leader) เป็นผู้นำที่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนเอง การตัดสินใจ การแก้ปัญหาต่าง ๆ
ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมน้อย การปฏิบัติงานมีคำสั่งมาโดยเด็ดขาด ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น
2.2 ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leader)
เป็นผู้นำที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจ
การแก้ปัญหาต่าง ๆ จะปรึกษาหารือร่วมกัน
เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
จะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 2.3 ผู้นำแบบตามสบาย (Lessez – Faire Leader) เป็นผู้นำที่มอบอำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเต็มที่
ผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำอย่างไรก็ได้ตามสบายจะแยกตัวออกไปอยู่ ห่าง ๆ Likert (1961, อ้างอิงมาจาก สมยศ นาวีการ. 2540 : 175
-176) แบ่งผู้นำออกเป็น 4 ประเภท คือ1. ผู้นำแบบเผด็จการเต็มที่ (Exploitative Autocratic Leader)
เป็นผู้นำที่ตัดสินใจคนเดียว
มาตรฐานและวิธีการปฏิบัติได้กำหนดไว้อย่างตายตัวโดยผู้นำ2. ผู้นำแบบเผด็จการอย่างเมตตา (Beneolent Autocratic Leader)
เป็นผู้นำที่ยังสั่งการแต่เพียงผู้เดียวอยู่ แต่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะมีอิสระอยู่บ้าง
3. ผู้นำแบบปรึกษาหารือ (Consultative Leader)
เป็นผู้นำที่ปรึกษาหารืออภิปรายร่วมกันกับผู้ใต้บังคับบัญชา
แล้วจึงกำหนดเป้าหมายและตัดสินใจสั่งการในการปฏิบัติงานโดยผู้นำ 4.
ผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participaive Leader) เป็นผู้นำที่ตัดสินใจสั่งการต่าง
ๆ การแก้ปัญหาต่าง ๆ กระทำร่วมกันกับกลุ่ม

หมายเลขบันทึก: 456949เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2011 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท