หน่วยระบบกับการทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร


การคิด

หน่วยระบบกับการทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร

            หน่วยระบบเป็นหน่วยของการทำงาน (A system is a working unit)  มีปัจจัยนำเข้า ปัจจัยการผลิต ผลผลิต ซึ่งทั้งหมดมีขอบเขตเฉพาะหน่วยที่สร้างขึ้น หน่วยระบบ คือ การรวมตัวกันขององค์ประกอบ โดยมีแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น

            หน่วยการทำงานเป็นการนำระบบต่างๆ มาสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งองค์ประกอบอาจไม่คงที่ก็ได้ พิจารณาจากการก่อตั้งองค์การต่างๆ ย่อมมีส่วนประกอบของจาก คน ที่จัดเข้าเป็นระบบที่มีเป้าหมายองค์การเป็นที่ตั้ง  มีการจัดระบบการทำงานที่แตกต่างกันไป แต่ผลของการรวมระบบดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลผลิตจากองค์การ โดยมีปัจจัยนำเข้า

            เมื่อเราเข้าใจระบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วนำมาจัดการบริหารงานในองค์การ โดยยึดรูปแบบต่างๆ ที่เอื้อต่อกัน ไม่ว่าระบบการบริหารการจัดการภายในองค์การที่มีความยืดหยุ่น แต่มีเป้าหมายที่แน่นอน ทุกส่วนในองค์การหากเกิดปัญหาขึ้น ผู้บริหารไม่ควรมองแต่จุดใดจุดหนึ่งเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา หากมองลึกลงไปว่า เมื่อทุกส่วนสัมพันธ์กัน เมื่อมีปัญหาทุกส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกัน และควรหาทางแก้ปัญหาที่รากเง้าของที่มาของปัญหา แต่ไม่แก้เฉพาะที่เกิดปัญหา แล้วแก้เฉพาะส่วนนั้นๆ  เพราะหากกระทำเช่นนั้น ปัญหาย่อมไม่หมด  เพราะมันเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน และเป็นปัญหาในภาพรวมที่ผู้บริหารต้องมองให้เห็นทั้งหมด (The whole )

การคิดเชิงระบบกับการพัฒนาองค์การ

            การคิดเชิงระบบเกี่ยวกับองค์การ คือ องค์การที่มีประสิทธิภาพ ต้องนำระบบการคิดเชิงระบบมาจัดการระบบต่างๆ ในองค์การให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน องค์การประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ทั้งหมดรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายพัฒนาองค์การ ฝ่ายขาย ฝ่ายวิศวกรรม หรือฝ่ายบัญชี  ถ้าเรายังเราคิดเชิงระบบไม่เป็นเราจะมองว่า ฝ่ายผลิตคือองค์การ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย คือองค์การ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราก็จะมองเฉพาะการแก้ปัญหาที่จุดนั้นหรือมองเฉพาะส่วนที่คิดว่าเป็นปัญหา แล้วแก้เฉพาะส่วนนั้น และคิดว่าตนแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และมองว่านั่นคือการแก้ปัญหาองค์การ

            การคิดเชิงระบบที่แท้จริง เราจะมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากองค์การแต่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ปัญหาทุกอย่างมันสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้

            ธุรกิจหรือการทำงานใดๆ ของมนุษย์ล้วนเป็นระบบทั้งสิ้น การกระทำทุกอย่างจะถูกโยงด้วยสายใยแห่งความสัมพันธ์กันและกันตลอดเวลา แต่เราไม่สามารถมองเห็นได้ในทันที ต้องใช้เวลากว่าเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น โดยที่เราไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหากปรากฏการณ์ที่มีเราอยู่ร่วมด้วยยากที่จะมองเห็น เช่น ครอบครัวที่ลูกติดยาเสพติด พ่อแม่จะไม่มองเลยว่าเหตุการณ์นั้นตนเป็นต้นเหตุที่ส่งเสริมให้เกิดขึ้น เรามองไม่เห็นกระสวนแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครอบครัวเรา

แก่นแท้ของการคิดเชิงระบบ

            1. มองเห็นความสัมพันธ์กันและกัน ไม่ใช่มองเหตุผลเป็นเส้นตรงต่อๆ  กันไปเท่านั้น

            2. มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่มองสิ่งต่างๆ  ที่เกิดขึ้นเท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #การคิด
หมายเลขบันทึก: 456548เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท