การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ควรเพิ่มพูนด้วย AI


.ใช้ AI ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    จากการที่ผมได้เข้าร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ครูเพื่อศิษย์"  ทำให้ผมค้นพบอยู่อย่างหนึ่งว่า มีคุณครูเราหลายท่าน ยัง "ถามไม่เป็น" ครับ


   นั่นคือ พอคุณครูเล่าเรื่องที่เป็นความสำเร็จในการเรียนการสอน ก็มีคุณครูที่กำหนดให้ถาม  เมื่อถามแล้วทำให้ผมรู้สึกสะดุด  คือ


      "น้องเป็นครูมานานหรือยัง"

      "เรียนจบที่ไหนมา"

       "บ้านอยู่ที่ใหน"

           ฯลฯ


     คำถามประเภทนี้  ผมก็สังเกตเห็นว่า น้องที่กำลังเล่าเรื่องอยู่ เขา "สะดุด"  ครับ    คือ  เหมือนกับว่า  ไม่ได้ฟังเื่รื่องเล่าของเขาเลย


      อีกที่หนึ่งครับ   ผมไปประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   กับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง   ก็ให้แต่ละคน  เล่าเรื่องที่ตัวเองทำมา


       พอถึงคิวผมเล่าบ้าง ผมก็เล่าไปในเรื่อง "การสื่อสารด้วยหัวใจ" ที่ผมทำอยู่   ก็ปรากฏว่ามีนักวิชาการท่านหนึ่ง เข้ามา "วิเคราะห์" เรื่องที่ผมเล่า   วิเคราะห์โดยอ้างหลักพุทธศาสนาเสียด้วย


       การเข้ามาวิเคราะห์  แสดงว่าไม่ได้สนใจที่จะฟังเลย สนใจที่จะพูดมากกว่า   นั่นคือ  ต้องการแสดงความ "เหนือกว่า"  หรือ ต้องการเป็น "พระเอก"  เสียเอง


       บางคนพอเล่ามา ก็มีอีกคน  นำเรื่องของตัวเอง มาเล่าแข่ง  แถมยังแสดงว่า  เขามีวิธีการที่ดีกว่า  คนเล่าเสียอีก


         ผมว่า  เรื่องการ ถาม  หรือ การโต้ตอบ  ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ก็สำคัญมากๆๆๆ  เลยครับ


         เขียนมาถึงตอนนี้  ทำให้ผมนึกถึงการใช้คำถามแบบ AI ครับ   แปลเป็นไทยว่า สุนทรยปรัศนี  บ้าง สุนทรียสาธก บ้าง    มีนักวิชาการเขียนไว้หลายท่าน  แต่ผมชอบอ่านของ อ.โย  ครับ


         ผมว่า ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  คงจะต้องบอกหลักการของการใช้ "คำถาม"  ด้วยคำถามแบบ AI บ้าง  ก็จะทำให้สมบูรณ์มากขึ้นไปอีกครับ


คำสำคัญ (Tags): #ครูเพื่อศิษย์
หมายเลขบันทึก: 456539เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แสดงว่าไม่ได้สนใจที่จะฟังเลย สนใจที่จะพูดมากกว่า..
  • ไม่ฟัง หรือฟังแต่ก็ไม่ได้ยิน ทั้งที่พูดเรื่องเดียวกัน แต่ไปคนละเรื่อง เป้าหมายมิใช่เรื่องที่คุย แต่เป็นตัวเอง เพียงแค่อยากให้เห็นว่าฉันสำคัญกว่า เจออย่างนี้บ่อยครับ เฮ้อ!
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆนี้ครับ

ครับ อ.ธนิตย์ครับ  หลายคน  ก็ต้อการที่จะพูด มากกว่าต้องการที่จะฟังครับ  เพียงแค่อยากให้เห็นว่า "ฉันสำคญกว่า"   ผมก็เจอบ่อยครับ   แบบนี้    คนพูดก็ไม่อยากพูดต่อครับ - ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาแชร์ประสบการณ์ด้วยครับ

ถ้าตั้งใจ เราจะค่อยๆ ฝึกไปพร้อมๆ กัน

ทักษะการถาม ในเชิง AI เป็นทักษะ "คุณอำนวย" ในการจัดการความรู้

จะทำให้เราสามารถดึง "ความรู้ฝังลึก/ Tacit Knowledge" และเสริมพลังใจให้กับผู้เล่าได้ค่ะ

ครับ คุณอ้อ ครับ 

      ก็คงจะต้องแนะนำการถามในเชิง AI  เสริมไปให้คุณครูในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้างพอเข้่าใจ   ก็จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พัฒนาไปได้อีกมากเลยครับ 

     นั่นคือ ทั้งดึงความรู้ฝังลึก   และ เสริมกำลังใจให้กับผู้เล่า

     บางที  ถ่าไม่มี AI  นี่   ก็อาจจะไม่ได้ความรู้ฝังลึกบางอย่าง  และ ผู้เล่าก็ไม่อยากเล่า   เพราะไม่มีพลังในการเล่า ที่มาจากคนฟัง

                          ขอบคุณครับ

คนไทย เรามักเคยชิน กับ การถาม แบบลองภูมิกัน เพื่อให้เกิด การโต้แย้ง และเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง (คนกลาง) ที่เรียกว่า ปุจฉา-วิสัชชนา..การถาม แบบสืบสวน หรือ การถาม เพื่อช่วยรื้อฟื้นประสบการณ์เพื่อประโยชน์ต่อการถอดบทเรียนนี่เป็นเรื่องใหม่..ถ้า คนเล่าเรื่อง ต้องการให้ ผู้ฟัง สนใจ และ มีปฏิกิริยาตอบกลับ และไม่ได้คำนึงแค่จุดประสงค์ต่อ การจัดการความรู้ เพื่อประโยชน์เฉพาะองค์กร ผมว่า ไม่น่าจะรังเกียจการถามจาก ผู้ฟัง ไม่ว่าจะถาม เพราะจุดประสงค์ใด นะครับ.(.เว้นแต่ การใช้วาจาไม่สุภาพไม่ให้เกียจกัน.).แต่ที่เห็นกันมากๆ คือ เงียบ ไม่หือ ไม่อือ ซะมากกว่า 55555..

คุณลุงรักชาติราชบุรีครับ   การถามเป็นเรื่องที่ดีครับ  แต่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรามักใช้การถามเพื่อให้ได้ความรู้ฝังลีกออกมาครับ   ทีนี้ การถามเพื่อให้เกิดการโต้แย้ง น่าจะเป็นการอภิปรายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท