GotoKnow

คุมประพฤติเด็กและเยาวชน

สำนักงาน คุมประพฤติชุมพร
เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2548 15:38 น. ()
แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2555 09:11 น. ()

          เด็กและเยาวชน  ที่กระทำผิดแต่อยู่ในวิสัยที่สามารถปรับปรุงแก้ไขตนเองได้  ศาลอาจจะใช้วิธีการรอการลงโทษหรือปล่อยตัวออกมาจากสถานฝึกอบรม โดยใช้วิการคุมประพฤติ  ซึ่งมีเงื่อนไขให้เด็กและเยาวชนต้องปฏิบัติตาม ดังนี้

     1.  ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ

     2.  ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพให้เป็นกิจจะลักษณะ

    3.  ให้ละเว้นการคบหาสมาคม หรือความประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก

    4.  ให้ไปรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติดให้โทษ ความบกพร่องทางร่างกายหรือทางจิตหรือความเจ็บป่วยอื่น

     5.  เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้มีการกระทำผิดอีก  เช่น  กำหนดให้ทำงานบริการสังคมตามที่ศาลเห็นสมควร  โดยอยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ

           ปัจจุบัน  กรมคุมประพฤติ  มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี  โดยติดตามดูแลในระหว่างที่เด็กและเยาวชนเหล่านี้กลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัวและดูแลให้ความช่วยเหลือ แนะนำให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดไว้  หากปฏิบัติตามครบถ้วนและไม่กลับไปกระทำผิดอีกก็จะพ้นจากการคุมประพฤติไปด้วยดี

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย