สุ จิ ปุ ลิ vs ไตรสิกขา vs โพชฌงค์ ๗ vs มหาสติปัฏฐาน๔ vs LO&KM


การบริหารความรู้ อยู่ที่ใจเราเอง รู้ใจ ทำจิตว่างได้ ก็จะเกิด "ตื่น รู้ เบิกบาน"
บทที่ xxxx   สุ จิ ปุ ลิ   ในแง่ ของ การเรียนรู้   

ยกตัวอย่าง  การทำ สุ จิ ปุ ลิ  ในการฟังธรรม

สุ = ฟัง   จด อ่าน  อาจจะรวมไปถึง  สนทนา  ดู  ฯลฯ   เสพความรู้  รับรู้  

จิ =  นำไปปฏิบัติ   ทำทันที  โยนิโสมนสิการ   ย้อนดูตน  โอปนยิโก   นั่นคือ  ประมวลความรู้ ข้อธรรม  อย่างมี สติ  พิจารณาธรรมนั้นลงไปที่กาย เวทนา จิต ธรรมในตัวของเรา  เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสภาวะจิต  มีความเพียร ขยันทำไปเรื่อยๆอย่าวอกแวก  

 ปุ = เกิดคำถาม  โดยเฉพาะ คำถามที่ยิ่งใหญ่  เช่น  เกิดมาทำไม  ดับทุกข์ได้ไหม ฯลฯ  เมื่อเกิดคำถามขึ้น  ก็อย่าให้ความคิดต่างๆ มาปรุงแต่งจิตของเราได้ ( จิต กับ ความคิด คนละตัวกันนะครับ ใครที่ยังแยกไม่ออก คงต้องไปฝึกมาก่อน)   นำเรื่องไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)มาเป็นคำตอบของทุกเรื่อง     ให้ตั้งอกตั้งใจมีสติ พิจารณาธรรมในตนเองอยู่อย่างนั้น  ขยันทำไปเรื่อยๆ    จะได้ผลออกมาในเบื้องต้น คือ ความปิติ  อิ่มใจ   จากปิติ  ก็จะพบ ความสงบกาย สงบใจ (ปัสสัทธิ แปลว่า สงบกาย สงบใจ)    จิตก็จะเป็นสมาธิ   (ไม่ใช่ การทำสมาธินะครับ  หากแต่ว่า  ทำจิตให้เป็นสมาธิ  มีสมาธิในการดีดนิวรณ์ออกไป  รักษาความว่าง ความสงบของจิต)     จิตเป็นสมาธินานๆ  ปลอดจากความคิดรบกวน  จิตจะว่าง   จิตว่าง จิตก็เป็น อุเบกขา  เมื่อเป็นอุเบกขา จิตว่างแล้ว  จะคิดอะไร ก็เป็นปัญญาไปได้หมด      ตอนจิตไม่ว่าง ความคิดที่ผุดออกมาไม่ใช้ปัญญา   แต่ ตอนจิตว่างแล้ว  ความคิดต่างเป็นปัญญา    นี่แหละ  สมาธิควบคุมปัญญา    

ลิ =   เมื่อจิตว่างแล้ว    ก็ร้องว้าว เจอแล้ว  ประจักษ์แจ้งในใจแล้ว   เปลี่ยนของคว่ำเป็นหงายได้แล้ว  ความลังเลสงสัยหายไปแล้ว  (ไม่มีวิจิกิจฉา ซึ่งแปลว่า ความสงสัย)  มั่นใจ   แยก จิต กับ ความคิดได้ชัดๆแล้ว   ไม่กลัวตายแล้ว  ไม่ห่วงกายแล้ว  ไม่สงสัยในการเกิดมาในโลกนี้แล้ว  เข้าใจศีลที่แท้จริงแล้วว่าอยู่ที่ใจ  ไม่มัวเมาในศีลสังคม ศีลเลือกๆ  ศีลที่มีไว้แค่ลูกคลำ (ศีลพรตปรามาส)อีกแล้ว  ศีลที่ยิ่งใหญ่ คือ อธิศีล   นี่แหละ  เรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่     ค้นพบ ไตรสิกขา  (อธิจิต อธิศีล อธิปัญญา) แล้ว       ลิขิตลงกลางใจอย่างถาวรแล้ว    เจอ ความรู้ (Knowledge) ที่วิเศษกว่าคำบรรยายใดๆ

                U Theory :  วิถีแห่งตัวยู   ที่ Peter Senge และพวกนำมาสอน จริงๆแล้ว  มีรากฐานมาจาก ท่านทะไลลามะ  เป็นแนวพุทธครับ   เพียงแต่ ทำให้ดูแนฝรั่ง    คนหลงฝรั่งเกลียดตะวันออกจะได้ไม่เกิดอคติ   เพราะ ตัวอคตินี่แหละ ปิดกั้น การเรียนรู้  ปิดกั้นใจ   ไม่เปิดหู ไม่เปิดตา  ไม่เปิดใจ

                ผมแทรก เรื่อง โพชฌงค์ ๗  และ มหาสติปัฏฐาน ๔  ปนลงไปใน สุ จิ ปุ ลิ    ด้วยกันเลย  เพราะ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรานั้น   ทั้งหมด ทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์     ก็สรุปลงไปจัดการที่ใจ    ตัวรู้ที่ใจ   ก็เจ้าตัวรู้นี่แหละ  สำคัญมากๆ    เป็นการบริหารความรู้ที่ดีที่สุด  และ ทำให้คนเราพ้นทุกข์อย่างยั่งยืน   เมื่อเราพ้นทุกข์แล้ว   คนรอบข้างก็จะสุขตามๆกันไป ไม่มากก็น้อย 

              ตัวอย่าง  สุ จิ ปุ ลิ   ในการเรียนรู้ เรื่องอื่นๆ  ก็เช่นกัน

สุ =  จด  เขียน  ฟัง  อ่าน คุย    เท่านั้นเอง  

จิ = เอาไปทำ ทำผิด  ก็คิดใหม่ ทำใหม่  ระดมความคิด   ทำมาก = ธรรมมาก 

ถาม = ถามใจเราบ่อยๆ   ใจว่าปกติ ความคิดเราจะเป็นปกติ    ใจเราชั่ว ใจเราอคติ  ใจเราลำเอียง  ฯลฯ  ความคิดเราก็จะชั่ว    จิตชั่วเป็นจิตที่ไม่เหมาะกับการทำงาน    ไม่เหมาะกับการสนทนา   ฯลฯ  คิดนอกกรอบบ้าง    หนึ่งคำถามอย่าให้มีคำตอบเดียว    และ คำถามที่สำคัญ  ครูสมพรสอนลิงก็เน้นว่า ถามว่า "เกิดมาทำไม"  ถ้าเป็นในองค์กร อย่าถามว่า ผู้บริหารและองค์กรได้อะไร  ให้ถามว่าพนักงานได้อะไร  ถามผู้รู้บ้าง  ถามบัณฑิต (ผู้ชี้ช่องทางนิพพาน)   อย่าอยู่ในกะลา  อย่างม  อย่าสุมหัวโง่ๆ ด้วยกันนานๆ   สร้างเครือข่าย (network)  มาคุยกันใน blog เป็นต้น  

ลิ = ค้นพบแล้ว  ประจักษ์แจ้งใจแล้ว  (action learning)   เรียนรู้ได้ด้วยตนเองแล้ว (Self learning)   ค้นพบเรื่อง  "การเรียนรู้จากในสู่นอก จากนอกสู่ใน" สร้างองค์ความรู้เป็นแล้ว (Constructionism learning) 

หมายเลขบันทึก: 45547เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาธุ เยี่ยมค่ะ อาจารย์

เป็นหนทางการดับทุกข์ประจำคือดับ ชาติ ชรา มรณาได้แท้จริง

 

ผมว่า "พิจารณา" คำนี้ นัยยะของการคิดเอา แค่การฟัง

เราก็ไม่ได้ฟังทีละ ประโยค เราฟังทีละคำ ทีละ คำ

ที่น่าสังเกตมากกว่านั้น เราไปจับความหมายของคำ ทันที

มันข้ามไปตั้งหลายขั้นตอน หลายลำดับ แล้วนะผมว่า

มันอาจทำให้การเรียนรู้เราพลาดเป้าไปไกล

"สามลักษณะ" ก็ไม่สามารถคิดเอาไปใช้ได้ อันนี้ยาก

จิตไม่ชั่วมั้ง ผม จิตรับอารมณ์ หลังรับอารมณ์ต่างหาก

เกิดอะไรขึ้น ใครเป็นผู้รับรู้ หากอ้างถึง "กฏไตรลักษณ์"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท