ทีมเด็กมะเร็งองค์รวมนำเสนอ Poster KKU SHOW and SHARE September13, 2011


Best holistic care for children with cancer program, KKU show and share 2011

ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ทีมการดูแลเด็กมะเร็งอค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีโอกาสนำเสนอผลงานในงาน The fifth KKU show and share 2011, Sept 13,2011 ผลงานด้านการบริการวิชาการและวิชาชีพ งานนี้เราไปนำเสนอเป็นทีมค่ะ

 

 Bhcfc_logo

โลโก้..ดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เพื่อเด็กโรคมะเร็งและครอบครัว กลีบดอกไม้ที่รายล้อมรูปหัวใจคือดอกแพงพวย ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ ยาฆ่ามะเร็ง

โครงการดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งองค์รวมแบบครบวงจร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ Best Holistic Care for Children with Cancer Program, Srinagarind Hospital

 

เจ้าของผลงาน/สังกัด

รศ. นพ. สุรพล เวียงนนท์ และคณะ หน่วยโลหิต

วิทยาและมะเร็งเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ตัวแทนนำเสนอผลงาน ในครั้งนี้ ได้แก่ 

1. คุณเกศนี บุณยวัฒนางกุล  APN Advanced practice nurse

เด็กโรคมะเร็ง และพยาบาลชำนาญการพิเศษ ศูนย์การพยาบาล

รายกรณี ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์

2. คุณไพพร ศรีประย่า  พยาบาลชำนาญการพิเศษ แผนกการ

พยาบาลกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์

3. คุณภูริทัศน์ คู่ชัยภูมิ  นักสังคมสงเคราะห์

4. คุณศิริพร นานอก ครูโครงการ Child life โรงพยาบาลศรี

นครินทร์

5. คุณเสกสันต์ วิชัยพล ผู้จัดการบ้านชีวาศิลป์มอดินแดง ภาค

วิชากุมารเวชศาสตร์

6. คุณกรรณิกา ท่าผา เลขาฯโครงการ

Best holistic care for children with cancer มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น (ทีมงานมีมากกว่านี้ทั้งในหอผู้ป่วยเด็กทุกท่าน)

 

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

ทีมสหสาขาวิชาชีพกุมารเวชกรรมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมตั้งแต่ปี 2547 มีผู้ป่วยเด็กมะเร็งรายใหม่ 150 รายต่อปี มะเร็งในเด็กมีพยากรณ์โรคดี ต้องรักษาเป็นเวลานาน มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวสูง อัตราการรักษาให้หายขาดมากกว่าร้อยละ 70 แต่มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด และจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ทีมงานจึงได้พัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งแบบครบวงจร โดยหวังผลของคุณภาพชีวิต ทั้งนี้เพื่อการบริการที่เป็นเลิศ

 

วิธีดำเนินการ (How to)

1. จัดกิจกรรมในโรงพยาบาล ได้แก่ ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด peer group support การเล่น กิจกรรมทางศาสนา ตามตารางที่กำหนดประจำเดือน (ทุกกิจกรรมมีผู้รับผิดชอบ)

2. จัดกิจกรรมนอกโรงพยาบาล ได้แก่ค่ายเด็กโรคเรื้อรัง การสานฝัน การเยี่ยมบ้าน การดูแลหลังสูญเสีย การให้คำปรึกษาและการสื่อสารทางโทรศัพท์/จดหมาย (ทุกกิจกรรมมีผู้รับผิดชอบ)

3. การพัฒนาศักยภาพของทีมและการสร้างเครือข่ายกับศูนย์บริการทางสุขภาพของรัฐ และการพัฒนาจิตอาสา

4. จัดตั้งคณะทำงานที่เป็นกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ และกำหนดเป้าหมาย กิจกรรม และประชุมทีมติดตามงาน ปรึกษาหารือ พัฒนาทีมงานและ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือการทำงานเป็นทีมของกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์และฝ่ายการพยาบาลมีนโยบายชัดเจนส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ และได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากองค์กรภายนอก 

 

ผลสัมฤทธ์ ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา

1. จัดกิจกรรมเสริมในและนอกโรงพยาบาล

เพื่อคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว (peer group support 7 ครั้ง ค่ายเด็กโรคเรื้อรัง 7 ครั้ง ดนตรีบำบัด 165 ครั้ง ศิลปะบำบัด  208 ครั้ง เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเด็กมะเร็งระยะสุดท้ายเพื่อช่วยเหลือการควบคุมอาการและประสานเครือข่าย 32 ราย)

2. การช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีความปวดที่บ้านได้เพียงพอ (ร้อยละ 96)

3. มีเครือข่ายจิตอาสาในและนอกโรงพยาบาลจำนวน109 คน

3. สานฝันเด็กมะเร็งวัยรุ่นระยะสุดท้ายสำเร็จ 3 ราย (อัดแผ่นเสียง แสดงคอนเสริ์ต พบท่าน ว. วชิรเมธี และพระไพศาล วิสาโล )

4. มีกลุ่มผู้มาศึกษาดูงาน จำนวน 8 ครั้ง

4. บุคลากรเป็นวิทยากรในการประชุมระดับชาติ

( 30 ครั้ง) และนานาชาติ ( 5 ครั้ง)

 

ความภาคภูมิใจ “งานเห็นผล คนเป็นสุข”

 ทีมของสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ครูสอนเด็กป่วย อาสาสมัคร ตระหนักถึงผลสัมฤทธิ์ของงานที่ตั้งเป้าหมายร่วมกัน ทีมมีความมั่นคง ผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับความร่วมมือจากองค์กรเครือข่ายภายในและภายนอก อาทิ มูลนิธิเพื่อเด็กโรคมะเร็งในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ American Cancer Society มูลนิธิ Pfizer ประเทศไทย มูลนิธิสายธารแห่งความหวัง ทีมสามารถผลักดันให้เกิดนโยบายพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งครบวงจรในหน่วยงาน เน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและครอบครัวสนับสนุนการเรียนการสอน พัฒนาศักยภาพของบุคคลากร ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อม องค์กรได้รับชื่อเสียง สำคัญยิ่งกว่าคือผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและครอบครัวได้ประโยชน์สูงสุด

 

ขอบคุณ ทีมงานทุกท่าน และทุกส่วนที่สนับสนุนเพื่อเด็กโรคมะเร็งและครอบครัว มา ณ ที่นี้ ข้างล่างคือ

ภาพทีมงาน และ ผลงานบางส่วน

 

 

 

 

Kesanee , APN for children with cancer, updated August 22, 2011, 10:47 am..

หมายเลขบันทึก: 455420เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

As we have worked so hard from time to time for children with cancer and their families. Trying to put things together. Now we have done all the best for this. And it would be better way to work as a team...Kesanee

การช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีความปวดที่บ้านได้เพียงพอ (ร้อยละ 96)

ยอดเยี่ยมคะ พี่เกด :-)

Ico48 :-) ขอบคุณมากนะคะ ความปวดเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกข์ทรมานทั้งเด็กและครอบครัว ถ้าเราช่วยเหลือเขาตรงนี้ได้ดีไม่ว่าจะอยู่ รพ. หรือที่บ้าน น่าจะโอเคที่สุดค่ะ

ทีมมีกิจกรรมมากมาย ล้วนแต่มีสิ่งดีดีในแต่ละกิจกรรม

เราลองวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่สำคัญ เรียงลำดับไว้

แล้วนำมาแก้ปัญหาเชิงลึกในบางประเด็น จะได้ R2R ที่ดีได้ค่ะ

Thanks for your nice comments. It would be help. Let me try how to synthesis  so many data in hand!!

สวัสดีค่ะพี่เกด

ชื่นชมค่ะ ทีมเข้มแข็งมาก เห็นแล้วจุดประกายในการพัฒนางานมากขึ้นค่ะ

ชอบทุกกิจกรรม ภาพน่าประทับใจค่ะพี่เกด น้องๆและครอบครัวดูมีความสุขค่ะ

 

 

Ico48

ขอบคุณค่ะน้องอุ้ม ขอให้มีความสุขกับสิ่งที่กำลังทำ และจะทำต่อไปค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท