อาหารอุบาทว์..รสชาติแสนกร่อย...(๒..no-msg)


ทำไมไอคิวเด็กไทยจึงต่ำมากๆ ขนาดว่าตอนนี้ว่ากันว่า ราว 88 ..สูงกว่าลิงเล็กน้อยเท่านั้นเอง (เด็ก usa เฉลี่ยที่ประมาณ 110 )

อาหารอุบาทว์..รสชาติแสนกร่อย...(๒..no-msg)

เรื่องแพ้ผงชูรสนี้คนฝรั่งเป็นกันมาก คนไทยเดี๋ยวนี้ก็พอเป็น (เรื่องกิน เรามันถึกกว่าฝรั่งมาก)  มักมีอาการคอแห้งหิวน้ำ ส่วนผมตามมาด้วยเสลดขึ้นคอ และบางครั้งคลื่นไส้อาเจียน

 

ใช่แต่อาหารถุง อาหารซอง อาหารตามร้านก็ใส่กันมาก  ไปกินที่ไรก็มักมีอาการดังกล่าวเสมอ

 

ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ เยาวชน (อนาคตชาติ) ของเราที่สะสมสารเหล่านี้ในเซ็ลสมองตั้งแต่เกิด ...หรือนี่คือเหตุผลว่าทำไมไอคิวเด็กไทยจึงต่ำมากๆ ขนาดว่าตอนนี้ว่ากันว่า ราว 88 ..สูงกว่าลิงเล็กน้อยเท่านั้นเอง (เด็ก usa เฉลี่ยที่ประมาณ 110 )

 

เริ่มเมื่อสักปี คศ. 1985 ในอาหารสำเร็จประเภทกระป๋อง ถุง ซอง ของ  usa เริ่มมีคำว่า  NO-MSG (msg = monosodiumglutamate = ผงชูรส)  ประทับ เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าสุขภาพ ร้านอาหารเองก็เริ่มมีป้ายนี้เช่นเดียวกัน แต่จนบัดนี้ 25 ปีผ่านมา ผมยังไม่เคยเห็นอาหารไทยมีตรานี้ประทับ

 

คนไทยเราลอกอะไรเลวๆ ฝรั่งเสมอมา แต่อะไรดีๆ ของเขาเราไม่ค่อยลอก

 

 

เราเอาเงินภาษีไปรณรงค์อะไรกันมาก แม้แต่ กรมบังคับคดี ก็เอากะเขาด้วย ส่วนเรื่องสำคัญๆ เราไม่เคยรณรงค์ เลย เช่น อาหารควรบอกว่า ต้มผัดอะไรนั้นใส่แค่น้ำปลาซีอิ๊ว ก็อร่อยแล้ว เพราะของพวกนี้มีน้ำชูรสธรรมชาติอยู่ในนั้นแล้ว จากนั้นก็ไปคุมน้ำซ๊อสพวกนี้ให้ดีด้วย ไม่รู้เติมอะไรไปให้เรากินกันมั่ง

 

สมัยเด็กๆ ยากจน  กินข้าวคลุกน้ำปลาเปล่าๆ ก็อร่อยแล้ว ยิ่งเหยาะพริกป่นหน่อยๆ  แต่เด็กๆวันนี้ลิ้นของพวกเขาถูกฝึกให้เคยชินกับสารปรุงแต่งมาแต่อ้อนออก จนบัดนี้ติดกันงอมแงม ทั้งคนขายและคนกิน

 

เคยลองบอกแม่ค้าส้มตำว่า  ตำลาวไม่เผ็ดมาก และไม่ใส่ผงชูรส  ..ปรากฎว่า ตำส้มออกมา “ไม่เป็นตากิน” เลยครับ เพราะแม่ค้าเขาจะงงจนรวนไปหมด ขาดความมั่นใจว่ามันจะไม่อร่อย เขาก็จะชดเชยด้วยน้ำปลา น้ำตาล จนรสเพี้ยนไปมากๆ

 

สำหรับบะหมี่ซอง ผมกินที่ไรจะใส่ผงนัวแค่ครึ่งซองเท่านั้น ก็เหลือเฟือแล้ว  (แค่นี้เสลดก็เต็มคอแล้ว) สองวันก่อนญาติโทรมาบอกว่าเลิกกินเสียเถอะ เพราะพวกนี้มันใส่ waxเพื่อให้เส้นเหนียวหนืดอีกด้วย

 

...คนถางทาง (๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔)

หมายเลขบันทึก: 455415เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท