เด็กๆกับการตกผลึกกำมะถัน


การเรียนวิชาเคมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การทดลองทางเคมีที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดแกัปัญหา และการทำงานเป็นกลุ่มร่วมกัน

      ตอนนี้ในชั้นเรียนเรากำลังเรียนเรื่อง "ของแข็ง" ที่มีสาระให้จำแนกเป็นของแข็งมีรูปทรงเรขาคณิต กับของแข็งไม่มีรูปร่างสามมิติ  ดังนั้นเรามีการทดลองเพื่อตกผลึกกำมะถัน ก่อนจะเริ่มการทดลองมีคำถามชวนคิดสำหรับเด็กๆ
      -  ทำไมไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (พบว่าไม่มีคำตอบในทันที ทำให้ต้องเชื่อมโยงถึงสารที่เรากำลังเกี่ยวข้องว่าเป็นสารโคเวเลนต์ดังนั้นถ้าโมเลกุลมีขั้วต้องใช้ตัวทำละลายมีขั้ว ทำให้นักเรียนสรุปคำตอบได้ว่าทำไมวันนี้ถึงต้องใช้ตัวทำละลายที่ชื่อว่า โทลูอีน)
      -  ครูนกก็ชวนนักเรียนสงสัยต่อว่า ถ้าสมมติว่าเราไม่มีโทลูอีน จะใช้สารเคมีใดแทนได้บ้าง  (นักเรียนส่วนหนึ่งจะตอบคำถามได้ อีกกลุ่มหนึ่งต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงตัวทำละลายที่ใช้บ่อยๆในห้องปฏิบัติการทดลอง แล้วให้นักเรียนจำแนกว่าชนิดใดมีขั้วหรือไม่มีขั้ว)

      หลังจากตั้งคำถามก็สรุปวิธีการทดลองว่า ต้องชั่งผงกำมะถันปริมาณเท่าใด ละลายในตัวทำละลายกี่มิลลิลิตร และต้องนำไปละลายที่อุณหภูมิกี่องศาเซลเซียส จากนั้นค่อยๆให้สารเย็นตัวลงเท่ากับอุณหภูมิห้อง และค่อยๆเทในจานระเหย เมื่อระเหยตัวทำละลายจนหมดให้สังเกตผลึก และสอนวิธีการเก็บผลึก  ซึ่งวิธีการทดลองครูนกได้เตรียมเอกสารประกอบไว้ให้นักเรียนอ่านด้วยตนเอง จากนั่นก็มาสรุปเป็นขั้นตอนอีกครั้งร่วมกับครู (ทำเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ป้องกันความผิดผลาดจากการทดลองได้ และทำให้ประหยัดปริมาณสารเคมีได้อีกด้วย)
     - ก่อนลงมือทดลองครูนกตั้งคำถามว่าทำไมเราไม่ทำให้สารที่จะตกผลึกเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำไมต้องรอทั้งที่พวกเรามีเวลาจำกัด (โชคดีมีเด็กส่วนน้อยของแต่ละห้องยังมีความรู้ที่คงทนเรื่องการตกผลึกของหินในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ว่า ถ้าตกผลึกอย่างรวดเร็วจะได้ผลึกขนาดเล็กกว่าตกผลึกอย่างช้า)

     ช่วงระหว่างที่รอสารระเหย และเก็บผลึกครูนกเลยถามด้วยความสงสัยว่า มีใครเพิ่งจะตกผลึกเป็นครั้งแรกของชีวิตบ้าง ปรากฏว่ามีจำนวนมากที่ยังไม่เคยตกผลึก  ตามประสบการณ์ครูนกเข้าใจว่า เด็กๆผ่านการตกผลึกมาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเป็นผลึกสารส้ม พอระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอาจเป็นผลึกคอปเปอร์ซัลเฟต  ก็ถือว่าโชคดีที่เราได้ทำการทดลองนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการตกผลึก

     จุดที่เด็กๆ สนใจและดูจะตื่นเต้นมากเป็นพิเศษคือ ช่วงเก็บผลึก เนื่องจากลุ้นระทึกว่าฝีมือการทำการทดลองจะได้ผลึกทั้งรูปเข็ม และรูปเหลี่ยมหรือไม่ ก็ถือว่าโชคดีที่ทุกกลุ่มและทุกห้องที่ได้ทดลองตกผลึกได้ผลแบบสมบูรณ์หมดค่ะ ต่อมาคือ การใช้เทปกาวใสในการเก็บผลึก
 
      ครูนกอธิบายวิธีการเก็บพร้อมกับสาธิตว่า ใช้ด้านกาวแตะไปบริเวณผลึกที่เราต้องการจากนั้นปิดผนึกอย่างมีเทคนิคให้มีปลายที่เหลือไปติดที่รายงานการทดลองได้เลย   ทำให้การทดลองที่ดูไม่ซับซ้อนจนครูบางท่านจะเว้นการทดลองนี้(อาจเพราะเงื่อนไขเรื่องเวลากับเนื้อหา)ไปทำให้เด็กๆ มีจุดสนใจขึ้นได้  สรุปช่วงนี้ที่ผ่านเราไม่ได้เก็บตะวัน...แต่เราเก็บผลึกกัน รออีกห้องครูนกก็สามารถบอกได้ว่าเราได้มีโอกาสตกผลึกกันทุกคนเลย

หมายเลขบันทึก: 455329เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เมื่อเด็กๆได้ลงมือทำเอง เรียนรู้เอง เด็กจะชอบ จะสนุก ตั้งใจ..ภาพของครูนกเหล่านี้ ยืนยันความเชื่อผมอีกครั้งแล้วครับ..ภาพสวยด้วยครับ! 
  • ขอบคุณตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ดีๆในวิชาเคมี คำถามของครูทำให้นักเรียนไม่หยุดนิ่ง ต้องคิดตลอดเวลา ชื่นชมครูนกครับ..สบายดีนะครับ

เรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ คิดวิเคราะห์ บ่มเพาะนิสัยใฝ่รู้ มีคุณครูอยู่ใกล้ๆ ให้คำแนะนำ จำได้แม่นเอย :)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ธนิตย์

- ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้ครูชาววิทย์ด้วยกันค่ะ

- เห็นด้วยมากๆที่ลงมือทำ แล้วการเรียนรู้จะสนุก เป็นภาพที่สวยงามในใจของครูวิทย์เสมอ

- การทดลองง่ายๆ ก็สนุกได้ถ้าเรามีจุดเน้น และชวนเขาคิดด้วยคำถาม

สวัสดีค่ะ ป้าใหญ่นงนาทที่เคารพ

เป็นการสรุปที่ตรงใจครูนกมากที่สุดเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจมากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท