ข้อดีและข้อจำกัดของ EIS


ข้อดี ข้อจำกัดของ EIS และความแตกต่างของDSS กับ EIS

 

  

          ในทางปฏิบัติไมมีระบบสารสนเทศใดที่มีความทันสมัยและสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับ EIS เราจะกล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของ EIS ดังต่อไปนี้


นอกจากข้อดีและข้อจำกัดของ EISระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ EIS เนื่องจากความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารมีความละเอียดอ่อน ยือหยุ่น ตรงตามความต้องการ และทันเวลา  โดยเฉพาะ EIS จะเป็นระบบที่ต้องการในองค์การต่างๆ มากขึ้นในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนาระบบจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากก็ตาม แต่ถ้าได้รับการวางแผนและดำเนินงานอย่างรัดกุม  EIS ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่องค์การได้เป็นอย่างมาก มิเช่นนั้นการใช้ EIS อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมและการสูญเสียหรือการเสียเปล่าในการลงทุนขององค์การ

สรุป

        การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและทั้งความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังที่มีผู้กล่าวว่า สารสนเทศ คือ อำนาจทุกองค์การจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพแต่บุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการสารสนเทศของผู้บริหารมีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ โดยเฉพาะลักษณะของงานของผู้บริหารในปัจจุบันที่มีความสำคัญกับองค์การและมีระยะเวลาจำกัดในการตัดสินใจแก้ปัญหา เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การ ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป็นแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลทุกประเภท โดยเฉพาะ EIS ประการสำคัญเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต

http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/120_122/section7.html

ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ EIS

 

การสังเกตลักษณะของระบบ

DSS

EIS

1. จุดประสงค์หลัก

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ

เจาะลึกข้อมูล (Drill  Down) เพื่อดูข้อมูลในส่วนที่ผู้บริหารต้องการ

2. ผู้ใช้งานระบบ

นักวิเคราะห์และผู้บริหารระดับสูง

ผู้บริหารระดับสูง

3. สนับสนุน(support) การตัดสินใจ

สนับสนุนการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง  กึ่งโครงสร้าง  และไม่มีโครงสร้าง

สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อมสำหรับปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างของผู้บริหาร

4. ข่าวสารที่นำเข้ามาใช้ในระบบ

เป็นข่าวสารเฉพาะ  ที่จะใช้แก้ปัญหานั้น ๆ

เป็นข่าวสารทั่วไป  ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมไปถึงข่าวสารที่คลุมเครือ  เรื่องเล่า  หรือข้อมูลการซุบซิบนินทาต่าง ๆ

5. การแสดงผลของระบบ

ใช้ Graphic บางส่วน

เน้น Graphic ในทุกส่วน

6. การใช้งาน

หากระบบพัฒนาเพื่อการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ไม่ซับซ้อน  อาจจะใช้งานง่าย

ใช้งานง่าย  อำนวยความสะดวกต่อผู้บริหาร

7. ระบบจัดการข่าวสาร

ปัญหาหรือผลลัพธ์ (Output) ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลของระบบ  EIS   จะกลายมาเป็นข้อมูลนำเข้า ( Input) ของระบบ  DSS

ใช้กรองข้อมูลข่าวสาร (Filter)  ติดตามข้อมูล ( Monitor)  และเปรียบเทียบข้อมูลที่พบ

8. แบบจำลอง (Model)

ใช้แบบจำลองเป็นองค์ประกอบหลักของระบบ DSS

ไม่ใช้แบบจำลอง  หรืออาจจะใช้บ้าง เป็นบางครั้ง

 

ตารางที่  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบ DSS  กับ  EIS 

                ข้อมูลที่ได้จากระบบ DSS และ EIS  นั้น  เมื่อผู้บริหารได้รับทราบข้อมูลแล้ว จะนำไปใช้แก้ไขปัญหา หรือหาแนวทางแก้ไขอย่างไรนั้น   ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารเอง    เพราะผู้บริหารเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศาสตร์ในการบริหาร   ประสบการณ์และสัญชาติญาณของผู้บริหารด้วย

สรุป (Summary)

- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง  จัดเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร   

(EDSS)

- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร(ESS)  จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวม  ค้นหาข้อมูล 

และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-  ห่วงโซ่อุปทาน (Supply  Chain) เป็นระบบที่เน้นการผลิตและส่งมอบสินค้าไปยังผู้บริโภค  ข่าวสารทุกอย่างที่ใช้ใน Supply

Chain   ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งสิ้น

-  การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management :SCM)  ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ลดปัญหาต่าง ๆ

ที่เกิดขึ้นในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ได้

http://www.no-poor.com/dssandos/Chapter11-dss.htm

 

หมายเลขบันทึก: 455324เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท