กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี


การสอนอ่านภาษาอังกฤษ

สาระสำคัญของโครงการพัฒนาโมเดลการจัดการคุณภาพ

กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

RATNAREE Model

1.      ความเป็นมาและความสำคัญ

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผู้เรียนเนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร และเป็นรากฐานของการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป รวมทั้งการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ ดังคำกล่าวที่ว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยตามหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 ได้ส่งเสริมให้การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษได้พัฒนาทักษะทั้งสี่ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อที่ผู้เรียนจะนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม และวิสัยทัศน์ของชุมชนโลกและตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก ( สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,2551 )

            ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ทักษะการอ่านนับว่ามีส่วนสำคัญในการแสวงหาความรู้ นักเรียนในยุคปัจจุบันต้องอ่านสื่อภาษาอังกฤษต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาที่เรียนและสื่ออื่นๆตามความสนใจของนักเรียน นักเรียนอาจพบปัญหาอย่างมากในการทำความเข้าใจสิ่งที่อ่าน ถ้านักเรียนไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ  นักวิจัยหลายท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุของการอ่านไม่เข้าใจ พบว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายอย่าง กล่าวคือ ตัวครูเอง นักเรียน และวิธีการสอนอ่านมักจะเป็นเรื่องที่ครูและนักเรียนต่างคิดว่าเป็นเรื่องยาก ในส่วนของนักเรียนมักจะคิดว่าการอ่านเป็นสิ่งที่ยาก ทำให้หยุดอ่านกลางคัน อีกทั้งยังขาดทักษะเกี่ยวกับการอ่านที่ถูกต้องและโดยเฉพาะการขาดวิธีการควบคุมความเข้าใจ และการแก้ปัญหาในระหว่างอ่าน  นอกจากนี้อาจเกิดจากนักเรียนไม่มีสมาธิ ขาดความสนใจ ไม่มีพื้นฐานความรู้เพียงพอ ขาดการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ อ่านผิดวิธี และกังวลเรื่องคำศัพท์ ( ทยภร  กระมุท  และเอกรัตน์  สังข์ทอง , 2549 ) รวมทั้งการที่ผู้เรียนยังเป็นเด็กอยู่มักจะอ่านอย่างไม่มีแบบแผนและไม่มีความสนใจในสิ่งที่อ่าน  สอดคล้องกับ Paris et al. ( 1983)  ที่เห็นว่าการไม่เข้าใจในการอ่านอาจมาจากการที่บทอ่านและคำศัพท์ในเนื้อเรื่องมีความยาก  รวมทั้งการขาดความรู้เดิมของผู้อ่าน  ปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรให้ความสนใจแก้ไขอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาพัฒนาการสอนอ่านให้มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ได้ผลดีขึ้น

 ( ศิริพร  เกียรติรัตนเสวี )

            จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้นักวิชาการจำนวนมากพยายามศึกษาเทคนิคการสอนอ่านที่มีประสิทธิภาพ ครูได้มีการนำเทคนิคการสอนอ่านต่างๆไปใช้ในการเรียนการสอนแต่พบว่ายังไม่แพร่หลายมากนัก ครูยังสอนการอ่านเพียงแค่การหาคำตอบจากคำถามที่ต้องตอบเท่านั้น นักเรียนไม่มีความเข้าใจสิ่งที่อ่านอย่างแท้จริง  การเรียนการสอนเน้นเนื้อหาวิชาและการเรียนแบบท่องจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์ เรียบเรียงและเขียนสื่อความ  แนวทางการแก้ปัญหาความเข้าใจในการอ่านควรนำการใช้ยุทธศาสตร์ทางปัญญา หรือ อภิปัญญามาใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด การควบคุมอารมณ์ และการนำความรู้ไปใช้

( สุวัฒน์  วิวัฒนานันท์ , 2550 ) ตรงกับที่ Ruddell  ( 2000 อ้างใน มณีรัตน์  สุกโชติรัตน์ , 2550 ) ที่แนะนำว่า ครูควรสอนกระบวนการคิดแบบอภิปัญญา ( Metacognition ) ที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิด ทำให้มีจุดประสงค์ในการอ่าน  มีการเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ดี

ปัญหาการอ่านเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ  นักวิจัยจำนวนมากเห็นตรงกันว่าเกิดจากสามปัจจัยหลัก คือ ผู้สอน นักเรียนและวิธีการสอนอ่าน   การแก้ปัญหาการอ่านมีความซับซ้อนเนื่องจากการอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องให้เวลา และวิธีการที่เหมาะสมกับนักเรียน  วิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการใช้แนวคิดขั้นสูง  หรือ อภิปัญญา เพื่อช่วยในการฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ  ในบริบทของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐานปีพุทธศักราช 2551  ที่ต้องการให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านได้ในระดับจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการอ่าน จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับกลวิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอน และวิธีการที่ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนพบกลวิธีสตาร์ท ( START : Students and Teacher Active Reading Text ) ซึ่งเป็นกลวิธีที่คิดขึ้นโดย Tabatha Dobson Scharlarch ( 2008) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเซ็นทรัล ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสอนอ่าน

Scharlarch  ได้สร้างเทคนิคการอ่านชื่อกลวิธีสตาร์ท ซึ่งมีความน่าสนใจและมีประโยชน์ต่อนักเรียน กล่าวคือ เป็นกลวิธีที่ส่งเสริมการอ่านโดยขั้นตอนต่างๆ มีการสอนอ่านทีใช้อภิปัญญาส่งเสริมให้นักเรียนมีภาระงานในการอ่าน คิดวิเคราะห์โดยมีครูและเพื่อนคอยให้ความช่วยเหลือ และจากนั้นกิจกรรมในขั้นตอนทั้งหมดจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านด้วยการเสริมการเรียนรู้และการใช้อภิปัญญา  ดังขั้นตอนดังนี้

  1. การทำนายล่วงหน้า ( Predicting / Inferring ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้มีการคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยอาจมีการสังเกตรูปภาพ อ่านชื่อเรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
  2. การจินตนาการภาพ ฉาก ของเรื่อง ( Visualizing ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสร้างภาพหรือความเข้าใจที่ได้จากการอ่าน อาจมีการวาดภาพหรือคิดสร้างภาพในใจถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ได้อ่าน
  3. การเชื่อมต่อกับความรู้เดิม ( Making Connections ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่อ่านและมีการเชื่อมโยงความรู้เดิมทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้น
  4. การตั้งคำถาม ( Questioning ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสร้างคำถามเพื่อช่วยในการตรวจสอบความเข้าใจและการจำ ซึ่งทำให้เข้าใจสิ่งที่อ่านมากขึ้น
  5. วิเคราะห์ใจความสำคัญ ( Determining  Main Idea ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมุ่งให้ความสนใจกับใจความสำคัญ และจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน
  6. การสรุปความ ( Summarizing ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนทำหลังการอ่านโดยการสรุปย่อใจความสำคัญมาเรียงลำดับให้ครบถ้วน ทำให้สั้นลงและเป็นภาษาของตัวเอง
  7. การตรวจคำตอบของการคาดเดา ( Checking Predictions)  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนตรวจสอบผลการอ่านและประเมินการอ่าน ได้แก่ประเมินการทำนาย โดยใช้ทักษะการคิดเกี่ยวกับการระบุ และการให้เหตุผล
  8. ประเมินค่า  ( Making Judgments )  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนประเมินคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ความรู้ที่เพิ่มขึ้น และการนำไปประยุกต์ใช้

จากแนวทางการสอนการอ่านดังกล่าวสรุปได้ว่า ความเข้าใจในการอ่านสามารถสร้างจากการมีปฎิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน รวมทั้งบทอ่าน การช่วยเหลือของครูนั้น ครูต้องคำนึงถึงขั้นตอนของการพัฒนาของเด็ก ครูเป็นตัวอย่าง และให้คำแนะนำแก่นักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่ขาดทักษะในการอ่าน เพื่อที่นักเรียนจะสามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ ( Palincsar & Klenk ,

1992 )  เช่นเดียวกับ Pressley (1998) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญต่อการเสริมการเรียนรู้  (Scaffolding ) ว่า การอ่านเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านและบทความ ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทในการช่วยนักเรียนให้สามารถเข้าใจในสิ่งที่อ่านตามหลักการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้วิจัยได้นำกลวิธีสตาร์ทมาพัฒนาเป็นรูปแบบการสอนของผู้วิจัยเอง คือ กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

 ( RATNAREE  Reading Teaching Model )

ซึ่งมีขั้นตอนการสอนดังนี้

1.Roam  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนกวาดสายตาดูรูป ภาพ หัวข้อเรื่องที่จะอ่าน โดยสร้างภาพ หรือความเข้าใจที่ได้จากการดูรูปและหัวข้อเรื่อง

2.Arouse เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นจากผู้สอนโดยใช้คำถามแบบคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่จะอ่าน โดยให้ผู้เรียนทำนายเรื่อง คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า( Predicting / Inferring ) จินตนาการ ภาพ ฉากของเรื่อง ( Visualizing )

3.Tell  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนช่วยกันบอกความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมีเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน ว่ามีความรู้อะไรบ้าง อยากรู้อะไรเพิ่มบ้าง

4.Notice  เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนสังเกตว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่มากน้อยเพียงใด เป็นการเชื่อมต่อความรู้เดิม

 ( Making Connections )   มีอะไรบ้างที่ผู้สอนควรเสริมการเรียนรู้  ( Scaffolding ) เช่น คำศัพท์ วัฒนธรรม

5.Act  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่กำลังจะอ่าน หรือถามคำถาม ( Questioning )เกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน  One Person One Comment

6.Read เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมด หลังจากที่ได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านแล้ว ผู้เรียนมุ่งให้ความสนใจกับใจความสำคัญ และจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน

 ( Determining  Main Idea )

7.Explain  เป็นขั้นตอนหลังการอ่านที่ผู้เรียนจะต้องอธิบายเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีอภิปรายกลุ่ม เล่าเรื่อง ตอบคำถาม วาดรูป ทำมายแมพ เป็นการตรวจสอบคำตอบของการคาดเดา ( Checking Predictions)  และการสรุปความ ( Summarizing )

8.Evaluate & Create  เป็นขั้นตอนที่ผู้อ่านประเมินคุณค่าสิ่งที่อ่าน( Making Judgments )    ประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ความรู้ที่เพิ่มขึ้นและการนำไปประยุกต์ใช้ โดยสร้างเป็นงานรูปแบบใหม่ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ  เขียนเรื่องใหม่ ทำโครงงาน

กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี มีลักษณะที่เหมาะสมต่อการสอนอ่านหลายประการ กล่าวคือ  ส่งเสริมการใช้ความคิดแบบอภิปัญญา การใช้ความคิดวิเคราะห์  นอกจากนี้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี ยังสนับสนุนให้นักเรียนใช้กระบวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม  นอกจากนี้ เมื่อนักเรียนอ่านจะเกิดการคิดวิเคราะห์ ะเกิดการคิดวิเคราะห์สรุปความวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสรุปความ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด นำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และถ่ายทอดเป็นการเขียนและพูด  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีส่งเสริมการอ่านแบบร่วมมือระหว่างครู นักเรียน และบทอ่านตามที่ Armbruster et al. (1982) , Vacca and Vacca (1989)  ที่แสดงความเห็นคล้ายกันว่าวิธีการสอนอ่านเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างครู นักเรียนและบทอ่าน จำเป็นที่ผู้เรียนต้องตระหนักถึงเรื่องที่อ่าน ภาระงาน และตนเอง เป็นกลวิธีการอ่านที่มีคุณลักษณะที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจการอ่าน  และเป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการอ่านระหว่างครู นักเรียน และสิ่งที่อ่าน ผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ใช้อภิปัญญาและการเสริมการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และตัดสินใจ ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 จึงได้สนใจที่จะศึกษากลวิธีการสอนอ่านในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และการนำไปใช้ในชั้นเรียน และเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนานภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการฝภิปัญญา เพื่อช่วยใ0 วามรู้ไปใช้าใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด

2.      โจทย์และคำถามวิจัย

2.1  โจทย์วิจัย 

-         นักเรียนพบปัญหาการทำความเข้าใจสิ่งที่อ่าน

-         นักเรียนไม่มีเครื่องมือหรือกลวิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

-         กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีจะเป็นเครื่องมือ หรือกลวิธีที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนได้หรือไม่

2.2  คำถามวิจัย

1. นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้นหรือไม่ หลังการใช้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

3.      เป้าหมายและวัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

4.      นวัตกรรมที่พัฒนา

4.1  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

4.2กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีจะเป็นเครื่องมือ หรือกลวิธีที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนได้หรือไม่

4.3 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช

4.4ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554

4.5 กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

 ( RATNAREE  Reading Teaching Model )

ซึ่งมีขั้นตอนการสอนดังนี้

1.Roam  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนกวาดสายตาดูรูป ภาพ หัวข้อเรื่องที่จะอ่าน โดยสร้างภาพ หรือความเข้าใจที่ได้จากการดูรูปและหัวข้อเรื่อง

2.Arouse เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นจากผู้สอนโดยใช้คำถามแบบคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่จะอ่าน โดยให้ผู้เรียนทำนายเรื่อง คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า( Predicting / Inferring ) จินตนาการ ภาพ ฉากของเรื่อง ( Visualizing )

3.Tell  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนช่วยกันบอกความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมีเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน ว่ามีความรู้อะไรบ้าง อยากรู้อะไรเพิ่มบ้าง

4.Notice  เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนสังเกตว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่มากน้อยเพียงใด เป็นการเชื่อมต่อความรู้เดิม

 ( Making Connections )   มีอะไรบ้างที่ผู้สอนควรเสริมการเรียนรู้  ( Scaffolding ) เช่น คำศัพท์ วัฒนธรรม

5.Act  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่กำลังจะอ่าน หรือถามคำถาม ( Questioning )เกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน  One Person One Comment

6.Read เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมด หลังจากที่ได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านแล้ว ผู้เรียนมุ่งให้ความสนใจกับใจความสำคัญ และจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน

( Determining  Main Idea )

7.Explain  เป็นขั้นตอนหลังการอ่านที่ผู้เรียนจะต้องอธิบายเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีอภิปรายกลุ่ม เล่าเรื่อง ตอบคำถาม วาดรูป ทำมายแมพ เป็นการตรวจสอบคำตอบของการคาดเดา ( Checking Predictions)  และการสรุปความ ( Summarizing )

8.Evaluate & Create  เป็นขั้นตอนที่ผู้อ่านประเมินคุณค่าสิ่งที่อ่าน( Making Judgments )    ประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ความรู้ที่เพิ่มขึ้นและการนำไปประยุกต์ใช้ โดยสร้างเป็นงานรูปแบบใหม่ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ  เขียนเรื่องใหม่ ทำโครงงาน

4.6 กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี มีลักษณะที่เหมาะสมต่อการสอนอ่านหลายประการ กล่าวคือ  ส่งเสริมการใช้ความคิดแบบอภิปัญญา การใช้ความคิดวิเคราะห์  นอกจากนี้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี ยังสนับสนุนให้นักเรียนใช้กระบวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม  นอกจากนี้ เมื่อนักเรียนอ่านจะเกิดการคิดวิเคราะห์ ะเกิดการคิดวิเคราะห์สรุปความวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสรุปความ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด นำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และถ่ายทอดเป็นการเขียนและพูด  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีส่งเสริมการอ่านแบบร่วมมือระหว่างครู นักเรียน และบทอ่านตามที่ Armbruster et al. (1982) , Vacca and Vacca (1989)  ที่แสดงความเห็นคล้ายกันว่าวิธีการสอนอ่านเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างครู นักเรียนและบทอ่าน จำเป็นที่ผู้เรียนต้องตระหนักถึงเรื่องที่อ่าน ภาระงาน และตนเอง เป็นกลวิธีการอ่านที่มีคุณลักษณะที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจการอ่าน  และเป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการอ่านระหว่างครู นักเรียน และสิ่งที่อ่าน ผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ใช้อภิปัญญาและการเสริมการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และตัดสินใจ ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 จึงได้สนใจที่จะศึกษากลวิธีการสอนอ่านในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และการนำไปใช้ในชั้นเรียน และเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนานภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการฝภิปัญญา เพื่อช่วยใ0 วามรู้ไปใช้าใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด

 

5.      ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย

กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี เป็นกลวิธีการสอนที่สนับสนุนให้นักเรียนใช้กระบวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม  นอกจากนี้ เมื่อนักเรียนอ่านจะเกิดการคิดวิเคราะห์ ะเกิดการคิดวิเคราะห์สรุปความวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสรุปความ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด นำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และถ่ายทอดเป็นการเขียนและพูด  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีส่งเสริมการอ่านแบบร่วมมือระหว่างครู นักเรียน และบทอ่านตามที่ Armbruster et al. (1982) , Vacca and Vacca (1989)  ที่แสดงความเห็นคล้ายกันว่าวิธีการสอนอ่านเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างครู นักเรียนและบทอ่าน จำเป็นที่ผู้เรียนต้องตระหนักถึงเรื่องที่อ่าน ภาระงาน และตนเอง เป็นกลวิธีการอ่านที่มีคุณลักษณะที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจการอ่าน  และเป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการอ่านระหว่างครู นักเรียน และสิ่งที่อ่าน ผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ใช้อภิปัญญาและการเสริมการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และตัดสินใจ ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 จึงได้สนใจที่จะศึกษากลวิธีการสอนอ่านในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และการนำไปใช้ในชั้นเรียน และเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนานภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการฝภิปัญญา เพื่อช่วย

ให้นำความรู้ไปใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด

 

 

หมายเลขบันทึก: 454708เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ช่วยชี้แนะ เติมเต็ม ติชม กันหน่อยนะคะ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

  • เห็นด้วยเต็มๆ ภาษาอังกฤษ คือทักษะสำคัญสำหรับ ศตวรรษที่ 21 (อ่านจากบล็อกคุณครูนี่แหละคะ)
  • กำลังสนใจจัดกิจกรรมการอ่าน สำหรับเด็กโข่ง (แพทย์ประจำบ้าน) เทคนิคของ ม. 5 น่าสนใจคะ แต่ไม่ได้เป็นนักการศึกษา..เลยเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง
  • คิดเอาเองว่า ข้อ 8 การสังเคราะห์สิ่งใหม่ ความคิดของตนเอง คือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคะ

ขอบคุณค่ะคุณหมอ

กำลังศึกษากลยุทธิ์ ยุทธวิธี เพื่อออกรบกับปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน

มีกำลังใจ และแรงบันดาลใจ จากทุกท่าน

ยินดีรับฟังทุกคอมเมนท์ค่ะ

ดีมากครับ ผมว่าเอามาเป็นวิธีเรียนแบบ วิศวก็ยังได้เลย คือให้เห็นบริบทแบบกว้างๆเสียก่อน ก่อนเจาะลงละเอียด (ถ้าผมตีความไม่ผิด) อุปมา ให้เห็นแผนที่ป่าทั้งหมด ก่อนเดินทาง (ซึ่งอาจหลงได้ง่าย แต่พอหลงแล้วจินตนาการกลับตอนที่ดูแผนที่ มันก็ช่วยให้คลำทางออกถูก)

ขอบคุณค่ะ กำลังจะแก้ไขเพิ่มเติม และ นำไปใช้กับนักเรียน

ผลเป็นยังไง ไว้ จะเล่าให้ฟังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท