ปาฐกถาของ ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี


การประชุมวิชาการคณะแพทย์ มอ.ปีนี้ คณะผู้จัดการจัดได้เชิญ ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี  มาให้ปาฐกถา ในเรื่อง “การแพทย์ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

อาจารย์เกษมได้ใช้เวลาในการบรรยายส่วนใหญ่ในการอธิบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วในตอนท้าย จึงให้ข้อคิดว่า แพทย์น่าจะปฏิบัติตนเช่นไรในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ซึ่งตนเองคิดว่าเป็นประโยชน์ 2 เด้ง คือ 1. ทำให้เราหลายคนที่ไม่ได้ศึกษาในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาเท่าไรนัก  ได้เข้าใจในแก่นของปรัชญามากขึ้นมาก  พร้อมทั้งตัวอย่างง่ายๆ ทีอาจารย์ยกให้ฟัง จะทำให้เราสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการใช้ชีวิต ในการทำงาน ทั้งชีวิตส่วนตัว และ ในระดับกลุ่ม หน่วยงาน องค์กร ได้ ไม่เฉพาะเรื่องการแพทย์เท่านั้น  2. ทำให้ผู้ฟังเข้าใจ และ เห็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่แพทย์เราจะต้องเปลี่ยนแปลง ตามแนวทางที่อาจารย์ได้ให้ข้อแนะนำไว้ตอนท้าย

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง  ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


 

ถ้อยคำของปรัชญานี้  สภาพัฒน์ฯ  เป็นผู้ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทั้งหลักคิด และ หลักปฏิบัติ สำหรับทุกคน ทุกหน่วยงาน องค์กร ใช้ได้ทั้งส่วนตัว และ ส่วนงาน  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤตในท่ามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

การจะนำปรัชญาไปใช้ จะต้องปรับพื้นฐานจิตใจของคนในชาติในเรื่องคุณธรรม (หลักความดี ความงาม ความจริงที่ใจยึดถือ) เพราะผู้ปฏิบัติความพอเพียง ต้องใช้ ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ

อีกอย่างที่ต้องพูดถึง คือ ความสุข  ความสุขนั้นมี 2 แบบ และ ความสุขแบบนิรามิสสุข เป็นเงื่อนไขในปรัชญานี้
สามิสสุข คือการเสพสุขจากวัตถุภายนอก นอบสนองต่อประสาทสัมผัสภายนอก 
นิรามิสสุข ซึ่งเป็นความสุขภายใน อันเกิดจากใจที่สงบ สะอาด สว่าง เกิดจาก ความพอ ไม่ดิ้นรน

ความพอ หรือ สันโดษ ให้ทำด้วยอิทธิบาทธรรมเต็มที่  เมื่อได้ผลอย่างไร จากการกระทำครั้งนั้น ก็ให้เกิดความสุข (คราวหน้าเอาใหม่)

ความสุขในความพอ:-
   ตามควรแก่ความสามารถ

   ตามควรแก่การกระทำ

   ตามควรแก่ฐานะ

   ตามควรแก่กฏเกณฑ์ของสังคม (จริยธรรม)

   ตามควรแก่กฏเกณฑ์ของศีลธรรม


ความพอเพียง ต้องประกอบไปด้วย ความมีเหตุผล  ความจำเป็น และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ 

 

ยกตัวอย่าง  หญิงคนหนึ่ง มีเงินเดือน 12,000 บาท ไปช็อปปิ้งเห็นกระเป๋าใบหนึ่ง รู้สึกพอใจ แต่ราคาถึง 3000 บาท  หากนำหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการตัดสินใจซื้อกระเป๋าใบนี้ เธอจะต้องตั้งคำถามว่า  สมเหตุสมผลที่จะซื้อหรือไม่ ด้วยเงินเดือน 12000 กับกระเป๋า 3000 บาท  ก็อาจจะบอกว่าซื้อได้  ต้องถามต่อว่า แล้วจำเป็นหรือไม่  เธอมีความจำเป็นต้องใช้กระเป๋าใบนี้มากน้อยแค่ไหน เธอมีกระเป๋าใช้แล้วหรือยัง มีกี่ใบ เป็นต้น และสุดท้ายคือ หากใช้เงินซื้อแล้ว เงินเดือนที่เหลือ จะมีพอใช้จ่าย หรือเหลือเก็บหรือไม่ อันนี้ก็คือ จะมีภูมิคุ้มกันดีพอหรือไม่

 

นี่เป็นส่วนน้อยในปาฐกถาเท่านั้นค่ะ จดมาไม่หมด

 

สุดท้าย คือคำแนะนำต่อการดำรงตนของแพทย์ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

  • แพทย์ต้องถือเจตนาดีเป็นที่ตั้ง ยึดประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก
  • ยึดจรรยาบรรณวิชาชีพ
  • มีระบบคุณภาพมาตรฐานทางการแพทย์
  • ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร  แพทย์กับแพทย์  แพทย์กับผู้ป่วยและญาติ  แพทย์กับสาธารณชน
  • นิติเวชศาสตร์
  • แพทย์ต้องเสียสละ เชื่อในกฎแห่งกรรม  ยึดมั่นในทางสายกลาง  และ ปฏิบัติพรหมวิหารธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 45434เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบพระคุณอาจารย์ปารมีที่นำมาย่อยและเล่าสู่กันฟังค่ะ เป็นประโยชน์มากกับคนที่ไม่ได้เข้าฟังค่ะ ได้ข้อคิดและเป็นข้อเตือนใจที่ดี หากเราช่วยกันย้ำซ้ำๆก็จะเป็นการช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ให้แก่กันและกันในหมู่คนทำงานบริการประชาชน ช่วยทำให้ผู้ที่ทำแล้ว ภูมิใจในแนวปฏิบัติของตนเอง ผู้ที่ยังไม่ได้ทำได้รับการกระตุ้นให้คิด จนกระทั่งอยากทำในที่สุด

ได่อ่านบทความและประวัติของท่านศ.นพ.เกษม  วัฒนชัยแล้วรู้สึกประทับใจมาก  ถ้าต้องการเรียนเชิญท่านมาเป็นวิทยากรบรรยายให้นักศึกษาฟังบ้าง  จะสามารถติดต่อประสานงานได้ที่ไหนคะ   ขอทราบที่อยู่  เบอร์ติดต่อเพื่อประสานงานด้วยจักเป็นพระคุณยิ่งค่ะ  โดยติดต่อมาที่  คุณกษมา  (089-578-4447 ) ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท