ถอดบทเรียน..R2R2P: จากห้างสู่หิ้ง….คืนสู่ห้าง


KM,R2R,KKU

บันทึกการถอดบทเรียน

การจัดการความรู้ :  Share& learn  ประจำปี 2554 คณะแพทยศาสตร์ 

กลุ่มที่2 ด้านการวิจัย: “R2R2P: จากห้างสู่หิ้ง….คืนสู่ห้าง”

วันที่ 28 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00-16.00 น.

 หัวข้อ “R2R2P: จากห้างสู่หิ้ง….คืนสู่ห้าง”

1. ข้อมูลผู้มาถอดบทเรียน

ผู้นำเล่าเรื่อง คือ ศ นพ. สมบูรณ์ เทียนทองและ ศ พญ. วิภา  รีชัยพิชิตกุล

ผู้มาเล่า success story  จำนวน 5 ท่านได้แก่

  1. นางสาวพรเพ็ญ ปทุมวิวัฒนา     พยาบาลชำนาญการพิเศษ  รักษาการผู้ตรวจการแผนกการพยาบาลสูติ-นรีเวชกรรม  งานบริการพยาบาล  โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น
  2. รศ. ดร. เบญจมาศ พระธานี   นักแก้ไขการพูด  ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. นางสาวสุธันณี   สิมะจารึก  ตำแหน่ง   วิสัญญีพยาบาลชำนาญการพิเศษ   ภาควิชาวิสัญญี       คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. นางลดา สรณารักษ์  ประธานคณะกรรมการวิจัย โรงพยาบาลขอนแก่น
  5. ภก. กุลอนงค์ เกิดศิริ     เภสัชกร  โรงพยาบาลมหาสารคาม
  6.  ดร. อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์  คลังเลือดกลาง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน  

      พยาบาลจากหอผู้ป่วยต่าง ๆ โรงพยาบาลศรีนครินทร์  เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา  นักวิชาการการศึกษา  วิสัญญีพยาบาล    

ผู้บันทึกการถอดบทเรียน (Notaker )

  1. นางอุบล จ๋วงพานิช   พยาบาลชำนาญการพิเศษ  หัวหน้าหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5 จ. แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ  งานบริการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. นางสาวพรนิภา หาญละคร พยาบาลชำนาญการพิเศษ  หน่วยโรคเอดส์  งานบริการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. นางสาวเกศนี บุณยวัฒนางกุล  พยาบาลชำนาญการพิเศษ   ศูนย์การพยาบาลรายกรณี    งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. นางประกาย พิทักษ์  พยาบาลชำนาญการพิเศษ รักษาการฯ หัวหน้าหน่วยระบาดวิทยาโรคติดต่อ งานเวชกรรมสังคม  โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2. บันทึกขั้นตอน และวิธีการถอดบทเรียน

  • ขั้นตอนและวิธีการถอดบทเรียน โดย ผู้นำเล่าเรื่อง  ศ. นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง  ให้ผู้เล่าเรื่องราวที่ประสบผลสำเร็จแนะนำตัวเอง และตัวแทนผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนที่นั่งแถวหน้าแนะนำตัวเองอีก 3 ท่าน
  • ผู้นำเล่าเรื่อง นำเข้าสู่การถอดบทเรียนโดยตั้งคำถามให้ผู้เล่าเรื่องราวที่ประสบผลสำเร็จในการทำวิจัย R2R  ว่าที่ทำวิจัยในครั้งนี้เริ่มต้นได้อย่าง  ปัญหาที่นำมาทำการวิจัย R2R คืออะไร
  • ผู้นำเล่าเรื่องสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการเล่าเรื่อง  เน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนให้เข้าใจและตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เล่าเรื่องราว ให้เล่าต่อถึงประโยชน์ของการทำงานวิจัย R2R  
  • ประเด็นการสนับสนุนช่วยเหลือการทำวิจัย  ทุนสนับสนุนการวิจัย การตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จแล้ว

3. บันทึกบรรยากาศการถอดบทเรียน

  •  บรรยากาศของการถอดบทเรียน หัวข้อ “R2R2P: จากห้างสู่หิ้ง….คืนสู่ห้าง” ในครั้งนี้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นกันเอง สบาย ๆ อบอุ่น  ผู้นำเล่าเรื่องราวการทำวิจัยจากงานประจำ สรุปประเด็นที่ได้เป็นระยะ ๆ   ผู้เล่าเรื่องราวการทำวิจัยของตนเองแต่ละท่านเล่าอย่างมีความสุข ภาคภูมิใจที่ได้ทำวิจัยในครั้งนี้ แต่ละท่านที่นำมาเรื่องของตัวเองมาเล่าเรื่องนั้น ไม่เบื่อ ชวนติดตาม มีเสียงหัวเราะและคำชื่นชมเป็นระยะ ผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้นทำ กำลังทำวิจัย อยู่ระหว่างการขอทุน ขอจริยธรรม ทำวิจัยเรียบร้อยแล้วขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอการเขียนบทความที่จะส่งตีพิมพ์  
  • สถานที่ห้องที่ใช้  ห้องที่ใช้เป็นห้องเรียนกลุ่มย่อย  เก้าอี้ไม่พอกับจำนวนผู้เข้าร่วม การจัดที่นั่งเป็นลักษณะของการนั่งล้อมวง  จำนวน 4 รอบวง  ผู้เข้าร่วมกลุ่มมีจำนวนมากกว่าที่ได้สมัครไว้ ทำให้บางท่านไม่มีโอกาสได้เล่าเรื่องราวของตนเอง
  •  ระยะเวลา  ใช้เวลาในการถอดบทเรียนตามกำหนด   เวลาที่ให้แต่ละท่านเล่าเรื่องราวมีข้อจำกัด เนื่องจากจำนวนผู้เข้าร่วมจำนวนมาก  การแนะนำตัวไม่ได้ครบทุกท่าน  และมีผู้เข้าร่วมเล่าเรื่องราวบางท่านยังมีประเด็นที่ตัวเองอยากจะเล่า และถ่ายทอดอีกมากมายที่ยังนำมาเล่าไม่หมด

3.  ดำเนินการถอดบทเรียน

3.1   ประสบการณ์จากทำงานของนักวิจัย R2R   การได้มาของหัวข้อการทำวิจัยR2R  จาก

  • ผู้วิจัยพบปัญหาในการทำงาน  พบความยุ่งยากขั้นตอนในการปฏิบัติ  งานที่ทำอยู่มีความซ้ำซ้อน ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติ
  • เป็นปัญหาที่เริ่มจากผู้วิจัยมองเห็นปัญหาที่จะเป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่อการรักษาของผู้ป่วย   ผู้ป่วยขาดการติดตามการรักษา
  • ใช้กระบวนการสังเกต อย่างละเอียดแล้วนำทดลองปฏิบัติ  หาวิธีการที่ดี เหมาะสมก่อน
  • ใช้กระบวนในการคิด พัฒนาจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำ ให้มีคุณภาพมากขึ้น
  • ใช้โปรแกรมสารสนเทศมาพัฒนาร่วมกับกระบวนการรักษาผู้ป่วย
  • ผู้วิจัยสำรวจปัญหา ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย  รวบรวม วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ นำมาออกแบบให้ง่านต่อการบันทึกการรักษา บันทึกการพยาบาล แล้วจึงมาทำแนวทางปฏิบัติ นำไปใช้ ประเมินผลการใช้ ได้ประโยชน์ จึงขยายเครือข่าย

3.2   กระบวนการวิจัย วิธีการทำงาน ที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในภาพรวม (How to)

  • มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีจิตวิญญาณที่อยากจะทำวิจัย
  • มีแรงบันดาลใจจากการดูแลผู้ป่วยที่มีความยุ่งยาก ผู้ป่วยขาดการติดตามรักษา
  • ศึกษาค้นคว้า หาวิธีการที่เหมาะสม  ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมาดูแล และเก็บข้อมูล
  • ทดลองปฏิบัติ  ปรับปรุงแก้ไข  พัฒนางานที่ทำ  เป็นการเรียนรู้ทุกกระบวนงานด้วยตนเอง (learning by doing)  กระบวนการกลุ่ม
  • มีทีมที่เป็นสหสาขาวิชาชีพ  แพทย์ พยาบาล คณะกรรมการร่วมทำวิจัย จึงจะทำให้การทำวิจัยได้ง่ายขึ้นได้แนวปฏิบัติที่ชัดเจน นำไปใช้กับผู้ป่วย และขยายเครือข่าย
  • มีแหล่งช่วยเหลือ มีพี่เลี้ยง
  • การขอทุนสนับสนุน ฝ่ายวิจัยพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ รวมทั้งในเรื่องของการตีพิมพ์ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัยรับเรื่องไปขยายผลต่อเพื่อที่จะจัดเวทีวิชาการเครือข่ายสำหรับนักวิจัยโดยเฉพาะ

3.3    ผลงานที่ได้รับจากการดำเนินงาน การทำวิจัยได้แก่

  • การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา งานเภสัชกรรรมผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลมหาสารคาม   ได้โปรแกรมคู่ยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา โดยพัฒนาจากโปรแกรมการสั่งยา โปรแกรมการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โปรแกรมเฝ้าระวังการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา และแบบรับคำปรึกษาของผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา  ได้คู่มือแนวทางการปฏิบัติที่จะทำให้ผู้ป่วยทราบความผิดปกติและต้องรีบมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข และเฝ้าระวัง รวมถึงการเน้นย้ำให้ผู้ป่วยทราบ    ผู้ดูแล ผู้รักษา สามารถจดจำการได้รับยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการแจ้งแก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา เพื่อป้องกัน หรือเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
  • คลังเลือดกลางประสบปัญหามีเกร็ดเลือดไม่เพียงพอจึงได้พัฒนาวิธีการที่จะทำให้มีเกร็ดเลือดเพียงพอใช้  ผลจากการดำเนินงานพบว่ามีเกร็ดเลือดเพียงพอที่จะใช้ ผู้ป่วยรับเลือดได้ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ  ลดปัญหาการหมดอายุของ เกร็ดเลือดได้   ลดจำนวนบุคลากรที่จะต้องปฏิบัติงานนอกเวลา ลดระยะเวลานาการเตรียมเกร็ดเลือด
  •   การบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย (pain service)อย่างเป็นระบบ มาพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มีปัญหาความเจ็บปวดจนสามารถลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และผู้ป่วยได้รับยาระงับปวด การดูแลอย่างต่อเนื่องหลังผ่าตัดจากวิสัญญีพยาบาล และพยาบาลจากหอผู้ป่วย 
  • การส่งเสริมการเลี้ยงลูกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอดในทารกที่มารับการฝึกให้นมแม่ในหอผู้ป่วยหลังคลอด (2ข.) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผลงานที่และนำมาใช้คือ แนวทาง(Guideline) ในการดูแลทารกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่รวมทั้งทารกที่มีความพิการของศีรษะและใบหน้าในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
  •  โปรแกรมฝึกพูดในผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติของการออกเสียง  ทำให้ผู้ป่วยสามารถไปฝึกที่บ้านด้วยตนเองได้ ผู้ป่วยไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ผลที่ได้คือ นักแก้ไขการพูด  ผู้ปฏิบัติงาน ทำงานเป็นทีม ฝึกตามแนวทางที่ทำไว้  มีวิดิทัศน์ทำให้ประหยัดเวลา  ฝึกเป็นกลุ่ม ไม่ต้องอธิบายซ้ำๆ ลดระยะเวลามาโรงพยาบาล ลดต้นทุนในการรักษา องค์กรและระบบสาธารณสุขของประเทศ หน่วยบริการตติยภูมิที่ให้บริการผู้ป่วยเสียงแหบได้อย่างทั่วถึง และ บริการผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
  •  R2R ทำให้เกิดนวัตกรรม มีimpact นี่คือคุณค่าของงานวิจัยR2R ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่งานงานวิจัยR2R ที่ดีก็สามารถตีพิมพ์  ว่าR2R ที่มีปัญหาวิจัยชัดเจน วิธีการดำเนินการ ชัดเจน การตีพิมพ์ก็ไม่น่าจะมีปัญหา ถ้าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของพยาบาลจากงานประจำก็อาจจะไม่ใช่  อาจใช้ระเบียบวิธีวิจัยไปด้วย อาจเชิญแพทย์ แพทย์ใช้ทุน อาจารย์แพทย์ไปร่วมช่วยทำจะได้ทำงานวิจัย R2R ได้ง่ายขึ้น     การเขียนงานตีพิมพ์นั้นอาจต้องปรับแก้หลายรอบ ต้องอดทน ในระดับเริ่มต้นก็อาจตีพิมพ์ในระดับประเทศ และสามารถนำไปประกอบการขอชำนาญการ เลื่อนขั้นได้ และก็ขอเชิญชวนให้พยาบาลมานำเสนองานวิจัยR2R ในงานประชุมวิชาการประจำปีเตือนตุลาคมนอกจากนี้ยังได้ปรึกษากับรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าควรจะมีเครือข่ายวิจัย R2R            

3.4   ระบุปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  • มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีจิตวิญญาณที่อยากจะทำวิจัย  ทำวิจัยอย่างมีความสุข   ไม่เครียดผู้ใช้บริการ ผู้ปฏิบัติเกิดความสุข เกิดความภาคภูมิใจ โดยมีแรงมีแรงบันดาลใจจากการดูแลผู้ป่วยที่มีความยุ่งยาก ผู้ป่วยขาดการติดตามรักษา
  • การทำวิจัย R2R ทำเป็นทีมร่วมกับทีมสหสาขา มีผู้ร่วมวิจัยหลายระดับ จึงจะทำให้ประสบผลสำเร็จ ถ้าวิจัยนั้นมีแพทย์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมทีมด้วย จะได้ช่วยในเรื่องของคุณภาพการวิจัย การเขียน ภาษาอังกฤษได้ ได้แนวปฏิบัติที่ชัดเจน นำไปใช้กับผู้ป่วย และขยายเครือข่าย
  • ทุกคนสามารถทำวิจัยได้ โดยมีระบบพี่เลี้ยงที่ทำวิจัยเก่งแล้วดูแลมีแหล่งช่วยเหลือ มีพี่เลี้ยง มีที่ปรึกษา

3.5  ระบุอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน และสาเหตุที่ทำให้การวิจัยไม่ประสบความสำเร็จ

  •  อุปสรรคของการทำวิจัย R2R ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ  ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์  เนื่องจากการเขียนและภาษายังไม่ได้ตามที่วารสารหรือแหล่งที่ตีพิมพ์ กำหนด ไม่มีผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำ
  • การส่งขอจริยธรรม ใช้ระยะเวลา และต้องตอบคำถาม แก้ไขงานที่ทำหลายครั้ง
  • การขอทุนสนับสนุนวิจัย แหล่งทุน

 

4. ผลจากการถอดบทเรียน

 4.1  สิ่งที่มีคุณค่าที่เกิดการเรียนรู้นอกจากตัวความรู้ ในครั้งนี้ ดังนี้

  •  แนวคิดในการสร้างเครือข่ายในการทำวิจัยจากงานประจำ R2R ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลมหาสารคาม โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา  เพื่อช่วยเหลือนักวิจัยน้องใหม่ ให้เกิดการเรียนรู้การทำวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ  การเขียนบทความเพื่อส่งตีพิมพ์เผยแพร่โดยมีระบบพี่เลี้ยงที่เป็นนักวิจัย R2R ที่ประสบผลสำเร็จ 
  •  พัฒนาคุณภาพงานที่ทำอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น  เริ่มจากงานที่เป็น CQI นำมาจัดทำให้เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี  มีการติดตามผลเป็นระยะ ให้เห็นความต่อเนื่องอย่างชัดเจน ได้แนวทางการปฏิบัติใหม่ที่ดี  และเกิดประโยชน์กับผู้ป่วย องค์กร ลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนความยุ่งยากในหารปฏิบัติงาน
  • การทำวิจัยทำให้เกิดการเรียนรู้  กระบวนการคิด การทำงานงานที่ทำอยู่เกิดการพัฒนาตนเอง (learning by doing)   การทำงานที่ทำอยู่ประจำ เกิดการฝึกฝน การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การค้นคว้าวิชาการ เป็นการสร้างคุณค่าให้งาน  การวิจัยที่ทำนำมาสู่ความภาคภูมิใจ  สามารถนำไปขอผลงานทางวิชาการได้ องค์กรได้ชื่อเสียง  วิจัยR2R นำมาใช้ปฏิบัติในการทำงานจริง ๆ  เปิดประโยชน์กับคนไข้  ผู้รับบริการมีความสุข  นำไปเผยแพร่ ขยายผล สร้างเครือข่ายในการทำงาน

*************************************************************************************

 ศ.พญ.วิภา  รีชัยพิชิตกุล   อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์  และประธานกรรมการฝ่ายวิจัย

  • ประเด็นการขอทุนวิจัยและการช่วยเหลือในการตีพิมพ์ R2R เป็นการแก้ปัญหาหน้างาน ซึ่งยิ่งใหญ่กว่า   บางงานอาจตีพิมพ์ได้เช่นกัน และเวทีนำเสนอ R2R ก็มีมาก  ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาทุนวิจัย R2R อยากให้ทุนวิจัย การขอทุนส่วนใหญ่ไม่เกินแสน ค่าใช้จ่ายไม่มาก ก็ขอมาได้ สิ่งที่สามารถขอได้เช่น ชุด VCD ส่วนอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว จะของบไม่ได้ ค่าจ้างตัวนักวิจัยเองไม่มี ถ้าจัดกิจกรรมกลุ่ม สามารถเบิกค่าอาหารว่าง อาหารกลางวันได้
  •  R2R ทำให้เกิดนวัตกรรม มีimpact นี่คือคุณค่าของ งานวิจัยR2R ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่งานงานวิจัยR2R ที่ดีก็สามารถตีพิมพ์  ว่าR2R ที่มีปัญหาวิจัยชัดเจน วิธีการดำเนินการ ชัดเจน การตีพิมพ์ก็ไม่น่าจะมีปัญหา ถ้าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของพยาบาลจากงานประจำก็อาจจะไม่ใช่  อาจใช้ระเบียบวิธีวิจัยไปด้วย และอาจเชิญแพทย์ แพทย์ใช้ทุน อาจารย์แพทย์ไปร่วมช่วยทำจะได้ทำงานวิจัย R2R ได้ง่ายขึ้น    
  • การเขียนงานตีพิมพ์นั้นอาจต้องปรับแก้หลายรอบ และต้องอดทน ในระดับเริ่มต้นก็อาจตีพิมพ์ในระดับประเทศ และสามารถนำไปประกอบการขอชำนาญการ เลื่อนขั้นได้ และก็ขอเชิญชวนให้พยาบาลมานำเสนองานวิจัยR2R ในงานประชุมวิชาการประจำปีเตือนตุลาคมนอกจากนี้ยังได้ปรึกษากับรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าควรจะมีเครือข่ายวิจัย R2R             

 -ขอขอบคุณ คุณประกาย ที่สรุปให้อีกครั้งค่ะ

แก้ว...

 

คำสำคัญ (Tags): #kku#km#r2r
หมายเลขบันทึก: 453724เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

พี่แก้ว แอบไปลด ยศ นำหน้า อ.สมบูรณ์ ซะแล้ว

งานนี้มีทีมงานเข้าร่วมกันอย่างล้นหลาม น่าชื่นใจผู้จัดจังเลยค่ะ การขับเคลื่อน R2R แบบนี้อ่านแล้วรู้สึกว่า ทรงพลัง มีแต่หน่วยบริการใหญ่ ๆ ทั้งนั้น คนทำงานมีความสุขเชื่อว่า คนไข้ก็คงได้รับอานิสงฆ์เช่นกัน สู้ ๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ ท่าน อ JJ

ที่รีบเตือน แก้แล้วค่ะ

คุณน้องติ๋ว

จากวันนั้น เราจะมีการจัดR2R ภูมิภาคอีกในวันที่ 5 ตค 54 สนใจมาร่วมประชุมได้นะคะ ฟรีค่าลงทะเบียนค่ะ

วันที่5 เจอกันค่ะพี่แก้ว เป็นเวที R2R รวมพลค่ะ

ดีใจที่จะได้พบกันค่ะ ดร กะปุ๋ม

ว้าว ติ๋วน่าจะกลับขอนแก่นแล้ว

ขออนุญาต ทดไว้ในใจก่อนนะค่ะ

แบบว่า อยากเข้าไปเรียนรู้

แต่สถานะทางการงานยังไม่แน่นอน (^_^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท