เรียนรู้ปรัชญาการดำเนินชีวิตกับละครซีรีส์เรื่อง “โรงเตี๊ยมชีวิต”


ละครเรื่องนี้สามารถเชื่อมโยงไปยังการเรียนรู้แง่ต่างๆ ที่มีคุณค่า ได้อย่างมาย ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาการเรียนรู้ ปรัชญาการดำเนินชีวิต ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ และการศึกษาวัฒนธรรมจีน เป็นต้น

 

ละครเรื่องนี้ออกอากาศทางช่อง TPBS ทุกวันจันทร์,อังคาร และพุธ เวลา 20.20-21.10 น.เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของเถ้าแก่หวัง เจ้าของกิจการโรงน้ำชาอิ้วไท้ ในสมัยปลายราชวงศ์ชิง และช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายที่สุด ประชาชนอยู่อย่างลำบากแร้นแค้น บทละครในแต่ละตอนสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมจีนได้อย่างรอบด้าน เป็นละครน้ำดีที่น่าเรียนรู้และตีความจุดประกายเหนี่ยวนำความรู้เป็นอย่างยิ่ง ตัวผมเองเพิ่งได้ดูอย่างจริงจังเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมานี้เอง (9 สิงหาคม 2554)  ตอนแรกนึกว่าเหมือนหนังจีนชีวิตทั่วๆไปแต่พอดูไป จนจบไปหนึ่งตอน ก็พบว่าละครเรื่องนี้สามารถเชื่อมโยงไปยังการเรียนรู้แง่ต่างๆ ที่มีคุณค่า ได้อย่างมาย ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาการเรียนรู้ ปรัชญาการดำเนินชีวิต ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ และการศึกษาวัฒนธรรมจีน เป็นต้น บันทึกนี้ผมขอยกตัวอย่างการตีความจุดประกายเหนี่ยวนำความรู้ จากฉากของละครตอนที่เสนอเมื่อวันคารที่ผ่านมา (9 สิงหาคม 2554) มาเล่าแบ่งปันกันดังนี้ครับ

 

 

จากฉากที่เถ้าแก่หวังได้รับโฉนดและตั๋วแลกเงินจากนายรองฉิน แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพของพันธมิตรธุรกิจที่ผูกพันธ์กันจนเป็นเสมือนดั่งเครือญาติที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูล ค้ำคูณซึ่งกันและกัน ซึ่งในละครได้ขึ้นตัวหนังสือไว้ที่หน้าจอไว้ด้วย โดยความหมายเหล่านี้คนจีนเขาเรียกว่า  “ก๋ำเช้ง” (แปลว่า น้ำใจ อัธยาศัย นั้นเป็นกลยุทธ์ที่พ่อค้าจีนแสดงออกถึงความขอบคุณลูกค้า ผู้มีอุปการะคุณมานมนาน) แนวคิดนี้คือต้นแบบแนวคิดของ CSR ที่โลกตะวันตกนำไปใช้นั่นเอง (อ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่  "ก๋ำเช้ง" วิถีพ่อค้าจีน CSR ตั้งฮั่วเส็ง :  http://www.csrthailand.net/th/news/detail/322

 

 

ฉากที่เถ้าแก่หวังเอาตัวรอดจากการเก็บค่าคุ้มครอง จากผู้ (ที่คิดว่าตัวเอง) มีอิทธิพล จะเห็นว่าการแก้ปัญหาต้องใช้สติปัญญาปฏิภาณไหวพริบ คิดกว้างไกล ลึกซึ้ง จากฉากนี้เขาไม่ได้ดำเนินการแต่เพียงลำพัง แต่ยังอาศัยลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเป็นพันธมิตรแนวร่วมในการตัดสินใจ กดดัน โดยใช้ข้อมูลที่ฝ่ายตรงข้ามเองให้กลับไปทิ่มแทงตัวเอง จนกระทั่งฝ่ายตรงข้ามความจนปัญญาหมดหนทางสู้ ต้องล่าถอยไปเอง

 

ฉากที่เถ้าแก่หวังพูดคุยกับปรับทุกข์กับลูกน้องคนสนิท ฉากนี้ผมได้เห็นถึงภาวะผู้นำของทั้งเถ้าแก่หวังและลูกน้องในมุมมองของ Sarvant/Colletive Leadership ได้อย่างชัดเจนคือพูดคุยรับฟังแบบ Dialogue เป็นการพูดคุยที่ไหลลื่น ทำให้พบว่าเกิดแนวคิด “ปิ๊ง” ออกมาโดยไม่รู้ตัว ลูกน้องกล้าคุย กล้าตำหนิ เสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับเจ้านาย เจ้านายก็ยอมรับฟังเหตุผลของลูกน้อง ผมดูแล้วอยากยกให้ทั้งสองคนเป็นผู้นำSarvant/Colletive Leadership ที่ดี เพราะแต่ละคนสวมบทบาทผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสม ลงตัวจริงๆ

 

ฉากที่เถ้าแก่หวังและภรรยาอบรมสั่งสอนลูก ดูเผินๆเหมือนว่าเถ้าแก่หวังจะเอาแต่ใจ เอาความคิดของตัวเองเป็นหลัก แต่ผมคิดว่าความคิดของเถ้าแก่หวังก็มีส่วนจริงอยู่ไม่น้อย เพียงแต่การสื่อสารที่ออกจะดุดันจริงจัง แต่ส่วนลึกของจิตใจนั้นมีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง เช่น การไม่เห็นด้วยกับวิธีการศึกษาสมัยใหม่ ที่สอนแต่ในเรื่องทฤษฎีไกลตัว แต่ไม่สามารถบูรณาการมาใช้กับชีวิตประจำวันได้ ในส่วนนี้ความคิดผมน่าจะดึงประโยชน์จากการศึกษาในระบบมาใช้กับกิจการของตัวเอง โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับลูก เช่น สอนให้ลูกรู้จักใช้ลูกคิดแบบโบราณ ขณะเดียวกันก็เรียนรู้จากลูกในการคำนวณแบบตะวันตก เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายภายในร้าน ทั้งค่าภาษี/ต้นทุน/กำไร การบริหารค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือ ในทางกลับกันก็ลองให้ลูกใช้วิชาการคำนวณแบบตะวันตกมาใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายภายในร้าน ทั้งค่าภาษี/ต้นทุน/กำไร การบริหารค่าใช้จ่ายทั้งหมดเช่นกัน

 

ที่ผมเล่ามาเป็นแค่เพียงส่วนเล็กๆของเรื่องเท่านั้น จึงอยากจะขอเชิญชวนทุกท่านมาชมละครเรื่องนี้ แล้วตีความจุดประกายเหนี่ยวนำความรู้กัน ได้ผลอย่างไรมาเล่าแบ่งปันกันบ้างนะครับ หรือจะดูละครย้อนหลังก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=qChmRx8H1AY&playnext=1&list=PLAA786C87E9E8F57A

 

หมายเลขบันทึก: 453362เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท