DBA : ข้าวหอมมะลิ 105 พัฒนาสู่ครัวโลก


ข้าวหอมมะลิ 105 พัฒนาสู่ครัวโลก

ข้าวหอมดอกมะลิ
105 พัฒนาสู่อาเซียน

กล่าวถึงข้าวหลายคนคงนึกถึงข้าวหอมมะลิ105 ของทุ่งกุลาร้องให้ 
เพราะเป็นข้าวที่มีความหอมเหมือนดอกมะลิเวลาหุง
ทำให้รับประทานอร่อยจนติดอกติดใจหลายคน ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างขนานนาม
ข้าวหอมมมะลิทุ่งกุลาฯ  
ทุ่งกุลาร้องให้เดิมเป็นพื้นที่แห้งแล้ง กินพื้นที่บริเวณประมาณ 2.1
ล้านไร่ ครอบคลุม 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คือ จังหวัดสุรินทร์  ศรีสะเกษ  ยโสธร รวมถึงจังหวัดร้อยเอ็ด
แต่จังหวัดร้อยเอ็ดกินพื้นที่มากที่สุด คือ 9.7 แสนไร่
หรือเป็น 77 % ของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องให้
จังหวัดร้อยเอ็ดให้ความสำคัญกับข้าวหอมมะลิ 105 เป็นอย่างมากจนจัด
เป็นให้เป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดเลยทีเดียว

ในปี 2558 ประเทศไทยเราก้าวสู่ประชาคมเศรษกิฐอาเซียนหากเรามีการเปิดการเสรีกับกลุ่มประชาคมอาเซียนผู้เขียนมองว่าประเทศไทยเราจะเสียเปรียบเรื่องข้าวกับประเทศเวียดนาม
เนื่องจาก ประเทศเวียดนามสามารถผลิตข้าวในต้นทุนที่ต่ำกว่าบ้านเรามากเลย
เรามาดูสาเหตุของการผลิตข้าวที่มีต้นทุนสูงของบ้านเรากันนะครับ

ด้านแรงงาน

เดิมในการทำนาเกษตรใช้แรงงานในครอบครัวในการทำนาและไม่มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาเกี่ยวข้อง
แต่ปัจจุบันการทำนาของเกษตรกรเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน หรือ
จ้างแรงงานในการทำนาโดยมีค่าแรงที่สูงถึงวันละ 300 บาท
และมีใช้เครื่องจักรก็ต้องมีต้นทุนเรื่องของค่าเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น

ด้านการดูรักษา

เดิมเกษตรกรใช้วิธีการดูแลรักษาหรือใส่ปุ๋ยเน้นเป็นมูลสัตว์
และการผลิตปุ๋ยใช้เองโดยนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาทำการหมัก จนกลายเป็นปุ๋ยหมักแล้ว
นำมาใช้ในนาข้าวแทน และการกำจัดวัชพืชก็เน้นแรงงานในครัวเรือนในการกำจัดวัชพืช
แต่ปัจุบันเกษตรเน้นการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพงมากในปัจจุบัน ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนที่สูงมาก
และการกำจัดวัชพืชก็เน้นการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชก็เป็นต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก

หากเรายังมีแนวทางการทำนาแบบนี้อยู่ผู้เขียนมองว่า
เราจะเกิดปัญหาหลายประการด้วยกัน ประการที่ 1 คือ
ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงแน่นนอน ประการที่ 2 คือ
การที่เกษตรกรเองต้องรับสารเคมีทุกวันและก็ยังจะส่งผลถึงสุขภาพของเกษตรเอง
รวมทั้งผลิตที่เราผลิตได้ก็อาจจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งในการกีดกันที่จะนำข้าวส่งออกไปต่างประเทศด้วย

แนวทางการการแก้ไขปัญหา

สำหรับการแก้ไขปัญหานั้นผู้เขียนมองว่าเราต้องแก้ไขในขั้นตอนของการผลิตเป็นอันดับแรกคือเราเน้นการปฏิรูปการทำนา
โดยเน้นการผลิตข้าวอินทรีย์ มีการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีทั้งปวง รัฐบาลให้ความจริงจังในการผลักดันเกี่ยวกับข้าวที่ไร้สารเคมี  มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์แบบครบวงจรครับ
แล้วข้าวหอมมะลิของเราก็จะสามารถแข่งขันในเวทีอาเซียนได้ และมองไปในอนาคตกลุ่มประเทศที่เข้ามาร่วมประชาคมอาเซียน
คือ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย อันนี้หากเราสามารถทำการตลาดในกลุ่มประเทศเหล่านี้จนสามารถแข่งขันได้
ประเทศเราก็พร้อมก้าวสู่การเป็นประเทศผู้นำด้านข้าวได้
แต่ทั้งนี้ทั้งเราคงต้องดูว่า จุดเน้นของเราคือ หอมหอมมะลิ 105 ทุ่งกุลาร้องให้ ไร้สารเคมี จริง

ผู้เขียนมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า
ในสถานการณ์ปัจจุบันโลกกำลังเปลี่ยนไปผู้คนหันมาใส่สุขภาพมากขึ้น
และผู้คนเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากเราสามารถผลิตข้าวหอมมลิ 105 ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของความหอม อร่อยอยู่แล้วและเพิ่มในเรื่อง
เป็นข้าวปลอดสารเคมี และเป็นในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าไปแล้ว
ผู้เขียนก็เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เราสามารถแข่งขันได้แน่นนอน………

ธนัณชัย  สิงห์มาตย์ 

10  สิงหาคม 2554



 



 



 



 



 

หมายเลขบันทึก: 453283เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2011 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท