จิตติ์ ดวงบุปผาวงค์
พระครูปลัด จิตติชัย จิตติชโย มาตย์วงค์

สมาธิกับวิปัสสนา


รู้ ตื่น เบิกบานด้วยกรรมฐาน
สมาธิกับวิปัสสนา
  
บทนำสมาธิ          
คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้ามุ่งที่จะสร้างชีวิตมนุษย์เราให้สมบรูณ์
สิ่งที่พระองค์ได้ตรัสสอนไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดกันเล่นเท่านั้น  พระองค์ได้ทรงค้นพบสัจธรรมจากการที่พระองค์ได้รู้แจ้งทุกข์ซึ่งได้เบียดเบียนสรรพสัตว์อยู่คำสอนเป็นผลที่ได้รับจากการต่อสู้เพื่อจะให้มนุษย์เราพ้นจากความทุกข์ คำสอนของพระองค์ที่ชี้ชัดถึงเรื่องดังกล่าวจะเห็นได้ในอริยสัจ 4
และคำสอนของพระองค์มุ่งที่จะให้มนุษย์เราพ้นจากทุกข์ได้แก่อริยสัจข้อที่ 4 ซึ่งเรียกว่ามรรคมีองค์ 8 อริยสัจข้อที่ 4 หรือมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางให้มนุษย์เรารู้จักคิดพร้อมกับปฏิบัติไปด้วย
เป็นทางให้นำมาปฏิบัติให้เกิดปัญญา คำสอนของพระองค์เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณที่จะช่วยเหลือมนุษย์และสัตว์เป็นการช่วยเหลือทางจิตใจคำสอนของพระองค์เป็นแนวทางที่จะยกระดับมนุษย์และสัตว์ให้บรรลุจุดหมายปลายทางหรือเพื่อความดับทุกข์  
     เป็นความจริงที่ว่าถึงแม้ว่าโลกจะครอบคลุมโลกนี้อยู่ แต่ก็เป็นสิ่งเห็นได้ยาก  มนุษย์เราถูกอวิชชาครอบงำและเพราะมีอวิชชาความไม่รู้เป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงมีความยึดมั่นสิ่งต่างๆเกี่ยวกับทางโลภ ซึ่งพวกเขาเข้าใจว่าจะช่วย ให้ได้รับความสุขเพราะตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ โกธรหลง พระพุทธองค์ทรงมีพระกรุณาต่อสรรพสัตว์ จึงได้ตรัสสอนวิธีบำเพ็ญภาวนา  ด้วยการบำเพ็ญภาวนานี้แหละพระองค์ทรงตรัสสอนว่าจะช่วยขจัดเสียซึ่งเหตุและปัจจัยแห่งความไม่สบายกายและไม่สบายใจที่แปลมาจากคำว่าทุกข์  พระพุทธองค์ได้ใช้คำว่า “ทุกข์” ในหลายความหมายเช่น คำว่า เกิด  แก่  เจ็บ ตาย  ความเศร้า ความเดือดร้อนใจความคร่ำครวญ ความลำบาก ความเสียใจ ความสิ้นหวัง หรือ เรียกว่าชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ซึ่งคำเหล่านี้หมายถึงความทุกข์นั่นเองหรือว่าโดยย่อ การเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 เรียกว่าทุกข์  คำว่าทุกข์ที่เกิดจากการยึดมั่นในขันธ์5 นี้ก็เพราะว่า ขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ควรกลัวเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปรสลายไปเป็นธรรมดา สิ่งใดที่ไม่เที่ยงก็เป็นสิ่งที่น่ากลัว (เพราะนำความทุกข์มาให้) มีความทุกข์อยู่ก็จริง  แต่ก็ยังมีความหวังเพราะว่าทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยทุกข์ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยเหตุไม่อาศัยปัจจัยไม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ หรือว่าอาศัยเหตุปัจจัยภายนอกแต่ว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างดังนั้นทุกข์จึงสามารถที่จะขจัดให้หมดไปได้ปัญญา ความรอบรู้
ความรู้แจ้งเห็นจริงที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ศีล สมาธิ เป็นพื้นฐานสามารถที่จะขจัดรากเหง้าแห่งความทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง พระพุทธองค์ทรงชี้ทางและกระตุ้นให้มนุษย์เรากำหนดรู้ถึงความจริงเกี่ยวกับชีวิตตามสภาวะที่เป็นอยู่คำสอนเกี่ยวกับความทุกข์ เมื่อคนเราทราบว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์
จะได้เตรียมตัวเพื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆในขณะที่มีชีวิตอยู่โดยปราศจากความกลัวและด้วยความมั่นใจเหตุผลดังกล่าวมา ควรทำความเข้าใจว่าอริยสัจข้อที่ 1 คือความทุกข์ไม่ใช่จะปฏิเสธความสนุกความเพลิดเพลินหรือความสุขที่มีอยู่ในโลกนี้คำสอนเกี่ยวกับความทุกข์นี้ต้องการที่จะเน้นส่วนที่ไม่ดีคือชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยความชั่วร้ายโดยปกติคนเรามักจะไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องความทุกข์มัวเพลิดเพลินกับสิ่งที่ตัวเข้าใจว่าให้ความสุข แต่ที่แท้จริงก็นำความทุกข์มาให้สอนเกี่ยวกับความทุกข์ได้เตือนให้มนุษย์เรารู้ว่ามันเป็นความจริงที่มนุษย์เรามักจะไม่เข้าใจและไม่ยอมรับกันอริยสัจ 3 ข้อแรกแสดงถึงปรัชญาชีวิตที่ให้แสงสว่าง ที่ให้เกิดความรู้และอริยสัจข้อสุดท้ายเป็นการแสดงถึงภาคปฏิบัติที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตคือ ความดับทุกข์หากปราศจากอริยสัจข้อที่ 4
เสียแล้วคำสอนของพระพุทธองค์ก็ไม่สมบรูณ์หากปราศจากการปฏิบัติที่ถูกต้องคำสอนที่จะเรียกว่าเป็นปรัชญาก็จะเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายไร้ประโยชน์ ผู้ประกาศคำสอนเช่นนั้น โดยไม่สอนถึงหลักปฏิบัติที่นำมาใช้ได้ก็เสมือนคนตาบอดที่พยายามที่จะอธิบายสีต่างๆของดอกไม้โดยที่ตัวเองไม่เห็นสีของดอกไม้เหล่านั้น                                                                                                                                            พระพุทธศาสนายอมรับและประกาศให้โลกรู้ว่า
ความทุกข์ทั้งปวงและความชั่วร้ายทั้งหลายแหล่เกิดขึ้นจากทวารทั้ง 3 คือ เกิดจากกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร หรือเกิดขึ้นจากการกระทำทั้งกายทางคำพูดและการคิด ใจ ถือว่าสำคัญที่สุด พระพุทธองค์ตรัสสอนว่าใจเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของการกระทำและการพูด การกระทำการพูดจะดีหรือชั่วนำมาซึ่งความทุกข์หรือความสุขก็มาจากใจศีลสามารถที่จะอำนวยให้คนเรามีการกระทำที่ถูกต้องหรือให้เกิดกายสุจริต วจีสุจริตแต่ว่าศีลไม่สามารถที่จะบังคับใจได้ มีแต่สมาธิ และวิปัสสนา
เท่านั้นที่สามารถจะช่วยทำให้ใจสงบ สามารถบังคับใจ และให้รู้แจ้งเห็นจริง
ให้เกิดปัญญา ดังนั้น หากเราจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่เชื่อว่า
พระเจ้าเป็นรากฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง หรือว่า พระเจ้าเป็นเหตุแห่งทุกสิ่งทุกอย่าง
พระพุทธศาสนาถือว่าเหตุผลแห่งทุกสิ่งทุกอย่าง
พระพุทธศาสนาถือว่าเหตุผลของทุกสิ่งทุกอย่างคือใจ
           ใจควรที่จะได้รับการฝึกฝนอบรมในวิธีที่ถูก
วิธีที่จะฝึกใจให้ถูกก็คือฝึกโดยอาศัยอริยมรรคมีองค์ 8 อริยมรรคมีองค์ 8 เรียกว่าเป็นทางทางเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์เป็นหนทางมีไว้สำหรับคนที่เดินเท่านั้น
ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากอำนาจอื่นใดที่มาจากภายนอกทางที่พระองค์ได้วางไว้เป็นทางที่จะต้องดำเนินไปด้วยตนเองไม่มีใครที่จะช่วยได้ทางที่พระองค์ประกาศไว้เรียกชื่อเพื่อง่ายต่อการปฏิบัติว่า ศีล  สมาธิ ปัญญา ที่จะต้องปฏิบัติ จะต้องทำให้เกิดขึ้น ทางพระพุทธศาสนาถือว่า ศีล
เป็นพื้นฐาน ศีล หมายถึง ข้อบัญญัติที่กำหนดทางปฏิบัติ ทางกาย วาจา ศีล
หมายถึงความดีต่างๆการบำเพ็ญตนให้มีศีลหรือการปฏิบัติตนให้มีศีลในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเหตุให้เจริญในคุณธรรมยิ่งๆขึ้นศีลมีความจำเป็นมากในการปฏิบัติ
หรือในการบำเพ็ญภาวนาเพราะว่าศีลเป็นเครื่องช่วยให้ขจัดเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอันตรายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบทางใจสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิและวิปัสสนาคุณค่าของศีลในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ช่วยทำใจของคนเราให้ปราศจากสิ่งเศร้าหมองช่วยทำจิตใจให้สะอาดเป็นเบื้องแรก เพื่อจะนำไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงต่อไป
            ศีลมีลักษณะ 2
คือสมาทาน ช่วยให้เราทำอะไรด้วยความตั้งใจเพื่อให้เกิดศีลธรรมและอีกข้อหนึ่งเรียกว่าอุปธารณหรือปติฏฐานเป็นพื้นฐานแห่งความดีทั้งปวงหรือจะกล่าวให้ชัดลงไปศีลทำให้คนเราเว้นจากสิ่งที่ก่อให้เกิดความชั่วหรือให้เกิดความละเมิดศีลธรรมและทำให้คนเรามีใจที่จะรักษากฎระเบียบเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ทางศีลธรรมยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ถือศีลดั่งพระพุทธองค์ตรัสว่า “ถ้าเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ วางศาสตราวุธ เป็นผู้ที่มีใจเพียบพร้อมด้วยเมตตา กรุณา มีชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์”
           ศีล 5
ซึ่งเป็นศีลขั้นพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ฆราวาสจะต้องรับมาปฏิบัติเป็นการชี้ถึงกฎของศีลธรรมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตเราเพื่อให้เกิดศีลธรรมอันเป็นผลทางใจไม่ใช่เพื่อที่จะให้พระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้ที่มีอำนาจเบื้องบนโปรดปรานแต่เพื่อให้เกิดศีลธรรมในสังคมดังนั้นศีลข้อแรกประสงค์ที่จะให้มนุษย์เรารู้จักควบคุมอารมณ์เกี่ยวกับความโกธรหรือโทสะ ศีลข้อ 2 เกี่ยวกับเรื่องความพอใจในทรัพย์สมบัติที่มีอยู่  ศีลข้อ 3 ให้พอใจในเรื่องคู่ครองศีลข้อ 4 ให้เป็นคนพูดที่มีความเชื่อถือ
พูดแต่คำจริงและมีประโยชน์ ศีลข้อ 5 เพื่อขจัดเสียซึ่งความเป็นทาสของสิ่งมึนเมาและสิ่งเสพติดอันเป็นผลละเมิดศีลข้ออื่นหรือเป็นเหตุอันเป็นผลให้เกิดอกุศลกรรมต่างๆ
            ดังนั้นว่าโดยความหมายทั่วๆไปศีลช่วยขจัดสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เช่น ช่วยให้ราคะ โทสะ
เบาบางลงและให้เป็นคนเสียสระ มีความเมตตากรุณา รักใคร่สงสารกันและสิ่งที่สำคัญที่สุด ศีลเป็นพื้นฐานการนำไปสู่การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา                                                                                  สมาธิและวิปัสสนาเป็นที่รู้จักกันว่า “ภาวนา” คำว่า ภาวนา หมายถึง
การอบรมหรือการทำให้เกิดขึ้น การพัฒนา ได้แก่ การอบรมทางใจคือการพัฒนาทางใจ
ทำให้คุณธรรมเกิดขึ้นในใจภาวนาตามความหมายทางพระพุทธศาสนา  เป็นเรื่องการอบรมใจ
มุ่งที่จะชำระใจให้สะอาดจากสิ่งเศร้าหมอง จากสิ่งที่รบกวน
จากสิ่งที่เป็นอุปสรรคปิดกั้นไม่ให้บรรลุถึงความดีที่เรียกว่า “นิวรณธรรม” คือความพอใจรักใครในเรื่องทางกาม
เรียกว่า กามฉันทะ ความพยาบาท ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญ
และความลังเลสงสัย 
นอกจากนี้ภาวนายังหมายถึงการที่รับเอาคุณธรรมที่ดีไว้ เช่น มีสติ ศรัทธา
ความเพียร ความปลื้มปีติ ความสงบ ความมีใจแน่วแน่ ความวางเฉย
หรือควบคุมอารมณ์อันจะเป็นเครื่องช่วยให้บรรลุคุณธรรมขั้นสูงสุดคือ
การรู้แจ้งเห็นจริง ได้แก่การทำพระนิพพานให้แจ้ง ซึ่งถือเป็นจุดหมายปลายทาง
           สมาธิภาวนาใช้เป็นคุณศัพท์ของสมถภาวนา
หมายถึงการอบรมใจให้สงบวิปัสสนามุ่งถึงการอบรมใจให้เกิดปัญญา บางครั้งใช้คำว่า
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานแทนคำว่าสมาธิ ถาวนาและวิปัสสนาภาวนา
ที่เรียกว่าสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานก็เพราะว่าการปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนา
จะต้องมีอารมณ์ถ้าปราศจากอารมณ์เสียแล้วก็ไม่สามารถที่จะปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาได้
เพื่อจะเน้นถึงอารมณ์ของสมถะและวิปัสสนาจึงเรียกว่ากรรมฐาน อาจใช้คำว่าสมาธิภาวนา
แทนคำว่า สมถภาวนา เมื่อว่าตามความหมายทั้ง 2 ศัพท์
แล้วก็มุ่งถึงความมีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์หรือว่ามุ่งถึงการทำจิตใจให้เป็นสมาธิให้มีอารมณ์เดียว         
จะทำความแตกต่างระหว่างสมาธิและวิปัสสนา
ให้ปรากฏแจ่มชัดก็โดยอาศัยกิจหรือหน้าที่วิธีและผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ
หน้าที่หรือกิจของสมาธิก็เพื่อทำจิตให้สงบแน่วแน่
ส่วนหน้าที่ของกิจและวิปัสสนาก็เพื่อขจัดอวิชชาจากใจเพื่อจะใช้ปัญญาให้รู้แจ้งเห็นจริงสภาวธรรมทั้งหลาย
            การเจริญสมาธิก็เพื่อที่จะเอาใจไปจดจ่อ เอาใจไปกำหนด
และเอาใจไปกำกับอยู่กับสิ่งที่เราใช้เป็นอารมณ์ในการบำเพ็ญ
โดยที่ไม่พิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความเป็นอนัตตาของสิ่งนั้น
ส่วนวิปัสสนาพิจารณาตริตรอง ใคร่ควรลักษณะของอารมณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อจะกำจัดอวิชชาให้หมดไป
เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง
ให้เกิดปัญญารู้สภาพอันแท้จริงของสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์นั้น
หรือเพื่อให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สมาธิไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มุ่งที่จะทำใจให้แน่วแน่เป็นสมาธิหรือทำใจให้กำกับจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติเท่านั้น
เพื่อให้เกิดความสงบ ไม่ให้เกิดความฟุ้งซ่าน แต่วิปัสสนาไม่ได้มุ่งหมายเพียงแต่ความสงบจิต
แต่มุ่งหมายที่จะให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงสภาวธรรม ความรู้ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาจะขจัดเสียซึ่งกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดารของคนเรา
เพื่อขจัดสังโยชน์สิ่งที่ผูกพันคนเราให้เวียนว่ายตายเกิด ผูกพันให้อยู่ในวัฏสงสาร
และเพื่อบรรลุจุดหมายปลายทาง
            การที่ภาวนามี2
ก็เพื่อบุคคล 2 ประเภท
คือบางพวกมีศรัทธาแก่กล้ากับ บางพวกมีปัญญาแก่กล้า
สมาธิเหมาะสำหรับผู้มีศรัทธาแก่กล้าในเบื้องแรกของการปฏิบัติ
ส่วนวิปัสสนาก็เหมาะแก่ผู้ที่มีปัญญาแก้กล้าในการเริ่มปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติโดยใช้สมาธิเป็นพื้นฐานอาจเจริญวิปัสสนาในภายหลังและเช่นเดียวกันผู้ที่ใช้วิปัสสนาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติก็อาจเจริญสมาธิในภายหลัง
            อนึ่งที่มี2
วิธี ในการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา ที่เรียกว่าสมถยานะ
และวิปัสสนายานะ วิธีทำให้ใจสงบและวิธีที่ทำให้เกิดปัญญา 2 วิธี
มุ่งถึงบุคคล 2 ประเภท คือประเภทตัณหาจริต
ได้แก่พวกที่มีปกติถูกตันหาครอบงำ และผู้ที่มีทิฏฐิจริต คือพวกที่มีปกติสงสัยหรือพวกที่ชอบใช้ปัญญาประเภทแรกก็เหมาะที่จะใช้สมถะเป็นพื้นบานในการปฏิบัติวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุถึงจุดหมายปลายทาง
ประเภทหลังก็เหมาะที่จะใช้วิปัสสนาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ จากนัยหลังจากบรรลุถึงจุดหมายปลายทางก็กลับมาบำเพ็ญสมถะเพื่อให้ได้รับความสงบทางจิตใจและเพื่อให้เกิดฤทธิ์ปาฏิหาริย์
            คำว่าสมาธิในที่นี้ก็หมายถึงการตั้งใจมั่นหรือการอบรมจิตใจให้เกิดคุณธรรม
เราไม่สามารถที่จะใช้ศัพท์ภาษาไทยถ่ายทอดเนื้อความคำว่าสมาธิได้อย่างหมดเปลือก
เราไม่สามารถที่จะใช้ศัพท์ๆเดียวจำกัดความหมายของคำว่าสมาธิได้ ถึงกระนั้นก็ตามเพื่อความสะดวกเราจำเป็นใช้คำนี้ต่อไป
สมาธิเมื่อว่าตามศัพท์หมายถึง “รวมเข้าด้วยกัน” มาจากคำว่า สำ-อา-ธา  ซึ่งบ่งถึงสภาพของจิตใจและวิธีที่จะทำให้จิตใจเป็นเช่นนั้นได้แก่
ความตั้งมั่นแห่งจิต เมื่อว่าถึงรากศัพท์หมายถึง ความมีจิตใจตั้งมั่นจดจ่อ
เพ่งในอารมณ์เดียว ได้แก่การที่เอาจิตไปกำหนดสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมาธิ
            เมื่อว่าถึงความหมายที่แท้จริง
ภิกษุณีธรรมทินนา เมื่อได้สนทนากับวิสาขะอุบาสกได้ให้ความหมายของคำว่า สมาธิ ใน
มัชณิมนิกายว่า การที่มีจิตเป็นหนึ่ง คือจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์ของสมาธิก็คือ
สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 เป็นบริวารของสมาธิหรือเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ  การอบรมการเจริญสติปัฏฐาน 4 และสัมมัปปธาน 4 เรียกว่าเป็นการ บำเพ็ญสมาธิ                                                                         สมาธิมุ่งเอาการปฏิบัติทั้งรูปนามและอรูปนาม
ตามบาลี “รูปฌาน” ตรงกับคำสกฤตว่า “ธยาน” ซึ่งได้ใช้จากรากศัพท์ว่า “เฌ” หมายถุง คิดหรือเพ่งคือคิดหรือเพ่งสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ฌานได้ใช้ในความหมายว่า เผาก็มี คือเผาสิ่งที่เป็นฆ่าศึกหรือสิ่งที่ไม่ดี
            ฌานจะรู้ได้โดยอาศัยองค์ประกอบ
ตามวิธีของพระสูตร ฌานมี 4
ข้อ ปฐมฌาน ประกอบด้วยองค์ 5 คือ 1.วิตก การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ 2.วิจาร
การเอาจิตไปกำกับอยู่กับอารมณ์นั้น 3.ปิติ ความอิ่มใจ 4.ความสุข 5.เอกัคคตา คือมีใจเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้น
ทุติยฌานประกอบด้วยองค์ 3 คือ ปิติ สุข เอกัคคตา โดยละองค์ 2
ขั้นต้น ตติยฌาน ประกอบด้วย 2 คือ สุข
เอกัคคตา พร้อมทั้งวิตก วิจาร ปิติ การถูกกำจัดหมดไป จตุถฌาน
มีเอกัคคตาและอุเบกขาเป็นองค์ประกอบก่อนที่จะบรรลุถึงฌาน
ผู้บำเพ็ญภาวนาจะต้องผ่านการปฏิบัติตามลำดับ
เริ่มแรกผู้ปฏิบัติจะต้องเลือกอารมณ์ที่จะปฏิบัติเพื่อให้เกิดฌานให้เหมาะกับจริต
หรืออุปนิสัยของตน                                                                                                                                  เมื่อว่าถึงจริตหรืออุปนิสัยของคนเรา
ท่านได้กล่าวไว้ 6
จริตด้วยกันคือ ราคจริต มีความโน้มเอียงไปในความกำหนดรักใคร่
โทสจริต มีความโน้มเอียงไปทางโทสะ ความโกธร ความประทุร้าย โมหจริต
มีความโน้มเอียงไปในทาง โมหะ ความหลง ศรัทธาจริต มีความโน้มเอียงไปในทางเชื่อง่าย
พุทธิจริต มีความโน้มเอียงไปในทางใช้ปัญญา และวิตักกจริต
มีความโน้มเอียงไปในทางสงสัย จริตเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงภาวะทางจิตใจของคนเรา
จริตเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่เกิดเพราะกรรมเก่าหรืออาจเกิดขึ้นเพราะสภาวะการทางปัจจุบัน
คือธาตุและส่วนประกอบของร้างกายของคนเรา จริตอาจจะแตกต่างกันโดยอาศัยพันธุกรรม
ดินฟ้าอากาศ หรือสิ่งแวดล้อม
            การที่จะปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ
พระพุทธองค์ได้ตรัสแนะให้ใช้อารมณ์ที่เหมาะสมกับจริตดังต่อไปนี้
            อสุภะ10
ประการ และกายคตาสติ เหมาะสำหรับผู้มีราคจริต พรหมวิหาร 4 และวรรณกสิณ 4 คือสีทั้ง 4 เหมาะสำหรับผู้มีโทสจริต
อานาปาสติ เหมาะสำหรับผู้มีโมหจริต อนุสสติ 6 ข้อข้างต้นเหมาะสำหรับผู้มีศรัทธาจริต
มรณัสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุวัฏฐานและอาหารปฏิกูลสัญญา
เหมาะสำหรับผู้ที่มีพุทธิจริต อานาปานสติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีวิตักกจริต
และกสิณที่เหลือพร้อมกับอรูป 4 เหมาะสำหรับจริตทุกประเภท
            กสิณ10
ประกอบด้วย ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
และสีทั้งสี่คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว อากาส วิญญาณ
หรือช่องว่างในอากาศ 
กสินหมายถึงสิ่งที่ดังต่อไปนี้คือ 1.ดวงกสินที่ทำขึ้นด้วยสิ่งดังกล่าวที่ใช้เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ
2.หมายถึงนิมิตคือสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ 3.หมายถึงณานคือสิ่งที่ได้จากนิมิต (วิธีทำดวงกสิน
ก็เอาดินหรือน้ำใส่ในภาชนะทำให้เป็นวงกลมกว้าง 1 คืบ 4 นิ้ว ถ้าเป็นดินก็ทำให้หน้าเสมอประดุจหน้ากลอง)
            อสุภะ10
ประกอบด้วย สภาพของวากศพที่เปลี่ยนแปรไปตามลำดับคือ อุทธุมาตะ
ซากศพที่ขึ้นพอง วินีลกะ ซากศพที่ขึ้นเขียว วิปุพพกะ ซากศพที่ต็มไปด้วยหนอง
วิจฉิททกะ ซากกระจัดกระจาย  หตวิกขิตตกะ
ซากศพที่ถูกฆ่าตายอยู่เรี่ยราด  โลหิตกะ
ซากศพที่มีเลือดไหลเปื้อนด้วยเลือด ปุฬุวกะ ซากศพที่เต็มไปด้วยพวกหนอน และ อัฏฐิกะ
ซากร่างกระดุก
            อนุสสติ10
ประการ ด้วยอนุสสติ 6 ขั้นต้นคือการที่เอาสติไประลึกถึงพระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ศีล จาคะ เทวดา และอาณาปานสติ มณัสสติ กายคตาสติ
และอุปสมานุสสติ
            การบำเพ็ญภาวนา
โดยอาศัย พุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัติ
ไม่ว่าจะใช้กรรมฐานอะไรเป็ยอารมณ์ เพื่อที่จะเกิดศัทธาเพิ่มศัทธา
ความเชื่อเลื่อมใส เพราะว่าคุณพระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดศัทธา
ยิ่งกว่านี้
คุณของพระรัตนตรัยเรียกว่าเป็นเครื่องป้องกันในเมื่อเกิดความกลัวต่างๆในขณะที่ปฏิบัติ
การระลึกถึงศีล จาคะ เทวดา ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติต้องเอาคุณเหล่านี้มาไว้ในตน
เพื่อเพิ่มพูนคุณสมบัติของตนคือทำให้เป็นคนที่ทีจิตใจเสียสละ
มีจิตใจที่สะอาดเป็นคนที่มีสติมีศีล
หรือทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็นคุณที่ทำให้คนเป็นเทวดา ดังนั้น อนุสสติ 6 ประการ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
ควรปฏิบัติเพื่อชำระจิตใจเพื่อให้จิตใจมีคุณธรรมและเพื่อที่จะปฏิบัติกรรมฐานข้ออื่นๆเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ
โดยใช้อารมณ์อื่นๆและเป็นพื้นฐานที่จะปฏิบัติวิปัสสนา
           มรณัสสติ
เป็นอนุสสติข้อที่ 7
หมายถึงการใช้สติกำหนดความตาย
ความตายที่มุ่งหมายที่นี้ได้แก่ความตาย 2 ประเภท คือ กาลมรณะ
ตายเมื่อถึงคราว คือความตายตามกาลตามเวลา และอกาลมรณะ คือ ตายอย่างไม่ถึงคราว
คือยังไม่ถึงเวลาที่จะตาย การตายในที่นี้หมายถึงการสิ้นชีวิต การตายของพระอรหันต์
การตายชั่วขณะหนึ่งก็ดี 
หรือการตายแบบสมมุตเช่นการตายของต้นไม้เป็นต้นก็ดี ไม่จัดว่าเป็นอารมณ์ของมรรัสสติ
ไม่จัดว่าเป็นมรณัสสติ 
มรณัสสติที่มุ่งหมายที่นี้เรียกว่าเป็นวิธีที่จะทำให้เกิดสมิ
มรณัสสติเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาขึ้นได้คือ ถ้าปฏิบัติโดยระลึกถึงหลังของอนิสจัง
ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้เกิดวิปัสสนาขึ้นได้

           กายคตาสติ
หมายถึคงการใช้สติระลึกถึงกาย หรือให้มีสติทุกขณะ ในมหาสติปัฏฐานสูตรกายคตาสติเรียกว่า
เป็นกรรมฐานที่ใช้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดทั้งสมาธิและวิปัสสนาที่รียกว่า
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติกำหนอกายซึ้งประกอบด้วย 14 หัวข้อ ด้วยกัน ตามที่กล่าวไว้ในกายคตาสติสูตร หัวข้อทั้ง 14 ก็ได้กล่าถึงในความหมายนี้ กายคตาสติใช้เป็นอารมณ์ของสมาธิและเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดผลยิ่งใหญ่คือ
ทำให้เกิดการหลุดพ้นได้ ทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง
ให้มีความสุขในชีวิตนี้และอื่นๆ
           เป็นที่น่าสังเกตว่าร่างกายทำหน้าที่ต่างๆในการสนับสนุนจิตใจ
แต่ว่าบางครั้งร่างกายก็จะเป็นอุปสรรค เมื่อเราไม่รู้จักสภาวะอันแท้จริงของมัน
บางครั้งถ้าเรารู้ภาวะของมัน
ก็ใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นถ้าเราไม่รู้ก็อาจเป็นไปในทางที่ไม่ดี
ในทางเลว
กายของเราเป็นเพียงอุปกรณ์อาจช่วยให้บรรลุถึงประโยชน์อันยิ่งใหญ่เมื่อเราเข้าใจกันได้ดี
แต่อาจเป็นอาวุธที่ร้ายกาจถ้าเราใช้กายโดยปราศจากสติสัมปชัญญะ
ผู้ที่ไม่เข้าใจในสภาวะอันแท้จริงของร่างกายนี้อาจถูกความลุ่มหลงครอบงำ
อาจตกเป็นทาสของร่างกาย ตกเป็นทาสของราคะหรือความเข้าใจผิดทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว
ทำให้เกิดราคะตัณหา ความโลภ โกธร หลง “รูปราคะ” ความกำหนดความใคร่ในรูปความยึดมั่นถือมั่นในรูปซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสังโยชน์
10 ประการ
เกิดขึ้นเพราะความไม่เข้าใจสภาวะอันแท้จริงของร่างกาย
เป็นเหตุให้คนเราต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏัสงสารอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์อย่างแท้จริง
           ผู้ที่ประสงค์จะนำตัวให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ต้องพยายามทำตัวให้เป็นอิสระจากเครื่องผูกรัดอันเกิดจากกายขยัดความยึดมั่นถือมั่นในกาย
เครื่องผูกรัดอันเกิดจากกายนี้ทำให้เกิดความเห็นผิดเกี่ยวกับตัวเรา
การที่จะทำเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถแยกแยะให้เห็นส่วนต่างๆของร่างกายไม่ใช่ทำอย่างเช่นนักกายวิภาคศาสตร์
แต่ว่าต้องปฏิบัติตัวในฐานะที่เป็นนักปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดโมหะ
ความไม่รู้ความรุ่มหลงเกี่ยวกับเรื่องตัวตน ให้เห็นแจ้งในสิ่งที่มีอยู่ตามความเป็นจริง
           อานาปานสติ
คือการเอาสติไปกำหนดลมหายใจเข้าออก อานาปานสติเรียกเป็นวิธีที่จะฝึกใจให้เป็นสมาธิ
เป็นวิธีแรกและเป็นวิธีที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์
พระองค์ได้ทรงแนะนำว่าเป็นวิธีที่จะนำมากล่อมเกลาจิตใจให้บรรลุถึงนิพพานได้
พระองค์ได้ตรัสสรรเสริญว่าเป็นอริยวิหาร เป็นเครื่องอยู่อาศัยของพระอริย
เป็นเครื่องอยู่อันประเสริฐ
           พระพุทธองค์เมื่อทรงพระเยาว์
ก็ได้เจริญอานาปานสติ จนได้บรรลุณานขั้นที่ 1 และ เป็นที่ทราบกันว่า
พระองค์ได้ใช้อานาปานสติบำเพ็ญภาวนาจนสามารถบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณใต้ร่มโพธิ์
ดังนั้น อานาปานสติ จึงเรียกว่าเป็นพุทธภาวนา คือ
เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญมาก่อน อานาปา
หมายเลขบันทึก: 451503เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาศึกษาพระธรรมบ้างครับผม

นมัสการครับ

  • กราบนมัสการค่ะ
  • อธิบายได้ละเอียดถี่ถ้วน  ชัดเจนดีมากค่ะ
  • อนุโมทนาสาธุค่ะ
  • เขียนได้ละเอียดดีมากเลยครับ
  • ลืมไปว่าท่านอยู่เชียงใหม่
  • เพิ่งไปมาเลยไม่ได้แวะนมัสการเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท