27 กรกฏาคม 2554 : เทคนิคการถอดบทเรียน


ผู้ที่ถอดบทเรียนที่ดี ที่ชัดเจนมากที่สุด คือ ผู้ที่มีองค์ความรู้นั้นอยู่ในตัวเอง เป็นผู้ดำเนินการเอง

สวัสดีครับ

วันนี้ผมขอนำเสนอภาพและเนื้อหาที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หัวข้อวันนี้คือ เทคนิคการถอดบทเรียน ที่ผมได้มีโอกาสเข้ารับการถ่ายทอดวิทยายุทธ์ รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ คุณครูของผม ถึงแม้ท่านจะย้าย คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ไปแล้ว ท่านก็ให้ความกรุณามามอบความรู้ให้กับพวกเรา ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2554 โดยการสนับสนุนของ รองคณบดีพัฒนาคุณภาพ รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ เพื่อมุ่งให้บุคลากรได้พัฒนาตน สู่การพัฒนางานต่อไป

 

 

 

 

 

 

ก่อนการบรรยายเรื่อง เทคนิคการถอดบทเรียน  อ.JJ  ได้อัญเชิญพระราชดำรัสของในหลวง เพื่อกระตุ้นการตั้งใจเรียนรู้ สู่การทำงานที่มีคุณภาพต่อไป

 

การตั้งต้นงานนี้สำคัญที่สุด คำว่า"ตั้ง" นั้นก็มีไว้เพราะว่าสำหรับงานใดๆ ก็จะต้องมีความมั่นใจ ตั้งใจนั้นคือ เอาใจตั้งในงาน หรือ อีกอย่างเอางานมาตั้งไว้ข้างหน้าใจ เมื่อเอางานมาตั้งไว้ข้างหน้าใจ หรือเอาใจตั้งไว้ในงานนั้น เชื่อว่างานก็คงสำเร็จลุล่วงไปได้โดยดี ตั้งใจนั้นก็ประกอบด้วยการตั้งทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในใจ คือ ความสามาราถ ความรู้ และความดีของตัว ให้ใส่ลงไปในงาน และงานนั้นก็จะมีความสำเร็จ มีคุณ และเป็นเกียรติสำหรับตนเอง เป็นเกียรติสำหรับหมู่คณะ สำหรับประเทศชาติ...

 

 

 

หลายครั้ง หลายคนมีข้อสงสัย และพูดให้ผมได้ยินว่า... การถอดบทเรียน คืออะไร ?

 

 

 

 

การถอดบทเรียน

เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้

เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้

 

 

การถอดบทเรียน

เป็นการค้นหาความรู้จากการปฏิบัติ

เป็นการสร้างความรู้

เป็นการใช้ความรู้ที่มีอยู่ เมื่อใช้ซ้ำๆ ย่อมเกิดทักษะ ความชำนาญ หรือสามารถปรับปรุงความรู้ นำไปสู่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

 

 

 

การถอดบทเรียน ต้องฝึกฝน วันนี้พวกเราได้ฝึกปิ๊ง... แวป.... จากเรื่องราวที่อาจารย์ฉายหนังให้ดู  

 

 

 

จากนั้นเข้ากลุ่ม ฝึกสุนทรียสนทนา

 

 

แล้วถอดบทเรียนที่ได้เรียนรู้ แล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน

 

โยนิโสมนสิการ คือ ฝึกให้มีการคิดใคร่ครวญ ไตร่ตรอง เป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียสนทนา

 

 

 

 

 

 

 

อาจารย์ได้กล่าวถึง อาศรม ๔ ซึ่งว่าด้วยการแบ่งวัยแห่งชีวิตเป็น ๔ ช่วง ในช่วงของ สันยาสี เปรียบเสมือน ผู้ที่แบ่งปันความรู้ ถ่ายทอดความรู้

 

 

 

 

 

การถ่ายทอดความรู้

ยิ่งทำ ยิ่งได้ ยิ่งให้ ยิ่งมี

ทำคล้ายๆกับวงจร PDCA เริ่มจากพัฒนาตนเอง นำไปสู่การพัฒนาคน สู่กลุ่มงาน และองค์กร

 

 

 

 

 

ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน

ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้

 

 

 

แล้วแลกเปลี่ยนอะไร ?

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

ถ้าหากวันนี้... ยังไม่รู้จักค้นหาความรู้ที่มีอยู่ หรือ สร้างความรู้จากการปฏิบัติ การทำงานจริง 

 

 

 

 

เมื่อใดต้องการผู้ถอดบทเรียน

 

 

 

 

การถอดบทเรียนที่บกพร่อง

หลายครั้ง หลายคนได้รับฟังเนื้อหาการประชุมการบรรยาย แล้วบิดเบือนเนื้อหาที่ได้รับรู้ รับฟังมา อาจผิดพลาดไป เนื่องจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่ต้องถอดบทเรียนออกมา เพราะว่าแต่ละคนมีภูมิหลัง แหล่งที่มาแตกต่างกัน 

 

 

 

 

 

ผู้ที่ถอดบทเรียนที่ดีที่สุด คือ ผู้ที่มีองค์ความรู้นั้นอยู่ในตนเอง เป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง ถือว่าเป็นผู้ถ่ายทอดโดยตรง

ส่วนผู้ถอดบทเรียนคนอื่นๆที่เข้าร่วม ถือเป็นผู้รับความรู้ อาจจะเข้าใจในสิ่งที่ถ่ายทอดลำดับที่สอง หรือที่สามต่อไป

 

 

 

คุณสมบัติของผู้ถอดบทเรียน 1-9 ที่น่าสนใจ

 

 

การถอดบทเรียน

ต้องจับประเด็น ใจความสำคัญ เชื่อมโยงให้ชัดเจน 

 

 

 

 

บางส่วนของลักษณะของผู้ถอดบทเรียน คือ

ต้องตรงต่อเวลา

สรุปประเด็นภายใน 24-48 ชั่วโมง

 

 

 

 

 

สรุป :  

การถอดบทเรียน



เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้

 

เป็นการบันทึกและถ่ายทอดความรู้ 



เป็นการนำความรู้จากคนหนึ่งไปสู่ตน คน กลุ่ม องค์กร



มีลักษณะไม่ตายตัว มีได้หลายรูปแบบ 

 

ผู้ถอดบทเรียนที่ดีที่สุด คือ การถอดด้วยผู้ที่มีองค์ความรู้นั้นๆด้วยตนเอง  

 

การถอดบทเรียนอาจบิดเบือนไปได้ จากผู้ถอดบทเรียนที่ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่ถอด เนื่องจากผู้ถอดบทเรียนมีความแตกต่างกันในพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ แหล่งที่มา 

 

การถอดบทเรียน ต้องฝึกฝน ต้องรู้จักฟัง คิด และทำ

 

 

แล้วท่านละครับ... มีประสบการณ์และเทคนิคอย่างไร ในการถอดบทเรียน

 

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ พัฒนาร่วมกันต่อไป ครับ



 

 



 

 





การถอดบทเรียน เป็นการสรุปใจความ จับประเด็นความรู้ ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ตายตัว

 

ผู้ถอดบทเรียน สามารถถอดเนื้อหาความรู้ได้หลายแบบ

 

สะท้อนตนเอง มองตนเองให้ออก บอกตนเองให้ได้ ใช้ตนเองให้เป็น

หมายเลขบันทึก: 451497เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียนอาจารย์เพชรากร ที่เคารพ

วิชาถอดบทเรียนเป็นวิชาที่ชอบมากที่สุดตอนเรียน คือหลังจากที่ทราบความหมายของการถอดบทเรียนทำให้ดิฉันเข้าใจอะไรๆได้มากขึ้นไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องเรียนหรือว่าชีวิตจริงของตนเองได้ทราบตัวตนที่แท้จริงของตนเองว่าต้องการอะไร ซิ่งเดิมไม่เคยคาดหวังว่าตนเองต้องเป็นอย่างไร หรือไปได้ไกลแค่ไหน ไม่เคยตั้งเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนของตนเองจริงๆซะที แต่พอได้เรียนกับท่านอาจารย์JJ. ทำให้ดิฉันไปถึงเส้นชัยจริงๆได้โดยพลังหนึ่งมันสมองสองมือสองเท้าของตัวเอง(พูดตรงๆคือเรียนจบจนได้ผ่านฉลุย) ซึ่งก่อนเรียนถอดรหัสบทเรียนยังคิดในใจว่าไม่รู้เรียนไปทำไม? ฟังนิทานให้คิดตามแล้วสรุป ต้องให้มานั่งเขียนบันทึกความในใจให้ฟังอีกแถมอาจารย์ยังแจกสมุดให้เขียนบันทึกถอดรหัสบทเรียนให้ฟังอีก บางวิชาที่เรียนตัวเองก็จับประเด็นไม่ได้ มันเป็นอะไรที่กดดันความรู้สึกตนเองมากๆๆ แต่พอทำตามที่อาจารย์แนะนำมันเป็นอะไรที่ดีมาก รู้สึกเหมือนคนหายใจเอาอากาศที่บริสุทธิืจากยอดเขาที่สูง รู้สึกสดชื่น แถบได้รับคำชมจากอาจารย์อีกเขียนจนสมุดหมดเล่ม ท่านบอกว่าให้ไปเบิกเล่มที่ 2 กับอาจารย์ต้อมยังไม่ได้เบิกเลยจบก่อนแล้ว....... ดีใจสุดๆ...ซึ้งๆ...มากเลยค่ะ เสียดายที่อาจารย์ท่านอาจารย์ลาออกก่อน นึกเป็นห่วงน้องๆแล้วซิว่าจะได้รับการ ถ่ายทอดสิ่งที่ดีๆจากอาจารย์รึเปล่า และวันนี้ก็เป็นโชคดีที่ได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ต้อมอีก เป็นประโยชน์มากๆค่ะชอบมาก และต้องขอขอบคุณมากค่ะ ที่นำแต่สิ่งดีๆมีประโยชน์มาฝากศิษย์ทุกๆคน

เรียน คุณ Rabbit

สิ่งที่ อ.จิตเจริญ ฝากไว้ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ท่านให้พวกเราฝึกฝนวิชา ฝึกทักษะ

อาจารย์จิตเจริญ ท่านสอนพวกเราหลายอย่าง ท่านหวังว่า...

พวกเราจะเติบโต สามารถนำวิชาไปใช้ประโยชน์ ไปถ่ายทอด ไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนา ตน คน หน่วยงาน

ท่านเฝ้ามองดูความสำเร็จของพวกเรา

ดังนั้น อย่ารอช้า พัฒนา ร่วมสร้างความภาคภูมิใจให้กับท่าน ด้วยการทำดี ทำประโยชน์เพื่อชาติ ต่อไป ครับ

ท่านสอนวิธีการหาปลา ต่อไปเราต้องหาปลากินเอง มือหนึ่งฝึกให้ มือสองเติบโต ครับ

เรียน อ.ต้อม ขอบพระคุณครับ

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ดีๆ มีหลายเรื่องที่ยังไม่ถอดบทเรียน (เกิน 24-48 ชม.แล้วค่ะ..เริ่มลืมเลือนแล้ว ต่อไปต้องรีบถอด)

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ขอบคุณ อาจารย์มากคะที่ถ่ายทอดองค์ความรู้

กำลังเริ่มฝึกบันทึก สรุปเนื้อหาที่ได้ไปพูดคุยเล่าเรื่องกับกลุ่ม(พยาบาล)โรคหัวใจมาสดๆ ร้อนๆ

กระติกยังไม่อยากใช้คำว่าถอดบทเรียน.... ขอใช้คำว่า   บันทึก  และ สรุปและ  นำเสนอ ก่อนดีกว่าคะ

 

ยังไม่ถึง 24  ชั่วโมง  คงใช้ได้เน๊าะ

 

  • มารับความรู้ด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ

 

เรียน ทุกท่าน

จะเรียกว่าถอดบทเรียน หรือ บันทึกการเรียนรู้ สรุป ย่อความ สำหรับความคิดของผม ก็ได้ทั้งนั้นครับ

ที่สำคัญ คือ การถ่ายทอดความรู้จากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นๆ แล้วมีการนำไปใช้ต่อ ไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้นั้น จะเป็นเรื่องที่ดียิ่งขึ้น

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท