aungor
นางสาว บุญศิริ ศิริสวัสดิ์

บทที่ 4.การจัดทำแผนที่ Layout


สารสนเทศภูมิศาสตร์

การจัดทำแผนที่ Layout
          ในการจัดทำแผนที่ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
 - ชื่อแผนที่ (Title)  บอกให้ทราบว่าเป็นแผนที่ เรื่องอะไร แสดงอะไร เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เช่น แผนที่แสดงแนวเขตของพื้นที่ต่าง ๆ   แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น
 - คำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend)  ใช้อธิบายความหมายของรายละเอียดของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกที่แสดงลงบนแผนที่
 - มาตราส่วน (Scale) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางบนแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง ซึ่งเป็นข้อมูลที่บอกให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่า แผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากของจริงในอัตราส่วนเท่าใด เช่น แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระยะทางจริงในภูมิประเทศ 1 กิโลเมตร เมื่อเขียนลงแผนที่อาจจะเขียนย่อส่วนลงจาก 1 กิโลเมตร เป็น 2 เซนติเมตร เป็นต้น
 - ทิศ (North Arrow) ในแผนที่จะระบุทิศเหนือไว้เสมอ เพื่อให้อ่าแผนที่ได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่แผนที่ไม่ได้ระบุทิศไว้ให้เข้าใจว่าเมื่อหันหน้าเข้าหาแผนที่ ด้านบนของแผนที่คือทิศเหนือ ด้านล่างเป็นทิศใต้ ด้านขวามือเป็นทิศตะวันออกและด้านซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก
 - ระบบพิกัด ( Coordinate System)  เป็นระบบที่สร้างขึ้นสำหรับใช้อ้างอิงในการกำหนดตำแหน่งหรือบอกตำแหน่งพื้นโลกจากแผนที่ มีลักษณ์เป็นตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้นตรงสองชุดที่ถูกกำหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก - ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กำเนิด (Origin) ที่กำหนดขึ้น  ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กำเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตำแหน่งของตำบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่าง ๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะใช้วัด
การเตรียมแผนที่
         ก่อนทำ Layout ควรเตรียมข้อมูลรวมถึงการปรับสัญลักษณ์หรือเปลี่ยนชื่อชั้นข้อมูลให้สื่อถึงความหมายเสียก่อน   สำหรับแบบฝึกหัดนี้จะได้ทำแผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 ประกอบด้วยข้อมูลพิกัดที่ตั้งและขอบเขตสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 ขอบเขตอำเภอ ขอบเขตจังหวัด ของพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด (ชุมพร, ระนอง, นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี) และแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L 7018 ระวางที่อยู่ในเขตสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14
•เปิดโปรแกรม ArcMap
 - กำหนดคุณสมบัติให้กับ Layer  โดยคลิกขวาที่ Layer  เลือก Properties
•คลิกที่แท็บ General    ในช่อง  Unit 
 - Map  ปรับเป็น  Meters
 - Display  ปรับเป็น  Meters
•คลิกที่แท็บ Coordinate system   ที่ช่อง select a coordinate system คลิกที่ Predefined  >  Project coordinate system  >  Utm  >  Wgs 1984  เลือก  WGS 1984 UTM Zone 47 N  เสร็จแล้วคลิก OK
•นำเข้าข้อมูลพิกัดที่ตั้งสสภ.14 , ขอบเขตอำเภอ 4 จังหวัด,  ข้อมูลความสูงภูมิประเทศ(Digital Elevation Model:DEM),  จาก Directory  โดยคลิกที่  Add data  เลือกชั้นข้อมูล  คลิก Add
       ก่อนที่จะทำการสร้าสัญลักษณ์  ควรจะเปลี่ยนแปลงข้อความใน TOC เพราะอะไรก็ตามที่ปรากฎใน TOC จะแสดงในส่วนแสดงผลของแผนที่ สังเกตว่าหัวข้อในสัญลักษณ์ เลเยอร์จะถ่ายทอดชื่อของฟิลด์ที่ใช้ในการแบ่งชั้นข้อมูล ควรจะเปลี่ยนชื่อเพื่อให้ผู้อ่านแผนที่สามารถเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น
•คลิกที่ชื่อฟิลด์ใน TOC  ให้ขึ้นแถบสีน้ำเงิน >  คลิกที่ชื่ออีกครั้งเพื่อเริ่มการแก้ไข  หรือ  กดปุ่ม F2  พิมพ์ชื่อที่ต้องการแล้วกดปุ่ม ENTER  จะได้ชื่อใหม่ที่แสดงใน  TOC
•เปลี่ยนชื่อข้อมูลทั้งหมด  ดังภาพ
•ปรับสัญลักษณ์ข้อมูล  โดยดับเบิ้ลคลิกที่สัญลักษณ์ แล้วเปลี่ยนคุณสมบัติ ดังนี้
พิกัดที่ตั้งสสภ.14 เลือกสัญลักษณ์ที่ต้องการ ขอบเขตอำเภอแสดงเป็น Unique Value ตามค่าฟิลด์ PROV_NAM_T และข้อมูล DEM ทำการ Classified Value เลือก Color Ramp ที่ต้องการ
•บันทึกโปรเจคเก็บไว้   เลือกเมนู File > Save As   เลือก Directory  ที่ต้องการเก็บไว้  ตั้งชื่อเป็นแผนที่สสภ.14
•เมื่อเสร็จแล้วเปลี่ยนหน้าต่างแสดงผล จากหน้า Data view  เป็นหน้า   Layout view  โดยคลิกที่เมนู View >  Layout  view  หรือคลิกที่
การกำหนดขนาดกระดาษและคุณสมบัติ Printer
•ปรับรูปแบบของกระดาษสำหรับรองรับแนวการวางแผนที่แบบแนวตั้ง  โดยคลิกเมนู File > Page and Print Setup จะปรากฏหน้าต่าง  Page and print setup   ที่ Name  เลือกเครื่อง Printer ที่ต้องการ  เลือกขนาดกระดาษเป็น A4  และเลือก  Orientation แบบ  Portrait  เสร็จแล้วคลิก  OK
•ปรับขนาดแผนที่ให้เหมาะสม  โดยคลิกที่ Data frame  1 ครั้ง  จะขึ้นกรอบ  ลากที่มุมให้มีขนาดดังภาพ
การสร้างป้ายข้อมูล (Label)  จาก Layer Properties
•ชั้นข้อมูลที่ต้องการปรับคุณสมบัติ คือ   ขอบเขตอำเภอ 
•คลิกขวาที่ชั้นข้อมูลขอบเขตอำเภอ  เลือก Properties  คลิกที่ แท็บ Label
•คลิกเครื่องหมายถูกหน้า   Label features in this layer
•Label field : เลือกฟิลด์ที่ต้องการแสดงป้ายข้อมูล
 - ชั้นข้อมูลขอบเขตอำเภอ ใช้ข้อมูลจากฟิลด์  AMPHOE_T
•ที่  Text symbol : เลือกแบบอักษร  กำหนดขนาดตัวอักษร สี  ตัวหนา  ตัวเอียง
•เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Apply  และคลิกปุ่ม OK
•จะปรากฏป้ายข้อมูลตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้
การปรับแต่งป้ายข้อมูลให้เด่น
•เพิ่มรัศมีให้ตัวอักษรเป็นสีขาวหรือสีเหลืองล้อมรอบข้อความเพื่อให้เห็นข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น  โดยคลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก Properties  ที่หน้าต่าง Layer  Properties คลิกแท็บ Labels
•ที่กรอบ Text  Symbol   คลิกปุ่ม  Symbol   จะปรากฎหน้าต่าง Symbol selector  คลิก Properties
•ปรากฎหน้าต่าง Editor  คลิกแท็บ  Mask  คลิก  Halo
•เสร็จแล้วคลิก OK
•จะปรากฏป้ายข้อมูลตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้
•ยกเลิกการแสดงป้ายข้อมูล  โดยคลิกขวาบนชั้นข้อมูลที่ได้ทำ Label  แล้วคลิก Label feature เพื่อเช็คเครื่องหมายถูกออก
การเพิ่มคำอธิบายสัญลักษณ์ (Add a Legend)
•เพิ่มคำอธิบายสัญลักษณ์ข้อมูล  คลิกเมนู Insert > Legend
•คลิก Next  ไปจนกระทั่งเสร็จสิ้น  หรือจะปรับเปลี่ยนคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น  ใส่เส้นขอบสัญลักษณ์  ใส่สีพื้นหลัง  ใส่แสงเงา  ปรับขนาดและรูปร่างของสัญลักษณ์  ในแบบฝึกหัดนี้ให้คลิก Next  ไปจนเสร็จก่อน
•สามารถเคลื่อนย้ายสัญลักษณ์ไปวางในตำแหน่งที่เหมาะสมได้
การปรับแต่งคำอธิบายสัญลักษณ์ (Adjust a Legend)
     หลังจากเพิ่มคำอิบายสัญลักษณ์แล้ว  สามารถกลับมาแก้ไขคำอธิบายสัญลักษณ์ใหม่ได้ภายหลัง  ดังนี้
•ดับเบิ้ลคลิกบนสัญลักษณ์หรือคลิกขวาบนสัญลักษณ์  เลือก Properties   จะปรากฎหน้าต่าง  Legend  Properties
•คลิกแท็บ Legend   สามารถพิมพ์ข้อความใหม่ลงใน Title  ได้เช่น  เปลี่ยนจาก Legend  เป็น  “คำอธิบายสัญลักษณ์”
•เปลี่ยนแบบอักษร  โดยคลิกที่ Symbol  เลือกแบบอักษรที่ต้องการแล้วคิก OK  เสร็จแล้วคลิก OK
•ที่ช่อง  Patch  สามารถเลือกรูปแบบสัญลักษณ์ที่ต้องการ  แล้วคลิกปุ่ม OK
การลบคำอธิบายสัญลักษณ์สำหรับชั้นข้อมูลที่ไม่ต้องการ
•ดับเบิ้ลคลิกบนสัญลักษณ์  หรือ  คลิกขวา เลือก Properties  จะปรากฎหน้าต่าง  Legend Properties  คลิกแท็บ  Items
•ที่ช่อง Legend Items คลิกชั้นข้อมูลที่ไม่ต้องการแสดง  แล้วคลิกปุ่ม  
•สามารถเรียงลำดับการแสดงสัญลักษณ์ได้โดยคลิกปุ่ม            เสร็จแล้วคลิก OK
•ที่ปุ่ม Symbol  คลิกเพื่อเลือกแบบตัวอักษร
การปรับแต่งขอบ  พื้นหลัง  และแสงเงาของคำอธิบายสัญลักษณ์
•ดับเบิ้ลคลิกบนสัญลักษณ์  หรือ  คลิกขวา เลือก Properties  จะปรากฎหน้าต่าง  Legend Properties  คลิกแท็บ  Frame 
•ปรับแต่งขอบ (Border)  พื้นหลัง (Background) และแสงเงา (Drop Shadow) ที่ปุ่ม         และเลือกรูปแบบที่ต้องการ  สามารถปรับสีได้ที่ Color
•เสร็จแล้วคลิก OK 
•หากต้องการลบสัญลักษณ์ที่ไม่ต้องการออกโดยการ คลิกขวาที่สัญลักษณ์ เลือก Convert to graphics คลิกขวาอีกครั้งเลือก Ungroup จากนั้นก็ลบหรือปรับแต่งตามต้องการ แล้วคลิกขวาเลือก Group สัญลักษณ์
การสร้างแถบมาตราส่วน (Add a Scale bar)
•คลกเมนู Insert > Scale bar จะปรากฎหน้าต่าง Scale Bar Selector เลือกรูปแบบแถบมาตราส่วนที่ต้องการ  และคลิกปุ่ม OK
การปรับแต่งแถบมาตราส่วน
      การปรับคุณสมบัติ Scale และ Unit
•ดับเบิ้ลคลิกบนแถบมาตราส่วน  หรือ  คลิกขวาบน Scale bar เลือก Properties
•ที่แท็บ  Scale  and Unit  ปรับค่า  Division  และ  Sub Division  ดังภาพ
- Number of Division:  ใส่จำนวนของการแบ่ง Scale
- Number of Subdivision:  ใส่จำนวนของการแบ่งย่อยมาตราส่วนหน้า 0
- Show one division before zero: ให้คลิก Check box หากต้องการแสดง 1 Division ก่อนหน้า 0
การแก้หน่วยมาตราส่วน
- Division Unit:  เลือกหน่วยมาตราส่วนที่ต้องการ
- Label Position:  กำหนดตำแหน่งการวางหน่วยมาตราส่วน เช่น บน ล่าง หน้าหรือหลังแถบมาตรส่วน
- Label:  สามารถเปลี่ยนข้อความหน่วยเป็นภาษาไทยได้
- Gap:  กำหนดระยะห่างระหว่าง Label และ Scale bar
•เสร็จแล้วคลิก OK
การเพิ่มทิศเหนือ (Add a North arrow)
•คลิกเมนู  Insert  เลือก  North Arrow  คลิกเลือกรูปทิศเหนือที่ต้องการ  และคลิกปุ่ม OK
การปรับคุณสมบัติทิศเหนือ
•ดับเบิ้ลคลิกบน North arrow  หรือคลิกขวา  เลือก Properties  จะปรากฎหน้าต่าง North arrow Properties  เลือกแท็บ  North arrow
•ที่ปุ่ม North arrow Style เลือกรูปแบบทิศเหนือที่ต้องการ
•General  สามารถปรับขนาด สี มุม ของทิศเหนือ
•ที่ Marker  font : ปรับรูปแบบตัวอักษรและสัญลักษณ์ของทิศเหนือ
การปรับคุณสมบัติกรอบทิศเหนือ (Frame)
•ดับเบิ้ลคลิกบน North arrow  หรือคลิกขวา  เลือก Properties  จะปรากฎหน้าต่าง North arrow  Properties  เลือกแท็บ   Frame
•ปรับแต่งขอบ (Border) พื้นหลัง (Background)  และแสงเงา (Drop shadow)  เลือกแบบที่ต้องการ
•เมื่อปรับเสร็จคลิกปุ่ม Apply  หากยังไม่พอใจสามารถแก้ไขได้   เมื่อพอใจแล้วคลิกปุ่ม  OK
การเพิ่มชื่อแผนที่ (Title) และข้อความอื่น ๆ
•คลิกเมนู Insert  Title  พิมพ์ข้อความลงในกล่องข้อความ  ให้พิมพ์ “แผนที่แสดงแนวเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก”  และกดปุ่ม Enter  จากนั้นย้ายชื่อแผนที่ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม
•หรือคลิกปุ่ม  New text คลิกตำแหน่งที่ต้องการใส่ข้อความ  ซึ่งจะปรากฎกล่อง
ข้อความ    ให้แทนที่ข้อความโดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการทับ  และกดปุ่ม  Enter 
การปรับคุณสมบัติชื่อแผนที่ (Title)
•ดับเบิ้ลคลิกบน Title  หรือคลิกขวา  เลือก Properties  จะปรากฎหน้าต่าง Properties  เลือกแท็บ   Text
- Text: สามารถเปลี่ยนข้อความใหม่ได้
- Angle: ปรับมุม
- Change Symbol: เปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร ขนาด สี รูปแบบตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้
การปรับข้อความให้เด่น
•เพิ่มรัศมีให้ตัวอักษรเป็นสีขาวหรือสีเหลืองล้อมรอบข้อความเพื่อให้เห็นข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น  โดยคลิกขวาบนข้อความ  เลือก Properties  และคลิกปุ่ม  Change Symbol
•ที่หน้าต่าง Symbol Selector คลิกปุ่ม   Properties
ที่หน้าต่าง Editor   คลิกแท็บ Mask   เลือก   Halo
- Size:  ขนาดรัศมีล้อมรอบข้อความ
- Symbol: ปรับสีรัศมีล้อมรอบข้อความเป็นสีที่ต้องการ
•เสร็จแล้วคลิก OK
การเพิ่มรูปภาพหรือโลโก้หน่วยงาน
•คลิกเมนู Insert เลือก  Picture  จะปรากฎหน้าต่าง  Open
•เลือกรูปภาพที่ต้องการใช้  แล้วคลิก Open
•จะได้รูปภาพปรากฎในแผนที่  สามารถย้ายไปตำแหน่งที่เหมาะสมและปรับขนาดตามต้องการ
การเพิ่มขอบและสีพื้นหลังของแผนที่
•คลิกขวาบน Data frame  เลือก  Properties  จะปรากฎหน้าต่าง  Data frame properties  คลิกแท็บ  Frame 
•ปรับแต่งขอบ (Border)  พื้นหลัง (Background) และแสงเงา (Drop Shadow) ที่ปุ่ม         เลือกรูปแบบและสีที่ต้องการ 
- Offset: เป็นค่าที่เงาห่างจากขอบแผนที่เป็นระยะทางเท่าใด
- Rounding:  เป็นการทำให้ขอบมนกลม
•เมื่อเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Apply  หากไม่พอใจสามารถแก้ไขได้  จากนั้นคลิกปุ่ม OK
การสร้างกริดให้กับแผนที่
•คลิกขวาบน Data frame  เลือก  Properties  คลิกแท็บ  Grids  คลิกที่ปุ่ม  New grid
•ที่หน้าต่าง Grids and Graticules Wizard  ให้เลือกรูปแบบกริดที่ต้องการ
 - Graticule : รูปแบบที่ต้องการแสดงผลในหน่วย  องศา  ลิปดา
 - Measured Grid : รูปแบบที่ต้องการแสดงผลในหน่วย UTM , เมตร
 - Reference Grid : ดัชนีแผนที่
ในตัวอย่างนี้ให้เลือกแบบ  Measured Grid แล้วคลิกปุ่ม Next
•หน้าต่าง Create a measured grid
 - ที่ Appearance  สามารถเลือกได้ดังนี้
 - Labels only : แสดงเฉพาะตัวเลขพิกัดภูมิศาสตร์
 - Tick marks and labels :  แสดงจุดพิกัดและตัวเลขพิกัดภูมิศาสตร์
 - Grid and labels :  แสดงเส้นพิกัดและตัวเลขพิกัดภูมิศาสตร์
 - ที่ Coordinate system : ปุ่ม  Properties : สำหรับกำหนดระบบพิกัดภูมิศาสตร์
 - ที่ Intervals :  กำหนดช่วงของพิกัดภูมิศาสตร์ให้เหมาะสม  เช่น  แสดงพิกัดทุก  5,000 เมตร  จากนั้นคลิกปุ่ม Next
•ที่หน้าต่าง Axes and labels
 - ที่ Axes : เลือกรูปแบบแกนและรูปแบบเส้นที่ต้องการ
 -  ที่ Labels : เลือกรูปแบบตัวอักษรที่แสดงพิกัดภูมิศาสตร์
จากนั้นคลิกปุ่ม  Next
•ที่หน้าต่าง Create a measured grid  เลือกรูปแบบขอบนอกของพื้นที่
 - Measured Grid Border : ใส่เส้นขอบแผนที่
 - Neatline : ใส่เส้นขอบนอกของแผนที่รอบพิกัดภูมิศาสตร์
จากนั้นคลิกปุ่ม Finish > OK
การปรับแก้คุณสมบัติกริด
•คลิกขวาบน Data frame  เลือก  Properties  คลิกแท็บ Grids  คลิกปุ่ม  properties
•ที่หน้าต่าง Reference System Properties  คลิกที่แท็บ Label  คลิกปุ่ม   Additional Properties  จะปรากฏหน้าต่าง  Grid  label  properties  คลิกที่ปุ่ม  Number format   จะปรากฏหน้าต่าง Number format Properties   ที่แท็บ  Numeric  > Rounding  ปรับค่าให้เป็น  0  เสร็จแล้ว OK  > OK
•ที่หน้าต่าง Reference System Properties  คลิกที่แท็บ Label  ที่กรอบ Label style 
 - Font : เลือกแบบอักษรที่ต้องการ
 - Size :  ปรับขนาดอักษร
 - Color : เลือกสีตัวอักษร
เสร็จแล้วคลิก OK > OK
การแสดงแผนที่  Insert Map
     การสร้างกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงล้อมรอบพื้นที่ของอีก Data frame หนึ่ง เพื่อแสดงรายละเอียดของพื้นที่ที่ศึกษา
•เพิ่ม Data frame ใหม่โดยคลิกที่คำสั่ง Insert > Data frame
•นำเข้าข้อมูลโดยคลิกที่ Add data หรือ Copy ข้อมูล จาก Data frame พื้นที่รับผิดชอบ    นำมาวางใน Data frame ชื่อ New Data Frame 
•สามารถเคลื่อนย้ายการวางตำแหน่งที่เหมาะสมได้
•คลิกขวาที่ Data frame เลือก Properties  คลิกที่แท็บ Frame  เพื่อปรับแต่งสีเส้นขอบพื้นหลังและเงา  เสร็จแล้วคลิก OK
การส่งออกแผนที่ (Export map)
•คลิกเมนู File  เลือก Export Map  
•เลือก Directory ที่ต้องการบันทึก
 - File name : ตั้งชื่อแผนที่
 - Save as Type : เลือก Format  ภาพที่ต้องการ เช่น  GIF , BMP, JPEG, TIFF, PDF
•เสร็จแล้วคลิก Save

หมายเหตุ : เนื่องจากเอกสารอบรมต่าง ๆ จะมีรูปประกอบด้วย แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเข้ารูป หรือ เพิ่มไฟล์ข้อมูลให้ดาวน์โหลดได้ค่ะ (ได้ทำLinkไว้ให้แล้วค่ะ)

Link : http://www.learn.reo14.go.th/data/ssp14-sakda-aon/Map%20Layout.pdf

หมายเลขบันทึก: 450967เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท