ไปหาหมอ ไม่ต้องคอย นี่คือความฝันของคนทั้งโลก


เมื่อวันที่ 20 กค.54 ผมได้มีโอกาสฟังท่าน ชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรได้พูดให้เหล่าอาจารย์ฟังในการประชุม เอดส์ ที่ รพ.พิจิตร เป็นบรรยายพิเศษฯ น่ะ เค้าได้พูดถึงเรื่องราวของการดูแลสุขภาพซึ่งเน้นการดูแลตนเองและร่วมกัน สร้างกลุ่มดูแลสุขภาพสมาชิกของชุมชนของตนเอง  

ท่านชาติชาย (ภาพประกอบจากอินเตอร์)

แนวคิด ต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีสามารถช่วยเหลือตนเองในยามชราและตายไปแบบไม่ต้องเดือดร้อนใคร จริงๆ เมื่อดูก็ท้าทายดีนะครับ

ในปัจจุบันมีคนอยู่บ้านเลขที่ห้ากันมากทีเดียวนะ (อายุห้าสิบขึ้นไปน่ะครับ)

 

ร่างกายหลายท่าน ต้องเข้ามาตรวจเช็คกันบ่อยๆ ยิ่งเป็นเจ้าเบาหวาน ความดันนี่ก็ต้องเป็นขาประจำกันทีเดียว

สิ่งที่อยากเห็นก็คือ ทุกคนมีความสุข ดูแลสุขภาพกันได้ในที่บ้านหรือบริเวณใกล้ๆ ไม่ต้องมาต่อคิวแน่นกันที่ รพ.จังหวัด

มีหลายโครงการที่ได้ทำเพื่อช่วยเสริม ช่วยสร้าง สิ่งแวดล้อมที่เสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่ชุมชน

นำสู่ผลลัพธ์สุดท้ายคือ สุขภาพที่ดีของประชาชนทุกคน นี่ก็เป็นเรื่องราวที่ดี จากท่านนายกฯ ชาติชาย นะครับ ในทำนองเดียวกันเลยครับ

ในวันนี้(26 กค.54)ได้อ่านเฟสบุ๊กของอาจารย์ Chuchai Sornchumni สปสช.เขตนครสวรรค์ ท่านเล่าว่า

 
Chuchai Sornchumni สปสช.เขตนครสวรรค์(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

เมื่อ วันศุกร์ได้ไปรับฟังความคิ​ดเห็นฯ และคุยเรื่องเครือข่ายงานวิจัยโ​รงพยาบาลภาคเหนือ (รวมเป็น 2 งาน) ที่กำแพงเพชร ได้ข้อคิดที่จะเอามาปรับปรุงระบ​บการให้บริการแก่พี่น้องประชาชน​ให้เข้าถึง หลักประกันสุขภาพได้ด​้วยความมั่นใจ ผู้ให้บริการมีความสุขหลายประเด​็นครับ
“เรื่องแรกพี่น้องเสนอว่า เข้าถึงเรื่อง Lab ยาก เพราะว่ามันห่างไกลและบางที​เดินทางมาที่โรงพยาบาลมันก็​ลำบาก มาถึงก็ต้องรอนานเพราะคนรอม​าก แต่เจาะเลือดแป๊ปเดียว แล้วก็ต้องไปรอคิวตรงนั้นตร​งนี้อีก ท่านเสนอว่าถ้าว่าไม่มีอะไร​ฉุกเฉินรุนแรง อยากให้ทำได้ที่ รพ. สต. หรือที่ อบต. เทศบาลได้ไหม”...

ก็ได้ปิ๊งไอเดีย..ในแนวทางเดียวกันกับท่านชาติชายนะ คือท่านชูชัยอยากผลักดันให้ รพ.สต. ,อบต ,เทศบาล มีศักยภาพสูงขึ้น เป็นรพ.สต.ในดวงใจที่ขจัดความทุกข์เนื่องจากการรอคอยที่ไม่จำเป็นของพี่น้องประชาชน

นั่นคือการมีบริการเซ็นทรัลแล็พ ใน รพ.สต. หรือหน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้าน

ซึ่งวันนี้เราสามารถทำกันง่ายๆ ด้วยว่าที่โคราช เค้าทำได้ดีแล้ว เป็นแบบอย่างแล้ว

นี่ก็จะทำให้ผู้คนไม่ต้องเดินทางไกลกันแล้ว หลักก็คือ เมื่อ ผู้รับบริการมาเจาะเลือดที่ รพ.สต. จากนั้นก็จะมีระบบในการขนส่งไปยังแล็พฯเพื่อตรวจ ส่วนเรื่องของผลการตรวจนี่ ไม่ต้องเป็นห่วง สามารถไปได้ทั้งอีเมล แฟ็กซ์ อีกทั้งยังสามารถแนบการปรับยาอะไรทำนองนี้เพิ่มอีกต่างหาก

ทำให้เกิดรอยยิ้มขึ้นมากมายเลย หากทุกท่านร่วมด้วยช่วยกันแบบนี้นะครับ

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

อุปสรรค์ของการนำเจ้าแนวคิดนี้สู่การปฏิบัติ !
น่าจะเป็นว่า ทำไปแล้วประชาชนได้ประโยชน์ ทุกคนได้ประโยชน์หมด แต่คนทำไม่ได้ประโยชน์อะไรอย่างเป็นรูปธรรม  ตรงนี้จะมีทางออกอย่างไร ?

หากถามถึงการนำเสนอเป็นนวัตกรรมในเวทีกระทรวงฯ ก็ทำไปแล้วที่โคราช

แล้ว ที่อื่นๆ จะนำเสนอแง่มุมไหนเพื่อที่จะได้มีกำลังใจในการสานต่องานเพื่อพี่น้องประชาชน ให้ยั่งยืนได้ ตรงนี้เค้ากระซิบอย่างดังเลย นะครับ

ช่วยแนะนำพี่น้องชาว รพ.สต ด้วย นะครับ

หมายเลขบันทึก: 450966เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท