กระบวนการสร้างครูที่เพลินกับการพัฒนา (๒๔) : การยกคุณภาพชั้นเรียน ตอนที่ ๔


 

การพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการเปลี่ยนแปลงห้องเรียนเป็นหลัก เป็นแนวคิดที่ Prof. Shizumi SHIMIZU เสนอไว้ คำถามที่น่าสนใจ คือ

 

การเรียนรู้คืออะไร 

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นที่โรงเรียนเท่านั้นหรือ หากสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างประสบความสำเร็จ ก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในอนาคตได้

 

บทบาทหน้าที่ของโรงเรียนคืออะไร   

 

การทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ  เรียนรู้มาจากห้องเรียนแล้วจะนำไปใช้อย่างไร เลขคณิตในระดับประถม และคณิตศาสตร์พื้นฐานในระดับมัธยม  คือวิธีการที่นักเรียนจะนำไปใช้พัฒนาสติปัญญาผ่านคณิตศาสตร์  คณิตศาสตร์ผูกติดกับภาษา  (ภาษาผูกติดกับสติปัญญา – ผู้เรียบเรียง)

 

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม

 

ก่อนหน้านี้ เรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่อให้มีความรู้ และมีทักษะทางคณิตศาสตร์ และปล่อยให้การแก้ปัญหาเป็นเรื่องที่ผู้เรียนต้องเพชิญเมื่อก้าวพ้นโรงเรียนออกไปสู่สังคม

 

เดี๋ยวนี้  เรียนคณิตศาสตร์เพื่อให้รู้ว่าทำไมต้องคำนวณ ทำไมต้องมีความหมายแบบนั้น เพราะเมื่อนักเรียนพบปัญหาในชีวิตประจำวันจะได้นำเอาหลักการที่ได้เรียนรู้มาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้ยังมีการนำเอาเรื่องที่เป็นปัญหาของสังคมมาเรียนในโรงเรียนด้วย

 

หน้าที่ของครู 

 

สอนสิ่งสำคัญ  สิ่งที่นักเรียนต้องนำไปใช้ภายในเวลาที่มีอยู่  การพัฒนาสื่อสนับสนุน (material development)  ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอน (Flow of lesson)   โครงสร้างของหลักสูตร ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและพลกำลังทั้งหมดมาจัดการ

 

ปัญหาที่มีอยู่คือในปัจจุบันนี้ความรู้ ทักษะ และ การนำไปใช้ในชีวิตไม่ค่อยสัมพันธ์กัน เราจะทำอย่างไรจึงจะเน้นการพัฒนาสติปัญญาและศักยภาพในภาพรวมได้ เพราะการคิด การตัดสินใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้และทักษะขั้นพื้นฐานจะช่วยบ่มเพาะทัศนคติในการเรียนรู้ที่จะกลายเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง 

 

  • ทักษะ/ความรู้ 
  • ศักยภาพในภาพการคิด 
  • ศักยภาพในการต้ดสินใจ
  • ความสามารถในการนำเสนอวิธีคิด 

 

ครูต้องทำให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะ และเข้าสู่ปัญหาด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่สนุก เพราะมีความสนุก ความน่าสนใจ เขาจึงอยากเรียน

 

จุดเน้น

 

a)    สอนผ่านกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนเข้าไปสัมผัสและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ด้วยตัวนักเรียนเอง โดยให้กิจกรรมเป็นทั้งตัวเป้าหมายและวิธีการ เพื่อบังคับให้ห้องเรียนต้องเปลี่ยน และประสบความสำเร็จ ดังนั้นหลักสูตรของญี่ปุ่นจึงมีการระบุให้ตัวกิจกรรมเป็นสาระ (เริ่มใช้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔)

 

เป้าหมาย วิธีการ และสาระ เป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ ครูจึงต้องหยิบเอาขึ้นมาเน้นทุกองค์ประกอบ

 

b)    การพัฒนาศักยภาพในการคิด และแสดงออกถึงความคิด หมายถึงการที่ผู้เรียนคิดกับสถานการณ์ปัญหาด้วยความเชื่อมั่น  สามารถจัดระบบความคิดด้วยตนเอง  นำเสนอความคิดของตัวเอง  จดบันทึกเพื่อเก็บไว้เป็นร่องรอยให้คิดทบทวนได้ เพื่อที่จะพัฒนาความคิดไปข้างหน้าได้ 

 

“คิดคนเดียวคิดได้น้อย ถ้ามีสองคนจะคิดได้มากขึ้น สามคนจะคิดได้มากยิ่งกว่า แต่ทุกคนต้องสื่อสารความคิดของตนเองออกมาให้ผู้ได้รับรู้ และทำความเข้าใจในแนวคิดของคนอื่นด้วย”

 

c)     การกระตุ้นทัศนคติให้ไปถึงการสร้างความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการคิด  การตัดสิน (judging)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 450926เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท