การจัดทำยุทธศาสตร์เครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน


"ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความพยายามร่วมกันของชุมชนและโรงงานอย่างมีเป้าหมาย ก็จะเห็นความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกัน"

25 กรกฎาคม 2554 ณ ห้องวิมานแก้ว โรงแรมอินทร์คำ ถ.กิ่งแก้ว สมุทรปราการ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนโรงงานอุสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง และปราจีนบุรี ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือของโรงงานอุตสหกรรมและชุมชนที่มีโรงงานนำร่องที่เข้าร่วมประชุม 11 โรงงาน โดยมีเป้าหมายของยุทธศาตร์ที่สำคัญได้แก่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความพยายามของชุมชนและโรงงานอย่างมีเป้าหมายก็จะทำเห็นความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกัน"

หมายเลขบันทึก: 450896เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 06:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

        ผมเริ่มชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมให้ทำความรู้จักกันเสียก่อนโดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที่ที่มีประธานเปิดงานและผู้ติดตามและอาจารย์ที่มาร่วมการเรียนรู้ร่วมด้วย ซึ่งสิ่งนี้หากทำได้ดีทุกคนที่ไม่เคยรู้จัดและได้คุยกันอย่างสบายๆก็ทำให้งานเราเดินไปได้ด้วยดีทั้งวัน ทั้งหมดประมาณ 30 คน รวมด้วยของผมด้วย การแนะนำด้วยผ่านผู้แทนของกลุ่มที่พึงรู้จัดกันผ่านกิจกรรมดังกล่าว กิจกรรมนี้มาจบลงตรงที่ผู้อาวุโสในห้องกล่าวอวยพรวันเกิดผู้ที่เกิดในอาทิตย์นี้ 3 ท่าน

        การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ไม่ว่าจะทำยุทธศาสตร์องค์กรไหนหรือบางครั้งก็เป็นองค์กรร่วมอย่างเช่นครั้งนี้ก็เป็นการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือของโรงงานอุตสหกรรมและชุมชนชุมชนที่อาศัยอยู่รอบโรงงานและได้รับผลกระทบการการดำเนินงานของโรงงาน ดังนั้นหน่วยศึกษาก็ต้องขยายออกไปให้ครอบคลุมทั้ง 2 ประการต่อมาต้องวิเคราะห์สภาวการณ์ก่อนว่าปัจจุบันเราอยู่ตรงไหน ผลที่ได้ออกมาก็เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่สท้อนให้เห็นทั้งในหน่วยศึกษาและภายนอกที่ห่อหุ้มโรงงานและชุมชน

 

ทีมงานใช้เวลา 2 อาทิตย์ที่ประสานงานกับโรงงานที่ให้ความสนใจและในอาทิตย์นี้เราเริ่มประสานงานกับภาคีที่เป็นส่วนหนึ่งในการการทำให้เกิดความปลอดมาขึ้นในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนที่อยู่รอบๆโรงงานและจะได้ร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมกันของโรงงานและภาคีหุ้นส่วน ซึ่งประกอบด้วย  ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันและผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ที่ให้ความสนใจที่เป็นมิตรต่อการดำเนินการดังกล่าว ประมาณ 15 ท่านรวมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อีก 4-5 คน รวมแล้วน่าจะ 20 คน

ใช้พื้นที่ของโรงงานที่อยู่ในตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2554

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท