การเขียนโครงการ(Project Writing)(2)


การเขียนโครงการ(Project Writing)(2)

แนวทางการเขียนโครงการ

แนวทางการเขียนโครงการ โดยทั่วไปมี ๒ แนวทาง คือ

๑.  การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม หรือการเขียนโครงการแบบดั้งเดิมเป็นการเขียนเชิงเหตุผลที่ง่าย โดยใช้คำเชื่อมโยงเชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบ ได้แก่ What Why When Where Who Whom How and Much หรือเรียกย่อว่า 6W + 2H ประกอบด้วย

      ๑.๑  ชื่อแผนงาน (Program) จะครอบคลุมกลุ่มของปัญหาที่ต้องการพัฒนา เป็นเรื่องเดียวกัน หรือพื้นที่เดียวกัน

     ๑.๒  ชื่อโครงการ (Project Title) สอดคล้องกับเรื่อง กิจกรรม เป้าหมายที่จะดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา สั้น กะทัดรัด ใช้คำกริยาตามด้วยเป้าหมายหลัก

     ๑.๓  หลักการและเหตุผล (Rationale for Project) ระบุนโยบาย แผนหรือแผนงาน กฎ ระเรียบ ข้อบังคับ ที่จะต้องปฏิบัติ สภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการที่จะต้องพัฒนาเหตุผลความจำเป็นผลประโยชน์ที่จะได้จากการกำหนดโครงการ
     ๑.๔  วัตถุประสงค์ (Objectives) คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน เป็นผลผลิตหรือผลงานของโครงการ
     ๑.๕  เป้าหมาย (Targets) แสดงถึงความต้องการที่ระบุในเชิงปริมาณและคุณภาพ หากเป็นโครงการระยะยาวจะมีเวลากำกับในแต่ละช่วงเวลา
     ๑.๖  วิธีการดำเนินงาน (Procedure) เป็นกิจกรรมหรืองานเฉพาะที่จะต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ระบุกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย ประกอบด้วยกิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ โดยทำเป็นแผนภูมิแกนท์ (Chant Chart)

     ๑.๗  ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ (Duration) ระบุเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้นโครงการ

๑.๘  งบประมาณและทรัพยากร (Budgets and Resources) การประมาณค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น รวมทั้งทรัพยากรที่ใช้และควรระบุประเภท หมวดเงินงบประมาณ

     ๑.๙  ผู้รับผิดชอบโครงการ (Project Manager) เพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของโครงการ  

     ๑.๑๐ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน (Sponsor) เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติในการดำเนินงาน ประสานงานและขอความร่วมมือ
     ๑.๑๑ การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation) ระบุแนวทางการประเมินผลโครงการ เช่น ประเมินก่อน ระหว่าง และสิ้นสุดโครงการเพื่อทราบความเป็นไปได้ ปัญหาอุปสรรค ความสำเร็จและการบรรลุเป้าหมายของโครงการ
     ๑.๑๒ ผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Outcome) ระบุผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการเรียบร้อยแล้วโดยตรง หรือผลกระทบของโครงการ

ข้อดี

     ง่ายแก่การเขียนและการเข้าใจ

ข้อบกพร่อง

     ยากแก่การตรวจสอบว่าแต่ละองค์ประกอบมีความเป็นเหตุเป็นผลกันหรือไม่ อย่างไร และผู้พิจารณาหรือวิเคราะห์ ต้องใช้เวลานานในการพิจารณารายละเอียดของโครงการ

 

 

หมายเลขบันทึก: 450584เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท